ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะและแสดงความยินดีกับนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศไทย เนื่องในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี คนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยโอกาสนี้ EXIM BANK ขอองค์อัลเลาะห์อำนวยพรให้ท่านประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญนี้ตลอดไป   
 

          นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง EXIM BANK และหอการค้ากัมพูชา (The Cambodia Chamber of Commerce : CCC) โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และเนก โอคนา คิท เม้ง (Neak Oknha. Kith Meng) ประธานหอการค้ากัมพูชา เป็นผู้ลงนาม โดยทั้งสองหน่วยงานจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจผ่านช่องทางและเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-กัมพูชาและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเร็ว ๆ นี้

          การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าสูงกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา นอกเหนือจากจีน สหรัฐฯ และเวียดนาม การส่งออกของไทยไปกัมพูชาในปี 2566 มีมูลค่า 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้าของไทยจากกัมพูชามีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่กัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs เป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ธุรกิจของไทยที่ดำเนินการในกัมพูชาครอบคลุมหลายภาคส่วน อาทิ อุตสาหกรรมเกษตร การผลิต ก่อสร้าง สื่อ การให้บริการสุขภาพ รวมทั้งภาคบริการต่าง ๆ นับตั้งแต่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบาย Living with COVID-19 ในช่วงปลายปี 2564 ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของกัมพูชากลับมาขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จากตัวเลข GDP ปี 2565 เติบโตกว่า 5% ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับปี 2566 ที่คาดว่า GDP จะเติบโตสูงในระดับกว่า 5% ทั้งนี้ EXIM BANK จะร่วมมือกับหอการค้ากัมพูชาในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการไทยและกัมพูชา เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย

          EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มุ่งสู่เป้าหมาย “Green Development Bank” ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในเวทีโลกในระยะยาว ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของไทย EXIM BANK ได้จัดตั้งสำนักงานผู้แทนใน CLMV ครบถ้วนทั้ง 4 ประเทศแล้ว โดยสำนักงานผู้แทนของ EXIM BANK ในกรุงพนมเปญเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมประเทศไทย ทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนไทย-กัมพูชา

          “ความร่วมมือระหว่างไทยกับกัมพูชาในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศอย่างไร้รอยต่อและเข้มข้นมากขึ้น โดยมีหมุดหมายเดียวกันที่จะเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาพื้นที่ชายแดน เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งแต่เศรษฐกิจฐานรากในชุมชนไปจนถึงระดับประเทศและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว

 
            นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 “รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจยั่งยืน” ให้แก่ ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น” ให้แก่ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ซึ่ง EXIM BANK ร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดำเนินโครงการ The S1 Project (SME One) รวมช่องทาง รวมกระบวนการ และรวมโมเดลในการประเมินสินเชื่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการขอสินเชื่อจาก EXIM BANK โดยมี บสย. ค้ำประกัน ในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ภายใต้แนวคิด “รัฐวิสาหกิจสร้างสรรค์พลังไทยสู่สากล Enhancing Thainess towards Global Opportunities” ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเร็ว ๆ นี้

          รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและประสิทธิภาพในการ
ดำเนินงานของ EXIM BANK โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อพัฒนา
นวัตกรรมด้านกระบวนการและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการไทยและเทรนด์
การค้าและการลงทุนของโลกปัจจุบัน ภายใต้บทบาท Green Development Bank เพื่อขับเคลื่อน
การพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้
ข้างหลัง
 
  จัดพิธีทำบุญตักบาตร โอกาสเปิดดำเนินงานครบรอบ 30 ป  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาสที่ EXIM BANK ครบรอบ 30 ปีของการเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยถวายภัตตาหารเช้าและทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง แด่พระเทพกิตติวิมล ประธานสงฆ์คณะธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา และพระภิกษุสงฆ์จากวัดสุทธจินดา นำโดยพระอุดมธีรคุณ เจ้าอาวาส ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  ชูกลยุทธ์ Greenovation สร้าง Green Supply Chain เปลี่ยนประเทศไทย สู่เศรษฐกิจ
สีเขียว รับมือเมกะเทรนด์โลกยุคใหม่ ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
            นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปี EXIM BANK ว่า ปัจจุบันโลกขับเคลื่อนอยู่บนหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ระดับชุมชนและทุกภาคส่วนต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติของทุกประเทศทั่วโลก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งเป็นภัยความเสี่ยงอันดับ 1 ของเศรษฐกิจโลกในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทยภายในปี 2593 และ 2608 ตามลำดับ รัฐบาลไทยมุ่งสนับสนุนกลไกและนโยบายต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 50% ส่งเสริมการทำเกษตรยั่งยืนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วยการให้ความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และหาแนวทางขยายตลาดต่างประเทศ ตลอดจนดึงดูดบริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตให้เข้ามาลงทุน เช่น ดาต้าเซนเตอร์ อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) พลังงานหมุนเวียน และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อเพิ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มพูนทักษะฝีมือแรงงานไทย

          นายจุลพันธ์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศจะบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้สำเร็จ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการออกกฎหมายหรือนโยบายจากภาครัฐเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ตลอดจนผู้ประกอบการในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการคลังจึงพร้อมสนับสนุนหน่วยงานในการกำกับดูแล รวมถึง EXIM BANK ให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในการสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยในเวทีโลกที่แข่งขันได้ ทั้งในรูปแบบการเป็นผู้ส่งออกเองหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain การส่งออก และในวันนี้ต้องเร่งยกระดับเป็น Green Supply Chain เพื่อให้เกิดระบบนิเวศสีเขียวที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยโดยคำนึงถึง ESG สามารถส่งมอบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ใหม่ ๆ ภายใต้กติกาการค้าของโลกยุคใหม่ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนและความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภายนอกในอนาคต เพื่อมุ่งสู่ความเป็น Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ร่วมกัน

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 30 ปี EXIM BANK ว่าปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อทุกภาคส่วนทุกวันนี้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนผ่านจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) เข้าสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) นำไปสู่การเกิดภัยธรรรมชาติบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจึงต้องเร่งเดินหน้า
สร้างเศรษฐกิจสีเขียว พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันอย่างสมดุลและยั่งยืน
ตามเป้าหมาย SDGs และเป้าหมายประเทศไทยสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ประเทศไทยยังปล่อยคาร์บอนสูงกว่าหลายประเทศในเอเชีย อยู่ในระดับ
3.78 ตันคาร์บอนต่อคนต่อปี สูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียน อาทิ อินโดนีเซียและเวียดนาม โดยมูลค่าส่งออก ของไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีไม่มากนัก อยู่ในสัดส่วนเพียง 7.6% ของการ
ส่งออกทั้งหมด ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับตัวรับมือกับมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม
ทั่วโลกที่มีมากถึง 18,000 ฉบับ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกและปรับตัวทางธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากธุรกิจที่คำนึงถึง ESG มีการเติบโตของรายได้
และกำไรมากกว่าธุรกิจทั่วไปกว่า 2 เท่าตัว EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังจึงสานพลังกับภาครัฐและภาคเอกชนขับเคลื่อน
ประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่ออนาคตของประเทศไทยและโลกที่ยั่งยืน ภายใต้บทบาท
Green Development Bank ด้วยกลยุทธ์ “Greenovation” ที่จะสร้าง Green Supply Chain
ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน เปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Greenomics)

          EXIM BANK พร้อมใช้จุดแข็งและความเชี่ยวชาญในการทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนา
ตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมาพัฒนา “Greenovation” นวัตกรรมการเงินสีเขียว ดูแลการปล่อย
คาร์บอนขององค์กรและผู้ประกอบการไทยใน Scope 1-2-3 (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ทางอ้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน และทางอ้อมอื่น ๆ จากการดำเนินงานขององค์กร) โดยต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของไทย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเป้าหมายสู่อนาคต (Future Industries) อาทิ พลังงานหมุนเวียน EV เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและประมงแปรรูป และธุรกิจบริการและ Soft Power อาทิ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ควบคู่กับการสร้างผู้ส่งออกไทย โดยออกผลิตภัณฑ์ใหม่ด้าน Climate Finance ได้แก่ EXIM Green Goal ส่งเสริมให้ SMEs ตั้งเป้าหมาย Green ให้ชัดเจนและพร้อมเข้าร่วม Green Supply Chain โดยเติมความรู้สีเขียว เติมโอกาสสีเขียว และเติมเงินทุนสีเขียว ด้วยผลิตภัณฑ์ประเภท Green ต่าง ๆ ของ EXIM BANK พร้อมสิทธิประโยชน์และโปรโมชันพิเศษ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.99% ต่อปี เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่ธุรกิจทุกระดับเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในตลาดการค้าโลก ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ผู้บริโภคและกติกาการค้าโลกยุคใหม่ โดย EXIM BANK ตั้งเป้าหมายสู่ Carbon Neutrality ในปี 2573 และ Net Zero Emissions ในปี 2593 เร็วกว่าเป้าหมายประเทศไทย 20 ปีและ 15 ปีตามลำดับ โดยปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ควบคู่กับการเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้เป็น 50% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดภายในปี 2571

          “ตลอด 3 ทศวรรษ EXIM BANK ได้ทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนา นำผู้ประกอบการไทยปรับตัวและติดปีกไปสู่ตลาดโลก ในวันนี้เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม EXIM BANK พร้อมด้วยลูกค้าและหน่วยงานพันธมิตรจะเดินเคียงข้างกันนำพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืน โดยใช้จุดแข็งและความเชี่ยวชาญขององค์กรพัฒนานวัตกรรมการเงินสีเขียว (Greenovation) สร้างผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ Global Green Supply Chain ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจสีเขียว สร้างโลกที่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างสมดุลไปด้วยกัน” ดร.รักษ์ กล่าว

          EXIM BANK จะเปิดดำเนินงานครบรอบ 30 ปีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 จึงจัดงานครบรอบ 30 ปี EXIM BANK เชิญลูกค้า หน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน และผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน “Thailand’s Green Future” ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยได้รับเกียรติจากนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand Green Visionary สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากชุมชนสู่เวทีโลก” พร้อมแถลงกลยุทธ์ “Thailand Greenovation” โดย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน “Thailand’s Green Future” โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย Future Economy Advisor สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) นายวรมน ขำขนิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป จำกัด และ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ดำเนินรายการโดย นายพิภู พุ่มแก้วกล้า

          ด้วยความมุ่งมั่นสู่การเป็น Green Development Bank ธนาคารผ่านการพิจารณาขึ้น
ทะเบียนฉลากคาร์บอนประเภท Carbon Neutral Event ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สำหรับการจัดงานครบรอบ 30 ปี ในช่วงงานเสวนา “Thailand’s Green Future” ณ อาคารเอ็กซิม EXIM BANK สำนักงานใหญ่ รวมค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของงานอีเว้นท์ เพื่อขอการรับรองการจัดงาน เท่ากับ 16 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในการนี้ EXIM BANK ได้รับการสนับสนุนคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการจัดงานจำนวน 16 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากบริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้านความยั่งยืน"
 
   จัดสัมมนา “Thailand’s Green Future”
แลกเปลี่ยนมุมมองและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน
 
            นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา โอกาสครบรอบ 30 ปี EXIM BANK และสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในการส่งมอบเงินบริจาคจากหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ลูกค้า รวมทั้งผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK ให้แก่ ศ.นพ. อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เพื่อสมทบทุน “ศิริราชมูลนิธิ” สำหรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสให้เข้าถึงการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมเป็นองค์ปาฐกพิเศษหัวข้อ “Thailand Green Visionary สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากชุมชนสู่เวทีโลก” โดยมี ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK พร้อมด้วยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน EXIM BANK ให้การต้อนรับ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          ในโอกาสนี้ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้แถลงกลยุทธ์ “Thailand Greenovation” ชูนวัตกรรมการเงินสีเขียวเปลี่ยนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน รับมือเมกะเทรนด์โลกยุคใหม่ ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วงเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน “Thailand’s Green Future” มี ดร.สันติธาร เสถียรไทย Future Economy Advisor สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) นายวรมน ขำขนิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป จำกัด และ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมเป็นวิทยากร"
 
  ฉลองครบรอบ 30 ปี ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรและลูกค้า
บริจาคเงินสมทบทุน “ศิริราชมูลนิธิ”
ช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสให้เข้าถึงการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และผู้บริหาร EXIM BANK ให้การต้อนรับผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งบริษัทลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งเดินทางมาร่วมยินดีในโอกาสครบรอบ 30 ปี EXIM BANK โดยบริจาคสมทบทุน “ศิริราชมูลนิธิ” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสให้เข้าถึงการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ 

          ในโอกาสนี้ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร EXIM BANK ชุดปัจจุบันและอดีต ได้พบปะสังสรรค์และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองและทิศทางการดำเนินงานของ EXIM BANK มุ่งสู่เป้าหมาย Green Development Bank เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2537 เพื่อสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุน เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วยการให้สินเชื่อ การค้ำประกัน การรับประกันความเสี่ยง และบริการอื่น ๆ โดยสอดคล้องกับภารกิจของ EXIM BANK"
 
  EXIM BANK ขอบคุณพนักงานที่ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในงานกรรมการผู้จัดการพบพนักงาน โอกาสเปิดดำเนินงานครบรอบ 30 ปี
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พบปะพูดคุยกับผู้บริหารและพนักงานในงานกรรมการผู้จัดการพบพนักงานครั้งที่ 1 ปี 2567 ในโอกาสฉลองครบรอบ 30 ปี ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 31 ของ EXIM BANK เพื่อขอบคุณพนักงานที่ช่วยกันสร้างปาฏิหาริย์ ทำให้ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในปี 2566 มีสินเชื่อคงค้าง 175,604 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,273 ล้านบาท หรือ 4.32% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในการนี้ ธนาคารได้มอบของขวัญปีใหม่ให้แก่พนักงาน ผ่านโครงการ Flexi Benefits ปี 2 สวัสดิการที่บริหารจัดการได้ตามความต้องการของพนักงานซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากปีที่ผ่านมา และมีการเพิ่มการใช้งานด้านการพัฒนาพนักงานและด้านประกันสุขภาพ และดำเนินโครงการ People Journey Transformation เพื่อบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกด้าน เสริมสร้างขวัญกำลังใจและความพร้อมของบุคลากรในการดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ EXIM BANK มีพิธีมอบรางวัล Long Service Award สำหรับพนักงานที่มีอายุงาน 20 ปี และ 10 ปี ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
            นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ดร.ปีเตอร์ เคเอ็น แลม ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) และนางสาวมากาเร็ต ฟง กรรมการบริหาร HKTDC ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการต่อเนื่องเป็นฉบับที่ 3 ระหว่าง ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กับนางสาวโซเฟีย ชอง รองกรรมการบริหาร HKTDC ณ HKTDC สำนักงานใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้

          บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ HKTDC ในการยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและฮ่องกงให้มีความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนภารกิจของ EXIM BANK และ HKTDC ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับฮ่องกง การจับคู่ธุรกิจ การให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ประกอบการที่อาจมีโอกาสเป็นลูกค้าของ EXIM BANK และ HKTDC เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินและการรับประกันความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทยกับฮ่องกง

          ปัจจุบันไทยและฮ่องกงมีความตกลงการค้าเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยฮ่องกงยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนทุกรายการและผูกพันไม่ขึ้นภาษีสินค้าทุกรายการภายใต้ AHKFTA ในอนาคต ขณะเดียวกันฮ่องกงเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยในปี 2566 โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 1.37
หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.4% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ
ของไทยไปฮ่องกง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้านำเข้าของไทย จากฮ่องกง ได้แก่ อัญมณี เครื่องประดับ
เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล และสินแร่โลหะ นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นแหล่งรองรับการลงทุน
โดยตรงในต่างประเทศ (Thai Direct Investment : TDI) สำคัญของไทย โดยถือเป็นแหล่งลงทุน
อันดับ 1 ของไทยในแง่มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงสะสมที่ 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ไตรมาส 3 ปี 2566 โดย TDI Outflow ของไทยไปฮ่องกงอยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 มากเป็นอันดับ 5 รองจากสิงคโปร์ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และมอริเชียส โดยธุรกิจที่นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในฮ่องกง อาทิ การเงินการธนาคาร ประกันภัย ค้าปลีกค้าส่ง อาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ธุรกิจที่นักลงทุนฮ่องกงเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล
 
            นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและคณะ พร้อมด้วย ดร.รักษ์
วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และผู้บริหาร EXIM BANK เข้าร่วมประชุมหารือกับสถาบันการเงินชั้นนำของฮ่องกง ในโอกาสเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสานสัมพันธไมตรีและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การร่วมลงทุน (Co-financing) การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การระดมทุน (Debt Capital Market) การรับประกันสำหรับผู้ส่งออก (Export Insurance Business) บริการการค้าต่างประเทศ (Trade Finance) โอกาสในการใช้เงินหยวนเป็นเงินสกุลเงินกลางในการทำธุรกรรมในตลาดโลก (Yuan Settlement) การออกพันธบัตรสกุลเงินหยวน (Yuan Bond) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) โดยมีนายซุน ยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารแห่งประเทศจีน (ฮ่องกง) นายหลิว ย่ากัน ประธานกรรมการและกรรมการบริหาร
อินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า (เอเชีย) ลิมิเต็ด หรือ ICBC (Asia) และนายเจฟฟี่ ไบ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไชน่า ซีติก แบงก์ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับ ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานปี 2566
ของ EXIM BANK ว่า ณ สิ้นปี 2566 EXIM BANK มีวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ 70,628 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 10,792 ล้านบาท และมีสินเชื่อคงค้าง 175,604
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,273 ล้านบาท หรือ 4.32% เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงที่สุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน
ในปี 2537 ทั้งนี้ กว่า 2 ใน 3 เป็นยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการลงทุนจำนวนรวม 120,970 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 0.6% จากปีก่อน ตอกย้ำบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา ซึ่งยกระดับเป็น “Green
Development Bank” เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ควบคู่กับการยกระดับการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เติบโตสู่อนาคตที่
ยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and
Governance : ESG)

          จากความมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาประเทศบนหลักการ ESG ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2566
EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเป็น 62,278 ล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วน 35.46% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด และเพิ่มขึ้นถึง 33.65% จากปีก่อน ในจำนวนนี้เป็น
SMEs 12,644 ล้านบาท โดย EXIM BANK พัฒนาเครื่องมือทางการเงินสีเขียว (Green Finance)
ด้านการระดมทุนด้วย SME Green Bond มูลค่า 3,500 ล้านบาท และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
หรือนวัตกรรมทางการเงิน เช่น สินเชื่อ Solar D-Carbon Financing สินเชื่อ EXIM Green Start
เพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจสีเขียว ผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

          นอกจากนี้ EXIM BANK ได้สานพลังกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ นำพา
ธุรกิจไทย ขยายการค้าการลงทุนไปตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศทั้งสิ้น 49,299 ล้านบาท เมื่อ
จำแนกเป็นรายตลาดที่สำคัญ ในปี 2566 มีสินเชื่อคงค้างในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา
สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตลาดใหม่ (New Frontiers) 40,675 ล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วน 23.16% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด

          ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและสถานการณ์ความไม่สงบ
ในหลายประเทศ EXIM BANK ยังเร่งเสริมสร้างความมั่นใจและภูมิคุ้มกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ส่งออก
และนักลงทุนไทยผ่านบริการประกันการส่งออกและการลงทุน โดย ณ สิ้นปี 2566 EXIM BANK มี
ปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 179,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
6.03% จากปีก่อน สูงสุดเป็นประวัติการณ์การมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งด้านสินเชื่อและประกันของ EXIM BANK ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนลูกค้า 5,826 ราย เป็นลูกค้า
SMEs 82.49% คิดเป็น 22% ของผู้ส่งออก SMEs ไทย นอกจากนี้ EXIM BANK ยังสนับสนุนผู้
ประกอบการอย่างครบวงจรผ่านการบ่มเพาะ ให้ความรู้ จับคู่ทางธุรกิจ และให้คำปรึกษาทางการเงิน
โดย ณ สิ้นปี 2566 EXIM BANK ได้ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสะสมกว่า 19,100 ราย สะท้อน
การอยู่เคียงข้าง SMEs ไม่ทิ้งคนตัวเล็ก ดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบ
การไทยแข่งขันได้ในเวทีโลกยุคใหม่ภายใต้มาตรฐานการค้าโลกและกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น

          ขณะเดียวกัน EXIM BANK ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน
โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 8,157 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 เท่ากับ 4.65% และมีค่าเผื่อผล
ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 15,556 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) 190.70% ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2566 EXIM BANK มีกำไรจาก
การดำเนินงาน 3,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.27% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิ
เท่ากับ 456 ล้านบาท

          สำหรับในปี 2567 EXIM BANK ยังคงเดินหน้าตอกย้ำบทบาทการเป็น Green
Development Bank โดยมีแผนพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ หลายด้าน เช่น Blue Bond
สนับสนุนธุรกิจที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ผลิตภัณฑ์สนับสนุนการลดคาร์บอน Scope ที่ 1-2-3
(การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ทางอ้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน และทางอ้อมอื่น ๆ จากการ
ดำเนินงานขององค์กร) และเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี
2573 รวมทั้งขยายขอบเขตการให้บริการ อาทิ วาณิชธนกิจ (Investment Banking) ให้ลูกค้า
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นนอกเหนือจากสินเชื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
หลากหลายมากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังเร่งยกระดับประสิทธิภาพองค์กร ด้วยการพัฒนาระบบ
เทคโนโลยีดิจิทัล การปรับปรุงระบบงาน และการปรับโครงสร้างองค์กรโดยจัดแบ่งฝ่ายงานการ
ตลาดตามความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น อันสะท้อนให้เห็นว่า EXIM BANK เป็นมากกว่าธนาคาร
(Beyond Banking) ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนไปกับสังคมและ
สิ่งแวดล้อม “ท่ามกลางปัจจัยท้าทายจากโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว EXIM BANK ยังเดินหน้า
บทบาทที่เป็นมากกว่าธนาคาร ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้ปรับตัวและ
แข่งขันได้ในเวทีโลก ควบคู่กับการกระตุ้นการส่งออกและการลงทุนของผู้ประกอบการไทยที่จะช่วย
สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขยายพอร์ตสินเชื่อให้เป็นสีเขียวเพิ่ม
มากขึ้น ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล ต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่
อนาคต ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว
 
            EXIM BANK ได้รับรางวัลเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดีเด่น ประจำปี 2567 (DPO Award of Excellence) จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประกาศให้ EXIM BANK เป็น 1 ใน 10 หน่วยงานของรัฐ (จาก 85 แห่ง) ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว อันมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นความภาคภูมิใจและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “Super Hero ผู้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน” สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ EXIM BANK ในการดำเนินงานตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คู่ค้า คู่ความร่วมมือ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของ EXIM BANK เชื่อมั่นและไว้วางใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม กรอบของกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SSP) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan : SLL) ของ EXIM BANK จำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อ
เร็ว ๆ นี้

          การสนับสนุนของ EXIM BANK ในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของกลุ่ม SSP ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของไทย (Alternative Energy Development Plan : AEDP) ที่มีการปรับเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดมากขึ้น และแผนความร่วมมือด้านพลังงานภูมิภาคอาเซียนที่มีการกำหนดนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีสัดส่วน 35% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมภายในปี 2568 ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อนาคตโดยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) สร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กับการรักษาสมดุลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เข้าพบสวัสดีปีใหม่ 2567 นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมทั้งพบปะหารือเพื่อรับฟังสถานการณ์เศรษฐกิจในตลาดประเทศเพื่อนบ้านและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดแอฟริกา รวมทั้งแนวทางความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้บทบาทของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank ณ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
            ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐ ประกอบด้วย นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) นายภิรมย์ โพธิ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานลูกค้าธุรกิจ SMEs นายกิตติพัฒน์ เพียรธรรม ผู้บริหารสายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการค้ำประกัน ภายใต้โครงการ “ติดปีกเอสเอ็มอี หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้” โดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนาม ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
            ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมเป็นวิทยากรเสริมสร้าง
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ในงานสัมมนาส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และสมาชิก
ส.อ.ท. ณ ส.อ.ท. เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
  EXIM BANK ร่วมยินดี บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33  
            ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เนื่องในโอกาสสวันคล้ายวันสถาปนา บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33 พร้อมมอบเงินบริจาคสมทบทุนเพื่อการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้กับมูลนิธิออทิสติกไทย ณ สำนักงานใหญ่ บสย. เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ร่วมยินดีโพสต์ทูเดย์ ก้าวสู่ปีที่ 21  
            นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนายยุทธนา นวลจรัส บรรณาธิการบริหารโพสต์ทูเดย์ ในโอกาสโพสต์ทูเดย์ ก้าวสู่ปีที่ 21 ณ อาคารอินเตอร์ลิงค์ทาวเวอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้"  
  EXIM BANK ร่วมยินดีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ครบรอบ 94 ปี  
            นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนางสาวชนิสา ชมศิลป์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) กรมประชาสัมพันธ์ พร้อมมอบเงินบริจาคสมทบสวัสดิการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในโอกาส สวท. ครบรอบ 94 ปี ณ อาคาร 2 สวท. เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ร่วมยินดีฐานเศรษฐกิจ ครบรอบ 44 ปี  
          นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับ
คุณบากบั่น บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด พร้อมมอบเงินบริจาคสมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดี เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ในโอกาสหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ครบรอบ 44 ปี ณ เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็ว ๆ นี้