EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564
 
        ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) เมื่อเร็ว ๆ นี้  
        ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้  
        ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  ประธานกรรมการ และกรรมการ EXIM BANK เยี่ยมชมการดำเนินงานธนาคาร
ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่
 
            ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK นำกรรมการได้แก่ นายคณิทธิ์ สว่างวโรรส และนายสุวัฒน์ กมลพนัส เยี่ยมชมการดำเนินงาน และรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมภารกิจของ EXIM BANK ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร EXIM BANK ให้การต้อนรับ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK หารือแนวทางส่งเสริมโอกาสธุรกิจไทยในเมียนมา  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พบปะหารือกับนายจักร บุญ-หลง อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง นายไมเคิล โม มินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เอ็มพีอาร์แอล อีแอนด์พี และนายพจน์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอกรุ๊ป (เอเชีย-แปซิฟิก) จำกัด นักธุรกิจชาวเมียนมา เกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในเมียนมา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK เข้าพบและหารือ สสว. สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทย  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เยี่ยมคารวะนายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ สสว. เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ณ สสว. เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK เติมทุน-พักหนี้ให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและเกี่ยวเนื่อง รวมกว่า 60,000 ล้านบาท
พร้อมอัดฉีดอีก 5,000 ล้านบาท เติมทุน SMEs ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดอกเบี้ย 3% ต่อปี
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นกำลังสำคัญและเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศ EXIM BANK จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเติมทุนและพักชำระหนี้ โดยตั้งแต่เริ่มวิกฤตโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน EXIM BANK ได้เติมทุนให้แก่ผู้ประกอบการแล้วจำนวนกว่า 2,200 ราย เป็นเม็ดเงินใหม่ที่เติมเข้าระบบเศรษฐกิจรวมกว่า 10,000 ล้านบาท และพักหนี้ให้แก่ผู้ประกอบการรวมแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ EXIM BANK เตรียมวงเงินอีก 5,000 ล้านบาท อัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจภายใต้บริการใหม่ “สินเชื่อเอ็กซิม Jump start” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยเติมทุนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นเงินทุนหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี กู้ได้สูงสุด 50 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาทไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอรับบริการได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 พฤษภาคม 2565 สอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจากโควิด-19 โทร. 0 2037 6099

          “สินเชื่อเอ็กซิม Jump Start เป็นบริการใหม่ที่ EXIM BANK พัฒนาขึ้น เพื่อทำหน้าที่เสมือนแบตเตอรี่เติมไฟให้ SMEs มีกำลังขับเคลื่อนกิจการและเศรษฐกิจของประเทศไทยไปข้างหน้าได้ ได้รับวงเงินหมุนเวียนโดยเร่งด่วนและเพียงพอที่จะประกอบธุรกิจได้เป็นปกติ สอดคล้องกับแนวนโยบายของ EXIM BANK ที่มุ่งเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาควบคู่กับการอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งปัจจุบันหลายกิจการกำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจจากผลกระทบของโควิด-19 EXIM BANK จึงเร่งพัฒนาธุรกิจและบริการที่จะทำหน้าที่ซ่อม สร้าง และเสริมให้ภาคธุรกิจแข็งแรงและแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงตลาดใหม่ ๆ ที่ยังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมากสำหรับผู้ประกอบการไทย” ดร.รักษ์กล่าว
 
  EXIM BANK ขานรับ ธปท. ออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ พร้อมแถลงผลการดำเนินงานขยายสินเชื่อและประกันการส่งออกได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ปี 64  
            EXIM BANK ขานรับ ธปท. ออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ พร้อมแถลงผลการดำเนินงานขยายสินเชื่อและประกันการส่งออกได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ปีดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK ได้ออกมาตรการความช่วยเหลือ โดยสอดรับกับมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จำนวน 2 มาตรการ ดังนี้

          1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) เป็นสินเชื่อหมุนเวียนสูงสุด 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.2% ต่อปี ทั้งนี้ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
               ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อกับ EXIM BANK ไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอกู้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาทต่อราย (รวมสินเชื่อ Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก. ช่วยเหลือในปี 2563)
              ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน)
          2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้) EXIM BANK รับโอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อนำมาชำระหนี้กับ EXIM BANK เป็นการช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว โดยไม่ถูกกดราคาทรัพย์สินและมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์คืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีนับแต่วันที่รับโอน

          ปัจจุบันมีลูกค้า EXIM BANK สนใจขอรับมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าวจำนวนประมาณ 940 ราย เป็นวงเงินรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถแจ้งความจำนงขอรับมาตรการ หรือสอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจาก COVID-19 โทร. 0 2037 6099

          นอกจากนี้ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2564) ว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 EXIM BANK ได้ขยายบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในด้านการเงิน ทั้งสินเชื่อและประกัน และด้านที่ไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินเชื่อคงค้าง 134,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,276 ล้านบาทหรือร้อยละ 6.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 31,648 ล้านบาทและสินเชื่อเพื่อการลงทุน 102,764 ล้านบาท การให้สินเชื่อของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 42,246 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่ากับ 14,399 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.08

          ด้านการสนับสนุนการค้าและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 EXIM BANK มีวงเงินสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวม 92,907 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 60,145 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,605 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้ เป็นสินเชื่อคงค้างเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ส่งออกและลงทุนในตลาดใหม่ (New Frontiers) ซึ่งรวมถึงกลุ่ม CLMV จำนวน 43,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,273 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยรุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีเสถียรภาพและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง

          ด้านการให้บริการประกันการส่งออกและการลงทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากการได้รับชำระเงินล่าช้าหรือปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 52,366 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 15,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 EXIM BANK มีกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 502 ล้านบาท แต่ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ EXIM BANK มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 ร้อยละ 4.19 โดยมี NPLs จำนวน 5,625 ล้านบาท และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 12,396 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ NPLs (Coverage Ratio) สูงถึงร้อยละ 220.36 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง ทำให้ EXIM BANK มีกำไรสุทธิในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 เท่ากับ 92 ล้านบาท

          “ในปี 2564 EXIM BANK จะทำหน้าที่เป็น ‘เครื่องยนต์รุ่นใหม่’ ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยขับเคลื่อนแบบ 2 เครื่องยนต์ (Twin Turbo) ได้แก่ การเป็น ‘ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)’ เพื่อสร้างการลงทุนไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการเป็น ‘ศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs)’ เพื่อสร้างนักรบเศรษฐกิจไทย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์แนวโน้มใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ และดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ขานรับกระทรวงการคลัง ออก "มาตรการสมัครใจพักหนี้"
ช่วยลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ในส่วนของมาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจนั้น EXIM BANK ได้ออก “มาตรการสมัครใจพักหนี้” ให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะ SMEs ที่ได้รับผลกระทบการดำเนินกิจการจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการให้สามารถฟื้นฟูธุรกิจได้เร็วขึ้น

          ลูกค้า SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 3 ล้านบาท ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม สามารถพักชำระหนี้เงินต้นหรือต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินสูงสุด 6 เดือน โดยจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับมาตรการได้ที่เจ้าหน้าที่ธนาคาร
          ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาทขึ้นไป ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่เจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อขอพิจารณาผ่อนผันเป็นรายกรณี

          ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ติดต่อสอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจาก COVID-19 โทร. 0 2037 6099
 
  EXIM BANK ขยายสินเชื่อดอกเบี้ย 2.75% ต่อปี
พยุงกิจการส่งออกและธุรกิจเกี่ยวเนื่องรักษาการจ้างงานในวิกฤต COVID-19
 
            EXIM BANK ออก “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี ดอกเบี้ยต่ำสุด 2.75% ต่อปี ช่วยให้กิจการส่งออกและธุรกิจเกี่ยวเนื่องมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรักษาการจ้างงาน แรงงานมีรายได้เลี้ยงชีพและอยู่ในระบบประกันสังคมต่อไป

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบซ้ำเติมภาคธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้หลายกิจการขาดสภาพคล่องจนนำไปสู่การลดหรือเลิกจ้างแรงงาน EXIM BANK จึงเข้าร่วม “โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ระยะที่ 2” ของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท เพื่อให้สถานประกอบการนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ สามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ ช่วยให้ผู้ประกันตนมีงานทำต่อเนื่องและอยู่ในระบบประกันสังคมได้ต่อไป

          “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่กิจการส่งออกและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ขึ้นทะเบียนกับ สปส. วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ ต่ำสุด 2.75% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และเงินกู้ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.75% ต่อปีใน 3 ปีแรก จากนั้นเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สามารถใช้หนังสือค้ำประกันของบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมได้ ขอรับบริการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 ธันวาคม 2564 สอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจาก COVID-19 โทร. 0 2037 6099

          “EXIM BANK ติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจส่งออกและธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิด เพื่อออกมาตรการรองรับและช่วยเหลือเยียวยา พยุงให้กิจการดำเนินต่อไปได้ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในภาคแรงงาน ให้มีกำลังเลี้ยงตนเองและครอบครัว ไม่เพิ่มปัญหาหนี้สินครัวเรือน พร้อมรับโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในระยะถัดไป” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK สนับสนุนกลุ่มบริษัท SUPER พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลมแห่งใหม่ในเวียดนาม
ตามแนวนโยบายสร้างอุตสาหกรรมใหม่เพื่ออนาคต รวมถึง Bio-Circular-Green Economy
 
            EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินจำนวน 73.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท ให้กลุ่มบริษัท SUPER นำไปใช้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม สอดคล้องกับแนวทางการปรับบทบาทของ EXIM BANK ไปสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย สร้างภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตไปสู่อนาคตและเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างประเทศ

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK จำนวน 73.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดยาไล ประเทศเวียดนาม ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า การสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK ครั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้สามารถขยายการลงทุนไปต่างประเทศได้มากขึ้น โดย EXIM BANK เป็นธนาคารของรัฐที่บุกเบิกการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนของนักลงทุนไทยในประเทศเวียดนาม ขณะที่กลุ่ม SUPER เป็นนักลงทุนไทยที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน สอดรับกับความต้องการของภาครัฐและเอกชนในประเทศเวียดนาม ภายหลังรัฐบาลเวียดนามเปิดเสรีด้านพลังงานทดแทนตามแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจาก 11% ในปี 2563 เป็นไม่น้อยกว่า 21% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2573 นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของ EXIM BANK ที่มุ่งไปสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา สนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กับการรักษาสมดุลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          “ท่ามกลางปัจจัยท้าทายรอบด้าน EXIM BANK กำลังเดินหน้าบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา โดยเร่งซ่อม สร้าง และเสริมการพัฒนาประเทศไทยในมิติด้านการค้าและการลงทุน ควบคู่กับการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน EXIM BANK ในฐานะธนาคารเฉพาะกิจของรัฐพร้อมช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการทุกระดับ พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ และนำทัพธุรกิจไทยรุกตลาดโลกอย่างสมดุล เพื่อให้ทุกภาคส่วนเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” ดร.รักษ์กล่าว
 
  EXIM BANK และสำนักงานเขตพญาไท จัดทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์
ใช้บำรุงพืชผักปลอดสารพิษในโครงการ “สวนผักรักษ์พอเพียง”
 
            นางวรรธนา มงคลศรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมกับนางเบญญา อินทรวงศ์โชติ (ขวา) ผู้อำนวยการเขตพญาไท เข้าร่วมกิจกรรมจัดทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ เพื่อนำไปใช้ในโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ “สวนผักรักษ์พอเพียง” บริเวณด้านข้างสวนพญาไทภิรมย์ ซึ่ง EXIM BANK และสำนักงานเขตพญาไท ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงใช้เป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้สำนักงานเขตพญาไท
เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
 
            นางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 100 ชุด ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ให้แก่นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตพญาไท เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียง ประชาชนที่กักตัวและผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ สำนักงานเขตพญาไท เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  หน้าหลัก  I  Share โลกเศรษฐกิจ  I  เปิดประตูสู่ตลาดใหม่  I  ส่องเทรนด์โลก  I  เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ
เรื่องเล่าจาก CLMV  I  CEO Talk  I แวดวงคู่ค้า  I  แนะนำบริการ  I  สรุปข่าว