 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นําคณะผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK ร่วมถวายพระพรชัยมงคลเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลวันฉัตรมงคล พุทธศักราช 2566 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ณ EXIM BANK สํานักงานใหญ่
|
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเยี่ยมชมบูท EXIM BANK ในมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 23 |
|
|
 |
 |
 |
|
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร และประธานการจัดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 23 (Money Expo 2023) เยี่ยมชมบูท EXIM BANK โดยมี ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ธนาคารให้การต้อนรับ และนำชมสินค้าคุณภาพส่งออกได้ จาก “คนตัวเล็ก” หรือผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่ EXIM BANK ให้การสนับสนุน เติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน
บูท EXIM BANK (บูท H7) จัดเต็มแพ็กเกจบริการอย่างครบวงจร และโปรโมชันพิเศษโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินเชื่อ EXIM Green Start วงเงินกู้สูงสุด 200 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำสุด 4% ต่อปี ลงทะเบียนในงานได้รับส่วนลดดอกเบี้ยปีแรก เหลือเพียง 3.75% ต่อปี อีกทั้งยังมี “คลินิก EXIM เพื่อคนตัวเล็ก” ให้คำปรึกษาปัญหาการเงิน แก้หนี้ เติมความรู้ และเติมเงินทุนให้แก่ SMEs และบุคคลทำธุรกิจที่สนใจจะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก ตลอดงาน Money Expo 2023 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Green Finance for Green Living การเงินสีเขียวเพื่อชีวิตสีเขียว” ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2566 |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK ร่วมออกบูทในงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 23 |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 23 (Money Expo 2023) และนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร และประธานการจัดงาน Money Expo 2023 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ EXIM BANK ร่วมออกบูทภายใต้แนวคิด “EXIM Green Start” ในงาน Money Expo 2023 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยจำลอง “สวนหลังบ้านเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Urban Courtyard)” เลือกใช้วัสดุและเฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน ลด ละ เลิกสร้างมลภาวะและภาระต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) นำเสนอแพ็กเกจบริการอย่างครบวงจรและโปรโมชันพิเศษโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด “Green Finance for Green Living การเงินสีเขียวเพื่อชีวิตสีเขียว” ของงาน Money Expo 2023 โดยจัดให้มี “คลินิก EXIM เพื่อคนตัวเล็ก” ให้คำปรึกษาปัญหาการเงิน แก้หนี้ เติมความรู้ และเติมเงินทุนให้แก่ SMEs และบุคคลทำธุรกิจที่สนใจจะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าส่งออกโดยลูกค้า SMEs ของ EXIM BANK ในราคาย่อมเยา |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมด้วยผู้บริหาร EXIM BANK ร่วมคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารกระทรวงการคลังและหน่วยงานในสังกัด นำโดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting : AFMGM+3) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ภายใต้หัวข้อ “Rebounding Asia : Recover, Reconnect and Reform” เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับมือกับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2566
ในโอกาสนี้ EXIM BANK เข้าร่วมหารือทวิภาคีกับหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
• ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (Sumitomo Mitsui Banking Corporation : SMBC) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือในการเป็นองค์กรการเงินเพื่อการส่งออก (Export Credit Agency : ECA) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK ในการเป็นผู้นำ ECA ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
• ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank of America) เกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดโลก และโอกาสในการสร้างพันธมิตรระหว่างกัน
• ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (Hongkong and Shanghai Banking Corporation Limited : HSBC) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเป็นไปได้ในการ
ร่วมมือกันออกพันธบัตรสีเขียว พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับ Carbon credit trading และการเป็น Clearing House และ Deforestation
• ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) เกี่ยวกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยและโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
พลังงานของไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้ EXIM BANK ในฐานะธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ดำเนินบทบาท “ซ่อม สร้าง เสริม สานพลัง” อย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน" |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง ผนึกกำลังสภาหอฯ สรท. กยท. กรุงไทย ธ.ก.ส. บสย.
และ CPAC ยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก |
|
|
 |
 |
 |
|
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขยายความร่วมมือโครงการยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา ระหว่าง ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สภาหอฯ) ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นายกิตติพัฒน์ เพียรธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดร.หลักชัย กิตติพล ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง และนายสุรชัย นิ่มละออ ประธานบริหารธุรกิจ กรีนโซลูชั่น บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน โดยจัดตั้งศูนย์บูรณาการอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ณ กระทรวงการคลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
|
|
 |
|
EXIM BANK ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนวิสาหกิจ 5 ปี (ปี 2567-2571) และแผนธุรกิจปี 2567 |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Strategic Meeting) โดยมีคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับฝ่ายของ EXIM BANK ร่วมระดมความคิดเห็นต่อร่างวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย เพื่อนำไปจัดทำแผนวิสาหกิจ 5 ปี (ปี 2567-2571) และแผนธุรกิจปี 2567 รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามทิศทางและนโยบายขับเคลื่อน EXIM BANK ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK พบปะหารือ จีพี กรุ๊ป สนับสนุนอุตสาหกรรมพาณิชยนาวีไทยเติบโตอย่างยั่งยืน |
|
|
 |
 |
 |
|
นายสุวัฒน์ กมลพนัส ประธานกรรมการบริหาร EXIM BANK พร้อมด้วย ดร.วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล กรรมการบริหาร EXIM BANK
และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พบปะหารือกับนายกิริต ชาห์ ประธานกรรมการบริหาร จีพี กรุ๊ป และ
นายคาลิด มอยนูดดิน ฮาซิม กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) (PSL) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ จีพี กรุ๊ป เพื่อรับฟังสถานการณ์และทิศทางของอุตสาหกรรมเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองและกฎหมายทางทะเล
ที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ รวมถึงหารือแนวทางสนับสนุนอุตสาหกรรมพาณิชยนาวีไทย โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนา
อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK ในการสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ณ สำนักงาน PSL เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2566
เดินหน้าบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม |
|
|
 |
 |
 |
 |
 |
|
EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2566 มีวงเงินอนุมัติใหม่ 10,252 ล้านบาท เป็นวงเงินลูกค้า SMEs 4,022 ล้านบาท สินเชื่อคงค้าง 161,568 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการลงทุน 119,018 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 42,992 ล้านบาท ฐานลูกค้าเติบโตขึ้นเป็น 6,191 ราย เพิ่มขึ้นถึง 23.28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นลูกค้า SMEs มากถึง 83.91% สะท้อนเป้าหมายบทบาทการเป็น ธนาคารเพื่อการพัฒนา และการสนับสนุนคนตัวเล็ก พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการแล้วประมาณ 24,000 ราย วงเงินรวมกว่า 91,200 ล้านบาท
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกปี 2566 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566) ภายใต้บทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank) ที่มุ่งสนับสนุนการพัฒนาประเทศควบคู่กับการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมว่า มีวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ 10,252 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 4,022 ล้านบาท และ EXIM BANK มีสินเชื่อคงค้าง 161,568 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,947 ล้านบาท หรือ 7.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการลงทุน 119,018 ล้านบาท อันเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน โลจิสติกส์ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และในการสนับสนุนตามนโยบายภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) และมียอดคงค้างสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 42,992 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 27% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด
EXIM BANK ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นธนาคารผู้นำ (Lead Bank) สานพลังกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อนำพาธุรกิจไทยขยายการค้าการลงทุนไปตลาดต่างประเทศ ทำให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศทั้งสิ้น 60,759 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นสินเชื่อคงค้างในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และ New Frontiers ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ EXIM BANK ให้การสนับสนุน จำนวน 50,182 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนกว่า 31% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด
นอกเหนือจากการให้สินเชื่อแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน EXIM BANK ยังเร่งเสริมสร้างความมั่นใจและภูมิคุ้มกันความเสี่ยงแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยผ่านบริการประกันการส่งออกและการลงทุน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 50,342 ล้านบาท
จากการมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านสินเชื่อและประกัน ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 EXIM BANK มีจำนวนลูกค้า 6,191 ราย เพิ่มขึ้นถึง 23.28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นลูกค้า SMEs มากถึง 83.91% สะท้อนการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและอยู่เคียงข้าง SMEs ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดย EXIM BANK ร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดตัว “สินเชื่อ One SMEs” เงินทุนหมุนเวียนทั้งก่อนและหลังการส่งออก เพื่อลดระยะเวลาการทำสินเชื่อ SMEs และ “คลินิก EXIM เพื่อคนตัวเล็ก” เพื่อตรวจสุขภาพทางการเงินและให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาธุรกิจอย่างครบวงจร โดยมีผู้เข้ารับคำปรึกษาจำนวน 670 ราย นอกจากนี้ ยังออก “สินเชื่อ EXIM Green Start” พัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรและใส่ใจในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง EXIM BANK เป็นธนาคารแรกที่ได้เริ่มปรับใช้ Thailand Taxonomy กับสินเชื่อ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของธนาคารในด้านการส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน ทั้งมิติความรู้ โอกาสทางธุรกิจ และเงินทุน เพื่อ “เติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน” ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นคงและเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคมของปี 2566 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการประมาณ 24,000 ราย ด้วยวงเงินรวมกว่า 91,200 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน EXIM BANK ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 5,168 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 เท่ากับ 3.20% และมีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 13,151 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) 254.45% ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 EXIM BANK มีกำไรก่อนสำรอง 678 ล้านบาท และกำไรสุทธิเท่ากับ 305 ล้านบาท
“ในปี 2566 EXIM BANK ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve และ BCG Economy) สอดรับกับนโยบายรัฐบาลและมาตรฐานสากล ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนต่อไป” ดร.รักษ์ กล่าว |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK คว้าคะแนนเต็ม ด้านการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 2 ปีซ้อน ในการประเมิน
ผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) |
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประกาศคะแนนประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ปี 2565 ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 2. การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ 3. การบริหารจัดการองค์กรทั้ง 8 ด้าน (Core Business Enablers) ซึ่ง EXIM BANK มีผลการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ที่โดดเด่น ได้รับคะแนนเต็ม 5.0000 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมีคะแนนรวมอยู่ที่ 4.3898 สูงเป็นลำดับที่ 6 จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 51 แห่ง
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท และทำหน้าที่อย่างแข็งขัน ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร วางแผนงานและแนวทางบริหารจัดการองค์กร โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนำพาองค์กรให้สามารถดำเนินภารกิจได้สำเร็จและมีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยในปี 2565 EXIM BANK ได้สร้างปาฏิหาริย์ (Miracle Maker) ในหลากหลายมิติ อาทิ ยอดคงค้างสินเชื่อ 168,331 ล้านบาท เติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่ธนาคารเปิดดำเนินงานในปี 2537 ปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกัน 169,338 ล้านบาท เติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน ยอดคงค้างสินเชื่อสนับสนุนความยั่งยืนและจำนวนลูกค้าทั้งธนาคารเติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน เป็นต้น
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย EXIM BANK ยังคงดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนและสร้างรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย ภายใต้บทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย“ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมการบุกตลาดการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพ สนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตในตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และ New Frontiers รวมทั้งยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยทุกระดับพร้อมที่จะเข้าสู่ Supply Chain การส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมสานพลังพันธมิตรทุกภาคส่วนเดินหน้าสร้างระบบนิเวศสีเขียว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมอาวุธให้ SMEs เป็นนักรบเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแกร่งด้วยการสนับสนุนแบบครบวงจร เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล จนได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย อาทิ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) ประจำปี 2565
“EXIM BANK กล้าที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีบทบาทมากขึ้นต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นในเป้าหมายที่จะ
ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เราจึงสร้างคนและทีมที่แข็งแกร่งที่จะ
ทำหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ปรับตัวและรับมือได้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากในชุมชนให้เชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK จับมือ BAY ส่งเสริมการค้าการลงทุนใน CLMVT |
|
|