 |
 |
 |
 |
 |
|
HIGHLIGHT
• อินเดียมีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งในมิติของขนาดตลาดอาหารที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก รวมถึงความสมบูรณ์
ของทรัพยากรด้านอาหาร จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศเป้าหมายในการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย
• ตลาดอาหารของอินเดียเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจแต่ก็มาพร้อมกับความท้าทาย โดยเฉพาะความหลากหลายของวัฒนธรรม
ภูมิประเทศ เชื้อชาติ ความเชื่อ และระดับรายได้ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคหลากหลายตามไปด้วย ผู้ประกอบการไทยควรทำความ
เข้าใจรูปแบบการบริโภคของชาวอินเดียให้ลึกซึ้ง ก่อนจะนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดอินเดียต่อไป |
|
 |
 |
|
อินเดียเป็นหนึ่งในตลาดอาหารที่มีศักยภาพของโลก มูลค่าตลาดอาหารของอินเดียใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกจากจำนวน
ประชากรกว่า 1.2 พันล้านคน (อันดับ 2 ของโลก) ประกอบกับมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล ผู้ประกอบการทั่วโลก
จึงหลั่งไหลเข้าไปทำธุรกิจอาหารในอินเดียอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการไทยซึ่งมีศักยภาพและเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญในตลาดอาหารโลก
จึงไม่ควรพลาดโอกาสเข้าไปแสวงหาลู่ทางทำธุรกิจในอินเดีย ทั้งในมิติของการขยายตลาด (Market Seeking) และการใช้ความได้เปรียบ
ด้านทรัพยากรของอินเดีย (Resource Seeking) อย่างไรก็ตาม การเจาะตลาดอินเดียไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความหลากหลาย
ทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และระดับรายได้ ส่งผลให้ความต้องการ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภคของชาวอินเดีย
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ก่อนจะรุกตลาดอินเดีย ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและเข้าใจตลาดอินเดียให้รอบด้าน บทความ
ฉบับนี้จึงรวบรวมตัวอย่างการบริโภคของชาวอินเดีย เพื่อฉายภาพให้เห็นถึงความซับซ้อนของรูปแบบการบริโภค ตลอดจนเป็นแนวทาง
ในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่สามารถตอบโจทย์ชาวอินเดียได้มากที่สุด |
|
 |
 |
|
“อินเดียมีความหลากหลายมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก” |
|
|
 |
|
 |
29 รัฐ
7 ดินแดนสหภาพ |
 |
ภาษาที่ใช้
มากกว่า
80 ภาษา |
 |
เชื้อชาติ
กว่า 20 เชื้อชาติ |
 |
ภูมิอากาศแตกต่าง
สุดขั้ว เช่น หิมะตก ฝนตก ร้อนชื้น แห้งแล้ง
แบบทะเลทราย |
|
|
 |
 |
 |
|
ตัวอย่างพฤติกรรมการบริโภคของชาวอินเดียที่แตกต่างกันจากหลายปัจจัย |
|
|
 |
 |
|
|
Case 1 |
“Reset Perception : มองอินเดียมุมใหม่...ไม่เหมารวมเป็นตลาดเดียว” |
|
 |
 |
|
ความเข้าใจทั่วไป |
|
ความเข้าใจที่ถูกต้อง |
|
|
|
 |
 |
กินแต่ข้าวบาสมาติ |
|
 |
ชาวอินเดียที่มีรายได้สูงนิยมรับประทานข้าวหอมมะลิด้วย
นอกเหนือจากข้าวบาสมาติ |
|
|
 |
 |
แป้ง = โรตี |
|
 |
อินเดียมีแป้งหลายชนิด หลายพื้นที่นิยมรับประทาน
แป้ง Naan ขณะที่บางพื้นที่นิยมรับประทานแป้ง Dosa |
|
|
 |
 |
นิยมใส่ผงกะหรี่
ในอาหาร |
|
 |
นิยมใส่ผงปรุงรสที่ผสมจากเครื่องเทศหลายชนิด
เรียกว่า Garam Masala โดยแต่ละพื้นที่จะมีสูตรเฉพาะ |
|
|
 |
 |
|
“การบริโภคของชาวอินเดียแตกต่างกันตามวัฒนธรรมและ
ระดับรายได้ จึงไม่ควรเหมารวมว่าทุกคนจะบริโภคเหมือนกัน” |
|
|
|
|
ข้อสังเกต : สินค้าไทยถือเป็นสินค้าระดับ Premium ในตลาดอินเดีย
จึงสามารถเจาะตลาดกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง |
|
|
|
 |
|
 |
 |
|
หมายเหตุ : |
* สัดส่วนผู้มีรายได้สูงต่อประชากรรวม ทั้งกลุ่ม Upper Middle Class (8,500-40,000 USD/ปี)
และ High Income (> 40,000 USD/ปี)
** % ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ |
|
 |
 |
 |
|
Case 2 |
“Customer Complexity : เข้าใจความละเอียดอ่อนของกลุ่มลูกค้า” |
|
 |
 |
|
สัดส่วนผู้บริโภคมังสวิรัติของอินเดีย |
|
|
|
|
 |
• ชาวอินเดียค่อนข้างเคร่งครัดทางศาสนา แม้
Non-Vegetarian
ก็งดรับประทานเนื้อสัตว์เฉลี่ย
2 วัน/สัปดาห์ หรือช่วงวันสำคัญ
ทางศาสนา
• วันสำคัญทางศาสนาราว 40 วันต่อปี บางเทศกาลกินเวลา
หลายวัน เช่น Ganesh Chaturthi (11 วัน) Onam (10 วัน)
และ Pongal (4 วัน) |
|
|
ที่มา : BBC, CalendarLabs |
|
|
 |
|
 |
• ผู้นับถือศาสนาเชนจะไม่รับประทานผักที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม มันฝรั่ง กระเทียม แม้กลุ่มนี้มีจำนวนไม่มาก
แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง (พ่อค้า นักธุรกิจ) |
|
 |
 |
|
“เทศกาลสำคัญในอินเดียส่งผลต่อธุรกิจอาหาร” |
|
|
 |
|
ผู้ประกอบการไทยต้องวางแผนการผลิตและบริหารจัดการสต็อกสินค้า
โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดสินค้าล้นตลาดหรือสินค้า
ขาดแคลน |
|
|
 |
 |
 |
 |
 |
|
Case 3 |
“Different Place...Different Taste : ตลาดมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างทั้ง Resource
และรสนิยม” |
|
 |
 |
|
อินเดียมีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีความหลากหลายของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากร |
|
|
 |
|
 |
• บางรัฐอยู่ห่างจากทะเล จึงไม่นิยมรับประทานหรือไม่รู้จักอาหารทะเล
เช่น กุ้ง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ข้อสังเกต
ผู้ประกอบการไทยสามารถไปลงทุน เพื่อใช้ความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ
อาหารที่อินเดียมีความอุดมสมบูรณ์เพื่อนำไปผลิต/แปรรูปเพื่อส่งออก
|
|
 |
|
“หากเป็นวัตถุดิบที่ชาวอินเดียไม่คุ้นเคย ผู้ประกอบการไทยอาจนำเสนอสินค้า
ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น” เช่น |
|
|
 |
|
 |
กรณีบริษัทปลากระป๋องเจาะตลาดประเทศที่ไม่รู้จักปลากระป๋อง
ด้วยการสอนให้คนท้องถิ่นรับประทานปลากระป๋องคู่กับอาหารท้องถิ่น |
|
|
|
 |
หากต้องการขายกุ้งในรัฐที่ไม่นิยมรับประทานกุ้ง อาจทำตลาด
ด้วยการนำกุ้งที่ปรุงรสชาติด้วยเครื่องเทศท้องถิ่นของแต่ละรัฐ เช่น Black
Cardamom (อินเดียเหนือ) Black Pepper (รัฐ Kerala) |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
สรุป |
การรุกตลาดอินเดียต้องพิจารณาความหลากหลายให้ครบทุกมิติ |
|
 |
 |
 |
 |
 |
|
"ตลาดผู้บริโภคชาวอินเดียมีความหลากหลายและละเอียดอ่อน
ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย จึงควรทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง" |
|
|
 |
|
แม้การรุกตลาดอินเดียจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจมหาศาล ผู้ประกอบการไทยจึงควรทำความ
เข้าใจและศึกษาข้อมูลผู้บริโภคชาวอินเดียให้รอบด้าน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการเจาะตลาดและครองใจ
ชาวอินเดีย |
|
 |
 |
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
 |
|
|