ทำความรู้จัก Venture Capital…แหล่งเงินทุนทางเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจ Startup  
            คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเริ่มต้นและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเฉพาะ
ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการ (Startup) รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises :
SMEs) ที่หลายครั้งผู้ประกอบการมีแนวคิดริเริ่มที่ดี มีโอกาสพัฒนาไปสู่ธุรกิจที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ไม่สามารถเข้าถึง
แหล่งเงินทุนได้ เนื่องจากถูกมองว่ามีความเสี่ยงสูง ทั้งจากการเป็นธุรกิจใหม่ หรือเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีอายุน้อย
ทำให้ไม่มีประวัติการดำเนินกิจการที่เพียงพอและมักถูกตัดสินว่าขาดประสบการณ์ รวมถึงธุรกิจบางประเภท อาทิ ธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ ที่มักมีข้อจำกัดในการขอสินเชื่อ เนื่องจากลักษณะธุรกิจไม่มีสินทรัพย์ที่จับต้องได้มาใช้เป็นหลักประกัน
Share โลกเศรษฐกิจฉบับนี้จะขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักกับ Venture Capital (VC) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์
ธุรกิจ Startup ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
 
            Venture Capital คืออะไร?
          Venture Capital หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน หมายถึง
ธุรกิจที่ระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ อาทิ นักลงทุน กองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ และสถาบันการเงิน เป็นต้น เพื่อนำไปลงทุนในลักษณะ
การร่วมลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต ซึ่งส่วนใหญ่
เป็นธุรกิจ Startup และ SMEs ที่มักไม่สามารถเข้าถึงแหล่ง
เงินทุน โดย VC มีความเป็นเจ้าของหรือถือครองหุ้นในบริษัท มี
กำหนดระยะเวลาและสัดส่วนการเข้าร่วมลงทุนตามนโยบายของ
ผู้ลงทุนแต่ละราย และเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ผู้ร่วมลงทุนก็
จะถอนตัวออกจากกิจการ โดย VC จะได้รับผลตอบแทนในรูป
ของเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้นตามที่ระบุใน
สัญญาร่วมทุน โดยเฉพาะผลตอบแทนจากการขายหุ้นที่ได้ร่วม
ลงทุนหากบริษัทที่ร่วมลงทุนเติบโตจนสามารถจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ได้ หรือสามารถขายหุ้นให้กับบริษัทที่ใหญ่กว่า
ได้ ทั้งนี้ การระดมทุนผ่าน VC เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ
และได้สร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายราย

          การระดมเงินทุนผ่าน VC มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
          ข้อดีของการระดมทุนผ่าน VC คือ การได้รับอนุมัติเงิน
ลงทุนค่อนข้างผ่อนคลายกว่าสถาบันการเงิน เพราะเน้นพิจารณา
จากโอกาสเติบโตของธุรกิจ แผนการดำเนินธุรกิจ ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ และความสามารถของผู้บริหารกิจการมากกว่า
สินทรัพย์หรือหลักประกัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนที่
ปลอดภาระการจ่ายคืนดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อภาค
ธนาคาร นอกจากเงินทุนแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน
จะมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ แผน
การทำตลาด และบางครั้งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนิน
ธุรกิจ รวมถึงช่วยแนะนำเครือข่ายสายสัมพันธ์ในธุรกิจ ซึ่งมี
ส่วนทำให้การร่วมลงทุนประสบผลสำเร็จอีกด้วย อย่างไรก็ตาม
ในบางกรณีผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนอาจมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจของบริษัท เช่น การดำรงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัท
 
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจาก VC
    เชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจแปลกใจว่าการเริ่มต้นของ
ธุรกิจชั้นนำที่เป็นที่รู้จักหลายธุรกิจนั้น เกิดจากการขาย
ความคิดและระดมทุนจาก VC ทั้งนี้ เว็บไซต์ Verge
ได้จัดอันดับ “Startups for all Time” โดยเรียงลำดับ
ตามมูลค่าตลาดของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการ
ระดมทุนผ่าน VC ดังนี้
 
  การอนุมัติการใช้จ่ายเงินของบริษัท หรืออาจครอบคลุมถึง
เรื่องเงินเดือนและการจ้างพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อเสีย
ที่มา : www.theverge.com  
  ของการระดมเงินทุนผ่าน VC ที่ลดอำนาจในการตัดสินใจ    
  ของเจ้าของกิจการเดิม รวมทั้งทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียความเป็นเจ้าของกิจการไปบางส่วนจากจำนวนหุ้นที่ลดลง จึงเป็น
ปัจจัยที่ผู้ประกอบการควรพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกแหล่งเงินทุนด้วย

          ปัจจุบันมีตัวอย่างธุรกิจ Startup ในไทยที่ประสบความสำเร็จจากการระดมเงินทุนผ่าน VC เช่น tarad.com เว็บไซต์
จำหน่ายสินค้าออนไลน์ภายใต้การระดมทุนและความช่วยเหลือทางธุรกิจจาก Rakuten บริษัท E-Commerce แนวหน้าของ
ญี่ปุ่น และ Ookbee ผู้พัฒนา Application E-book ที่เกิดขึ้นในช่วงการพัฒนาแท็บเล็ต จากการร่วมลงทุนของ Intouch
Holdings Plc. ที่ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลด Application กว่า 6.5 ล้านครั้ง จำนวนสมาชิกกว่า 5.5 ล้านคน รวมถึงมีแผนที่จะ
พัฒนา Application เจาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มเติมอีกด้วย
          ทั้งนี้ สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจของไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเอื้ออำนวยให้เกิดธุรกิจใหม่และผู้ประกอบการรุ่นใหม่
มากขึ้น ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน
เป็นอย่างมาก การส่งเสริมเศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovative Economy) ที่ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนนโยบายสนับสนุนการเติบโตของ SMEs ของภาครัฐ ล้วนส่งผลให้เกิดโอกาสใหม่ๆ
ทางธุรกิจและความต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้นตาม ทั้งนี้
          ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
          • เว็บไซต์ของสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai Venture Capital Association) ที่ www.
venturecapital.or.th
          • เว็บไซต์ของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนของต่างประเทศที่สนใจลงทุนในไทย อาทิ Singapore Venture
Capital & Private Equity Association (SVCA) ที่ www.svca.org.sg, Korea Venture Capital Association (KVCA)
ที่ www.kvca.or.kr และ Japan Venture Capital Association (JVCA) ที่ www.jvca.jp เป็นต้น
          • เว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีสำนักงานในไทย อาทิ Inspire Ventures ที่ www.
inspireventures.com, Change Ventures ที่ www.changeventures.asia และ Galaxy Ventures ที่ www.
galaxyventures.co.th เป็นต้น