 |
|
ประมาณการโอกาสเกิด Supply Chain Shock ซ้ำ |
|
|
 |
|
 |
|
ที่มา : McKinsey Global Institution |
|
|
 |
 |
|
จำนวนการจ้างงานของสหรัฐฯ ปี 2553-2565 |
|
|
 |
 |
|
ที่มา : Reshoring Initiative |
|
|
 |
 |
|
Reverse Merger & Acquisition Investment...ปลาใหม่กินปลาเก่า
อีกหนึ่งภูมิทัศน์ FDI ที่เริ่มเห็นชัดขึ้น นอกเหนือจากการเข้าไปลงทุนแบบ Greenfield หรือการลงทุนใหม่ คือ การเข้าไปทำ Merger & Acquisition (M&A) หรือการเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางลัดเพื่อขยายกิจการ ขยายตลาด และการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) โดยการลงทุนรูปแบบนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด สะท้อนจากในปี 2565 เม็ดเงิน Cross Border M&A (การลงทุนซื้อกิจการระหว่างประเทศ) เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ขณะที่เม็ดเงินต่อโครงการเฉลี่ยอยู่ที่ 171.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจาก 121.5 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 นอกจากนี้ มีข้อสังเกตสำคัญว่าการทำ M&A เริ่มสวนทางจากในอดีตที่บริษัทในกลุ่มประเทศตลาดหลักมักเป็นผู้ซื้อกิจการในประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Countries) แต่ในระยะหลังเริ่มเห็นสัญญาณการกลับทิศเป็นบริษัทในประเทศตลาดเกิดใหม่เข้าไปซื้อกิจการในประเทศตลาดหลักมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจตลาดหลักประสบภาวะซบเซาต่อเนื่อง โดย GDP Growth ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาของกลุ่มประเทศ G7 ขยายตัวต่ำเฉลี่ยเพียงปีละ 1.5% สวนทางกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ของเอเชียที่ขยายตัวสูงถึง 5.8% รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศตลาดเกิดใหม่หลายแห่งหันมาใช้กลยุทธ์ M&A เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือขยายฐานธุรกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้นำด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของเอเชียเข้าซื้อบริษัทเกมชื่อดังของยุโรป บริษัทโทรคมนาคมในตะวันออกกลางซื้อกิจการผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ของยุโรป และบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียใต้เข้าไปซื้อบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำของยุโรป เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น อีกหนึ่งแรงส่งที่ทำให้ M&A มีแนวโน้มเติบโตอีกมาก คือ หลายบริษัทหันมาปรับโมเดลธุรกิจใหม่ (Transformation) กระจายตลาด/Portfolio รวมถึงแตกไลน์ธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม (Cross-industry) เนื่องจากหลังเกิดวิกฤต COVID-19 หลายธุรกิจประสบกับปัญหาถูก Disruption ทำให้ต้องมองหาการลงทุนในธุรกิจใหม่มากขึ้น ไม่เพียงเพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจจากการกระจุกตัวอยู่ที่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากจนเกินไป แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น |
|
|
 |
|
มูลค่า Cross Border M&A ปี 2555-2565 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
|
Renewable Energy & Sustainable Investment…การลงทุนเพื่อโลกที่ยั่งยืน
ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ทุกภาคส่วนหันมาตระหนักและให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ทั่วโลกตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 ส่งผลให้ทิศทางการลงทุนของโลกเดินหน้าสู่ Green FDI อย่างชัดเจน สะท้อนจากโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเขียวเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดย Top10 โครงการ FDI ที่มีมูลค่าสูงสุดในปี 2565 เป็นโครงการด้านพลังงานหมุนเวียนถึง 6 โครงการ ยิ่งไปกว่านั้นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนก็มีแนวโน้มเติบโตสูง โดย Allied Market Research ประเมินว่าในช่วงปี 2565-2572 ตลาดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการของเสีย การปรับระบบไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงาน การปรับระบบการผลิตให้ลดการปล่อยมลพิษ เป็นต้น จะเติบโตสูงถึงเฉลี่ยปีละ 21% ขณะที่ IHS Markit คาดว่าภายในปี 2593 จะเกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจโลกถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ใกล้เคียงกับ GDP อินเดียในปัจจุบัน) จากการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนสู่ Net-zero Emission นอกจากนี้ มาตรการการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของหลายประเทศก็เข้มงวดขึ้น ทำให้หลังจากนี้โครงการ FDI ในทุกธุรกิจต้องคำนึงและให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความโปร่งใส (Environmental, Social, Governance) อย่างจริงจัง
|
|
|
 |
|
Top10 โครงการ FDI ที่มีมูลค่าลงทุนสูงสุด ปี 2565 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
|
กระแสลมที่เปลี่ยนทิศภูมิทัศน์ FDI โลกนับเป็นการนำพาโอกาสสู่ผู้ประกอบการไทยทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยแนวโน้ม
การย้ายฐานการลงทุนของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะ Friendshoring และ Nearshoring อาจเพิ่มโอกาส
ให้ไทยก้าวเป็นฐานการลงทุนแห่งใหม่ภายใต้การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติในฐานะพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่มีความโดดเด่น
และแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม ขณะที่การ Reshoring จะขยายโอกาสการค้าของไทย โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญและนานาประเทศต้องพึ่งพา ในส่วนของ M&A ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่นำพาธุรกิจไทยไป
สยายปีกในต่างแดนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ (Thailand Direct Investment : TDI)
ให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการไทยที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ
ก็สามารถใช้โอกาสจากกระแส Renewable Energy & Sustainable Investment ในการรุกธุรกิจสีเขียวที่กำลังเติบโตสูง ไม่เพียง
ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน แต่ยังสามารถนำคาร์บอนเครดิตส่วนเกินไปขายและช่วยผลักดันให้ภาพรวมตลาดคาร์บอนเครดิตโลก
เติบโตได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันการพัฒนา Ecosystem สีเขียวตลอด Supply Chain ของประเทศจะเป็นแม่เหล็กดึงดูด Green FDI
จากทั่วโลก ซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันประเทศให้ก้าวสู่ Net-zero Emission ได้ตามเป้าหมาย จะเห็นได้ว่า กระแสลมที่เปลี่ยนทิศในครั้งนี้
นับเป็นแรงส่งสำคัญให้ภาคการลงทุนของไทยมีโอกาสกลับมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต
อย่างมั่นคงแข็งแรงอีกครั้ง
|
|
|