 |
 |
 |
 |
|
กัมพูชาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่ผู้ประกอบการไทยเข้าไปปักหมุดขยายตลาดการค้าการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยการค้า
ระหว่างไทยและกัมพูชามีมูลค่าถึง 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 ขยายตัวราว 10% ซึ่งการติดต่อค้าขายจำเป็นต้องใช้เงิน
สกุลใดสกุลหนึ่งเป็นสื่อกลางในการซื้อขาย รวมไปถึงการเข้าไปติดต่อธุรกิจหรือการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจก็ต้องเกี่ยวข้องกับสกุลเงินตรา
ต่างประเทศและสกุลเงินท้องถิ่น ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการทำธุรกิจกับกัมพูชา ผู้ประกอบการควรใช้สกุลเงินใดในการทำธุรกรรมต่างๆ
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เงินดอลลาร์สหรัฐ : กัมพูชาเป็นประเทศที่มีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอย่างแพร่หลาย จนอาจกล่าวได้ว่าใช้เป็นเงินสกุลหลัก
กันเลยทีเดียว สังเกตได้จาก Dollarization Ratio ของกัมพูชาที่สูงถึง 84% ในปี 2559 หรือแปลง่ายๆ ว่า ราว 84% ของเงิน
ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบการเงินของกัมพูชาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น หากมีโอกาสเดินทางไปเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจอย่าง
กรุงพนมเปญ จะพบว่าสินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่ปิดป้ายบอกราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การซื้อขายสินค้าและบริการ รวมถึง
ธุรกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ก็ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ความนิยมใช้เงินดอลลาร์สหรัฐดังกล่าวทำให้ธุรกิจที่
ประกอบกิจการในกัมพูชามีรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าใช้จ่ายอย่างเงินเดือนพนักงานก็สามารถใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
จ่ายให้กับพนักงานได้เช่นกัน สำหรับด้านการค้าระหว่างประเทศ เงินดอลลาร์สหรัฐก็มีบทบาทมากเช่นกัน โดยการค้าระหว่างไทยและ
กัมพูชาใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสัดส่วนถึงราว 60%
• เงินเรียล : ปริมาณเงินฝากสกุลเรียล ซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของกัมพูชา มีสัดส่วนในระบบอยู่เพียง 16% แสดงให้เห็นถึง
บทบาทที่เป็นรองสกุลเงินต่างประเทศอย่างดอลลาร์สหรัฐ โดยสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางไปยังกัมพูชาและพกเงินดอลลาร์สหรัฐในการ
ทำธุรกรรมเป็นหลัก ก็จะพบว่าเงินเรียลมีบทบาทเป็นเพียงเงินทอนหรือเป็นเงินย่อยสำหรับซื้อสินค้าที่ราคาต่ำกว่าหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ
เท่านั้น แต่สำหรับชาวกัมพูชาเองนั้น เงินเรียลนับว่ามีบทบาทมากขึ้น โดยชาวกัมพูชาใช้เงินเรียลเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันถึงราว
80% ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะชาวกัมพูชานิยมนำรายได้ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐไปฝากธนาคารมิได้นำออกมาหมุนเวียนในระบบ
เศรษฐกิจ นอกจากนี้ บทบาทของเงินเรียลในเมืองรองและเมืองชนบทของกัมพูชายิ่งมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับในกรุงพนมเปญ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา
รัฐบาลกัมพูชามีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้เงินเรียลมากขึ้น โดยเฉพาะกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กำหนดให้ใช้เงินเรียลในการจ่ายเงินเดือน
ข้าราชการ จ่ายภาษี และจ่ายค่าสาธารณูปโภค ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในกัมพูชาก็มีความจำเป็นต้องใช้เงินเรียล
ในการเสียภาษีและจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ด้วยเช่นกัน
• เงินบาท : เงินบาทของไทยมีบทบาทในธุรกรรมส่งออกและนำเข้าระหว่างไทยและกัมพูชาอยู่ราว 35-40% นอกจากนี้
ส่วนใหญ่ยังสามารถใช้เงินบาทได้ทั่วไปในจังหวัดของกัมพูชาที่ติดกับชายแดนไทย เนื่องจากมีการไปมาหาสู่ติดต่อทำธุรกิจระหว่างกัน
ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เสถียรภาพของเงินบาทและความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนนับเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินบาทได้รับการยอมรับในการ
ทำธุรกรรมต่างๆ ในกัมพูชา
• เงินหยวน : เงินหยวนของจีนนับว่าทวีความสำคัญมากขึ้นตามนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในกัมพูชาเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาก็สนับสนุนการใช้เงินหยวนตามมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจีนและกระชับความสัมพันธ์กับจีน
อย่างไรก็ตาม เงินหยวนยังไม่ใช่เงินสกุลหลักที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกัมพูชา อีกทั้งยังไม่ได้ถูกใช้ในธุรกรรมการค้าระหว่างจีน
และกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่าอยู่ราว 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากยังคงนิยมใช้เงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่า ทำให้ปัจจุบันจีนพยายาม
ผลักดันให้กัมพูชาเปลี่ยนมาใช้เงินหยวนในการทำการค้าแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลกัมพูชาอยู่ระหว่างพิจารณาถึงความเป็นไปได้
ของนโยบายดังกล่าว ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะทำให้เงินหยวนทวีความสำคัญมากขึ้นทันที
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะติดต่อทำธุรกิจกับกัมพูชา เงินดอลลาร์สหรัฐถือเป็นสกุลเงินที่มีความคล่องตัวและได้รับความนิยม
มากที่สุดทั้งด้านการค้าและการลงทุน รองลงมาเป็นเงินบาท ซึ่งสามารถใช้ทำการค้าขายระหว่างกัน ทั้งนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐมีบทบาท
อย่างมากในกัมพูชามานานหลายสิบปีตั้งแต่ฟื้นฟูประเทศหลังสิ้นสุดยุคเขมรแดงราวปี 2523 เนื่องจากในช่วงเวลานั้นกัมพูชาได้รับ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหประชาชาติ (UN) รวมทั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGOs) ทำให้
มีเงินดอลลาร์สหรัฐหลั่งไหลมายังกัมพูชาจำนวนมาก อีกทั้งสมาชิกของ NGOs ที่ลงพื้นที่มาทำกิจกรรมช่วยเหลือในด้านต่างๆ ก็มีการ
ใช้จ่ายด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีบทบาทและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในกัมพูชานับตั้งแต่นั้นมา
จนถึงปัจจุบัน สำหรับข้อดีและข้อเสียของการที่กัมพูชามีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐกันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้ |
|
 |
 |
 |
 |
|
สุดท้ายนี้ ยังคงมีประเด็นด้านนโยบายการเงินของกัมพูชาที่ต้องติดตาม คือ การที่ธนาคารกลางกัมพูชาออกมาตรการกำหนดให้
สถาบันการเงินในกัมพูชาปล่อยกู้เป็นสกุลเงินเรียลอย่างน้อย 10% ของยอดคงค้าง (Outstanding) ที่ปล่อยกู้ของแต่ละธนาคาร
โดยจะให้มีผลบังคับใช้ในปี 2562 เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้เงินเรียลท่ามกลางกระแสคัดค้านและการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง
ถึงผลกระทบว่าระเบียบดังกล่าวอาจสร้างความวุ่นวายในทางปฏิบัติ เนื่องจากจะส่งผลให้ความต้องการเงินเรียลเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน
และอาจทำให้ปริมาณเงินเรียลมีไม่พอใช้ในระบบการเงิน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่ามาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่อค่าเงินเรียลเป็นหลัก
จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการไทยยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทเป็นสกุลเงินหลัก
ในการทำธุรกิจกับกัมพูชา แต่ต้องติดตามสถานการณ์และเพิ่มความระมัดระวังในธุรกรรมที่ต้องใช้เงินเรียล |
|
 |
|
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
|
 |
 |
 |
|