|
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 การส่งออกอาหารทั้งหมดของไทยมีมูลค่า 424,900 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่การส่งออกเครื่องปรุงรสมีมูลค่า 9,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 สะท้อน
ให้เห็นว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สินค้าเครื่องปรุงรสของไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก และเป็นที่
คาดว่าสถานการณ์การส่งออกเครื่องปรุงรสในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 จะดีขึ้นเป็นลำดับ สอดคล้องกับที่ศูนย์อัจฉริยะเพื่อ
อุตสาหกรรมอาหารของไทยคาดการณ์ปริมาณการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยทั้งปี 2558 จะอยู่ที่ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10 จากปี 2557 โดยตลาดที่การส่งออกสินค้าดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวดี คือ ยุโรปและอาเซียน ทั้งนี้ สถาบันอาหาร
กระทรวงอุตสาหกรรมคาดการณ์ตลาดเครื่องปรุงรสของโลกจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปีนับตั้งแต่ปี 2557 และจะมี
มูลค่ากว่า 2.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563
สถานการณ์การส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไป CLMV
|
|
|
 |
 |
|
สัดส่วนมูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไป CLMV ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 |
|
|
 |
|
ที่มา : |
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร |
|
 |
 |
 |
 |
|
อัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทย |
|
|
 |
|
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร |
|
|
 |
 |
|
 |
|
สำหรับมูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไป สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558
ขยายตัวสูงกว่าการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไปตลาดโลก ดังจะเห็นได้ว่ามูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไปเวียดนาม
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.1 โดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆ ใน CLMV เนื่องจากชาวเวียดนามเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมานิยม
อาหารตะวันตกมากขึ้น จึงมีความต้องการบริโภคเครื่องปรุงรสประเภทซอสมะเขือเทศและซอสพริกเพิ่มขึ้น ขณะที่ สปป.ลาว
มีความต้องการเครื่องปรุงรสเช่นเดียวกับเมียนมา คือ ซอสมะเขือเทศ ซอสถั่วเหลือง ผงปรุงรส และน้ำปลา อย่างไรก็ตาม
เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกเครื่องปรุงรสไปกัมพูชาซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยใน CLMV กลับมีมูลค่าลดลง
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพราะกัมพูชาลดการนำเข้าเครื่องปรุงรสของไทยเกือบทุกชนิด ยกเว้นน้ำปลา ซึ่งกัมพูชายังผลิตได้
ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ (ชาวกัมพูชามีความต้องการบริโภคน้ำปลามาก โดยเฉพาะผู้ที่อาศัย
อยู่ในชนบท)
พฤติกรรมผู้บริโภค CLMV กับโอกาสขยายตลาดเครื่องปรุงรสของไทย
• กัมพูชา : ชาวกัมพูชานิยมรับประทานอาหารประเภทกับข้าวที่มีความหลากหลายในหนึ่งมื้ออาหาร โดยวัตถุดิบหลัก
ที่ใช้ในการปรุงอาหารประกอบด้วยสมุนไพร เครื่องแกง และเครื่องปรุงรสต่างๆ โดยเฉพาะน้ำปลา ซึ่งมีความคล้ายคลึง
กับการปรุงอาหารไทย นอกจากนี้ หากสังเกตการจัดวางชุดเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหารในร้านอาหารท้องถิ่นของกัมพูชา
จะพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำปลา กะปิ เกลือ น้ำตาล มะนาวสด ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ และปลาร้า นอกจากนี้
ชาวกัมพูชายังนิยมใช้ผงชูรสในปริมาณมากเพื่อประกอบอาหาร
แม้ว่าปัจจุบันกัมพูชาลดการนำเข้าเครื่องปรุงรสของไทย โดยหันไปนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากเวียดนามซึ่งมีราคา
ถูกกว่า แต่เป็นที่คาดว่าในระยะข้างหน้า การส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไปกัมพูชาจะกลับมาขยายตัวได้อีก เนื่องจากการ
พัฒนาเข้าสู่สังคมเมือง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีรายได้ปานกลางที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้ามากขึ้น
ตามระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคชาวกัมพูชาตัดสินใจซื้อสินค้ารวมถึงเครื่องปรุงรสโดยคำนึงถึงคุณภาพมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้เครื่องปรุงรสของไทยที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพมากกว่าประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามมีโอกาสขยายตลาด
ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พื้นที่ค้าปลีกในกรุงพนมเปญที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 แสนตารางเมตรในปี 2560 (จากเพียง 1 แสน
ตารางเมตรในปี 2555) จะเอื้อต่อการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าต่างๆ รวมถึงเครื่องปรุงรสด้วย
• สปป.ลาว : ชาวลาวมีความคุ้นเคยกับสินค้าไทยและอาหารไทยเป็นอย่างดี ขณะที่อาหารท้องถิ่นของ สปป.ลาว
ใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารใกล้เคียงกับอาหารไทยมากที่สุด โดยเครื่องปรุงรสส่วนใหญ่ที่ชาวลาว
นิยมใช้ อาทิ น้ำปลา ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เกลือ น้ำตาล และผงชูรส ซึ่งนำเข้าจากไทยและเวียดนาม ส่วนเครื่องปรุงรส
ประจำท้องถิ่นอย่างกะปิและปลาร้า ชาวลาวจะทำการปรุงตามสูตรเฉพาะสำหรับรับประทานคู่กับผักสดและผักลวก
ในแต่ละมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชาวลาวเริ่มใช้เครื่องปรุงรสบางอย่างจากไทยเพิ่มขึ้น เช่น น้ำพริก น้ำปลา ปลาร้า
และซอสถั่วเหลือง ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกใน สปป.ลาว มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการออกกฎหมายค้าปลีกและค้าส่ง
ฉบับใหม่ จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดเครื่องปรุงรสใน สปป.ลาว
• เมียนมา : ชาวเมียนมามีความคุ้นเคยกับสินค้าอาหารและเครื่องปรุงรสของไทยเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่น
ว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าระดับบนและมีคุณภาพดี ทำให้เครื่องปรุงรสของไทยเกือบทุกชนิดเป็นที่ต้องการในเมียนมา
โดยเฉพาะน้ำปลา ซอสปรุงรส ซอสถั่วเหลือง และผงชูรส ซึ่งถือเป็นเครื่องปรุงรสที่ทุกครัวเรือนต้องมี นอกจากนี้ ร้านอาหาร
ท้องถิ่นในเมียนมายังมีการจัดวางชุดเครื่องปรุงรสคล้ายคลึงกับร้านอาหารใน สปป.ลาว และกัมพูชา แตกต่างกันเฉพาะที่
มีการจัดวางน้ำพริกเผา ซึ่งชาวเมียนมาเรียกว่า “บาลาฉ่อง” ซึ่งเป็นน้ำพริกเผาสูตรเฉพาะของชาวเมียนมารวมอยู่ด้วย
• เวียดนาม : ชาวเวียดนามนิยมใช้วัตถุดิบที่มีความสดใหม่ในการประกอบอาหาร อีกทั้งอาหารท้องถิ่นเวียดนาม
ส่วนใหญ่มีผักและสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก จึงค่อนข้างแตกต่างจากอาหารของชาติอื่นๆ ในภูมิภาคและถือเป็นอาหาร
ที่ดีต่อสุขภาพ ร้านอาหารท้องถิ่นในเวียดนามมักมีการจัดวางชุดเครื่องปรุงรสไว้อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งประกอบด้วยน้ำปลา
น้ำตาล เกลือ พริกสด พริกป่น มะนาวสด ผงชูรส พริกซอยดองในน้ำส้มสายชู ซอสพริกแบบเวียดนาม และน้ำจิ้มประเภท
ต่างๆ สำหรับอาหารทะเลชาวเวียดนามนิยมรับประทานคู่กับน้ำจิ้มซึ่งเป็นเกลือผสมพริกไทย ผงชูรส และน้ำมะนาว ทั้งนี้
ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของไทยหลายรายเข้าไปขยายตลาดค้าปลีกในเวียดนาม ซึ่งถือเป็นช่องทาง
สำคัญในการกระจายสินค้าอาหาร รวมถึงเครื่องปรุงรสของไทยในเวียดนาม
เครื่องปรุงรสของไทยนับว่าเป็นที่นิยมของผู้บริโภคใน CLMV จากการที่ผู้ผลิตเครื่องปรุงรสของไทยมีประสบการณ์
และความชำนาญในการผลิตที่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถผลิตเครื่องปรุงรสที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เช่น การคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านผลิตภัณฑ์
และบรรจุภัณฑ์ การคัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ รวมถึงการเลือกช่องทางในการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่
การส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไป CLMV มีปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในแต่ละ
ประเทศที่นิยมบริโภคอาหารไทยมากขึ้น การขยายตัวของสังคมเมือง กระแสการดูแลรักษาสุขภาพ การแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมการรับประทานอาหารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารไทยใน CLMV ซึ่งล้วนส่งเสริม
ให้มูลค่าส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยไปตลาดดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
|
|
|