รู้หรือไม่ ?
  นอกจากความหลากหลายทางด้าน Hard Sides (เช่น เศรษฐกิจ ขนาดตลาด และภูมิประเทศ) อินเดียยังมีความหลากหลาย
ทางด้าน Soft Sides (เช่น อาหาร ภาษา และวัฒนธรรม) ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค
 
  ผู้ส่งออกไทยควรทำความเข้าใจความหลากหลายของอินเดียในมิติต่างๆ เพื่อให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการรุกตลาด
อินเดียได้อย่างเหมาะสม
 
  อินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก  
  กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยกว่า 700 ชาติพันธุ์ (จากจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน)  
  ความแตกต่างของรายได้ในแต่ละพื้นที่ #4 ของโลก
 

ความแตกต่างสุดขั้วของภูมิอากาศและภูมิประเทศ
ตอนเหนือในพื้นที่ภูเขาสูงอุณหภูมิหนาวระดับติดลบ ทางตะวันตกมีทะเลทรายที่อุณหภูมิสูงกว่า 50°C
ทางใต้อากาศร้อนชื้น 

  ความหลากหลายด้าน Soft Sides ของอินเดีย  
  ภาคเหนือ นิยมรับประทานอาหารรสไม่จัด
  ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกนิยมบริโภคมังสวิรัติและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ตามความเชื่อทางศาสนา
  นิยมใส่มะเขือเทศ สีสันของอาหารจึงดูจัดจ้านแต่รสชาติไม่เผ็ด
  ประชาชนบางส่วนนำเนื้อแกะมาทำเป็นอาหารประเภทสตูหรือแกง เนื่องจากชาวอินเดียตอนเหนือบางส่วนเลี้ยงแกะ
  ภาคใต้และภาคตะวันออก นิยมรับประทานอาหารรสจัด เผ็ดร้อน
  นิยมใช้สัตว์น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร
  ใช้กะทิและพริกในการปรุงรสเป็นหลัก
  เป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศสำคัญ อาหารจึงมีรสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อน
  นิยมรับประทานข้าวบาสมาติเนื่องจากหลายพื้นที่เป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ โดยเฉพาะรัฐ West Bengal และ
Andhra Pradesh
  ประชาชนในภาคใต้และภาคตะวันออกนอกจากบริโภคมังสวิรัติแล้ว บางส่วนนิยมรับประทานเนื้อสัตว์ (ไก่และปลา)
เนื่องจากความพร้อมของวัตถุดิบ (พื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเล)
  ที่มา : ผลการสำรวจจาก Union Government’s Sample Registration System Baseline Survey 2014  
  ภาษา  
  อินเดียมีภาษามากกว่า 80 ภาษา โดยเฉพาะบางรัฐ เช่น รัฐ Punjab และ Tamil Nadu ประชาชนกว่า 80% ใช้ภาษาท้องถิ่นของ
ตนเองในการสื่อสารเป็นหลัก

ภาษาหลัก
    
ภาษาอังกฤษ
    
ภาษาฮินดี
 
  รัฐ Punjab

รัฐ West Bengal

รัฐ Tamil Nadu

รัฐ Gujarat
92% ใช้ภาษา Punjabi

85% ใช้ภาษา Bengali

89% ใช้ภาษา Tamil

84% ใช้ภาษา Gujarati
  ที่มา : Ministry of Minority Affairs, Government of India  
  เครื่องแต่งกายสตรี  
      ส่าหรีเป็นเครื่องแต่งกายที่สตรีอินเดียนิยมสวมใส่ในชีวิตประจำวันและเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา โดยผ้าและรูปแบบการนุ่งห่ม
ส่าหรีจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การแต่งกายสมัยใหม่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในเมือง Tier 1*
เช่น กรุงเดลี มุมไบ
 
      *เมือง Tier 1 เป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 4 ล้านคน
  แบรนด์ Modern Fast Fashion ระดับโลกอย่าง H&M และ ZARA เข้าไปรุกตลาด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปในอินเดียแล้ว
 
  ล่าสุด ปี 2561 ยอดขาย 40%
    19%
  สตรีในพื้นที่นอกเขตเมือง ส่วนใหญ่
ยังคงนิยมแต่งกายแบบดั้งเดิม ทั้งส่าหรี
และ Kurta (เสื้อแขนยาว ลำตัวเสื้อยาว
ถึงเอวหรือเข่า)
รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือหรือรัฐ 7 สาวน้อย
ส่วนใหญ่ใส่ชุดประจำท้องถิ่น ยกเว้น รัฐ Assam
ที่นิยมใส่ส่าหรี
  ส่าหรี Kurta  
  เทศกาลสำคัญ  
  ตัวอย่าง เทศกาลสำคัญของอินเดีย
     
  เทศกาลสำคัญที่
จัดในหลายรัฐ
Makar Sankrant
เทศกาลว่าว แสดงถึง
สัญลักษณ์ของการ
เปลี่ยนฤดู
Holi
คล้ายเทศกาลสงกรานต์
ของไทย แต่ใช้น้ำผสมสี
หรือผงสีสาดใส่กันแทน
  Durga Puja
เทศกาลบูชา
พระเทวีทุรคา
Diwali
เทศกาลปีใหม่
ของชาวฮินดู
       
  เทศกาลสำคัญที่
จัดเฉพาะบางรัฐ
เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว
   Lohri (รัฐ Punjab)
   Pongal (รัฐ Tamil Nadu)
  เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว
   Onam (รัฐ Kerala)
   
  ในช่วงเทศกาลสำคัญมักจะมีความต้องการสินค้าเฉพาะอย่างเพิ่มขึ้น เช่น เทศกาล Holi ผงสีจะขายดี
ขณะที่เทศกาล Durga Puja ดอกบัวมักจะขายดี
 
            ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาคของอินเดีย ทำให้การเลือกพื้นที่ในการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ
ที่นักธุรกิจไทยต้องคำนึงถึง

          มองแต่ละรัฐเสมือนเป็นหนึ่งประเทศ
          อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ หลายรัฐมีประชากรมากกว่าไทย (69 ล้านคน) เช่น Uttar Pradesh (225 ล้านคน)
Maharashtra (120 ล้านคน)
  ความหลากหลายด้านการบริโภคอาหาร
ผู้ส่งออกไทยกลุ่มสินค้าอาหารและเนื้อสัตว์ควรพิจารณาเลือกรัฐและพื้นที่ในการเจาะตลาดให้เหมาะสม
  ความหลากหลายด้านเครื่องแต่งกายสตรี
ผู้ส่งออกไทยในกลุ่มสินค้า Fast Fashion และเสื้อผ้าสำเร็จรูปสามารถเจาะตลาดอินเดีย โดยเฉพาะเมือง Tier 1
  ความหลากหลายด้านภาษา
ผู้ประกอบการไทยควรมีคู่ค้า/พันธมิตรท้องถิ่นที่เข้าใจภาษา วัฒนธรรม และสามารถเจรจาธุรกิจในแต่ละพื้นที่ได้
  ความหลากหลายด้านเทศกาลสำคัญ
เป็นโอกาสในการส่งออกสินค้าตามเทศกาลสำคัญของอินเดีย เช่น ผงสี ในช่วงเทศกาล Holi (มี.ค.)
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  หน้าหลัก   I   Share โลกเศรษฐกิจ   I   เปิดประตูสู่ตลาดใหม่   I    รู้ทันเกมการค้า 
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ   I   แวดวงคู่ค้า   I   แนะนำบริการ   I   สรุปข่าว