รู้หรือไม่ ?
• ในปี 2559 รัฐบาลแทนซาเนียประกาศให้กรุงโดโดมาเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แทนเมืองดาร์ เอส ซาลาม
• เมืองดาร์ เอส ซาลาม จะถูกยกระดับให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในฐานะ “ดูไบแห่งแอฟริกาตะวันออก”
• การย้ายเมืองหลวงจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนใหม่ในแทนซาเนียไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  แทนซาเนีย (Tanzania)  
  ทวีป : แอฟริกา (บริเวณตะวันออก)
  เมืองสำคัญ : โดโดมา (เมืองหลวง) ดาร์ เอส ซาลาม (เมืองหลวงเก่า/เมืองท่าและเมืองเศรษฐกิจสำคัญ)
  พื้นที่ : 947,300 ตร.กม.
  ประชากร : 51 ล้านคน (ปี 2561)
  ภาษาราชการ : อังกฤษ, สวาฮีลี
  สกุลเงิน : ชิลลิงแทนซาเนีย (TZS) 1 USD = 2,287 TZS (ณ ส.ค. 2561)
  ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
  ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2560
- GDP : 51,725 Mil.USD
- มูลค่านำเข้ารวมของแทนซาเนีย : 8,831 Mil.USD
- มูลค่าส่งออกไทยไปแทนซาเนีย : 108 Mil.USD
- สินค้าส่งออกสำคัญไทยไปแทนซาเนีย : ข้าว เหล็กและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย เครื่องสำอาง
- สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย (สคต.) : ไม่มี
  (สอท. และ สคต. ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เป็นผู้ดูแล)
  ทำไมแทนซาเนียต้องย้ายเมืองหลวง?
  “สถาปนาเมืองหลวงใหม่”
ประธานาธิบดี Mwalimu Julius Kambarage Nyerere เป็นผู้ริเริ่มการย้ายเมืองหลวงจากเมืองดาร์ เอส ซาลาม
มายังกรุงโดโดมา ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ข้อ
  “Strategic Location”
กรุงโดโดมาตั้งอยู่ใจกลางประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถดูแล ควบคุม และเข้าถึงเมืองต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
  “Government Center”
ปรับปรุงการบริหารจัดการให้ชัดเจนโดยแยกเมืองราชการและเมืองเศรษฐกิจออกจากกัน
  “Environmental Solutions”
ลดปัญหาความหนาแน่นของประชากรและการจราจร รวมถึงปัญหามลภาวะในเมืองดาร์ เอส ซาลาม
 
  • งบประมาณไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายสำหรับการย้ายเมืองหลวงสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ความไม่พร้อมของระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของกรุงโดโดมา
  “ประกาศย้ายเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ”
ประธานาธิบดี John Magufuli ของแทนซาเนียคนปัจจุบัน ประกาศสานต่อการย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง
หลังจากได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศพันธมิตร เช่น จีน
  คาดว่ากระบวนการย้ายเมืองหลวงและหน่วยงานราชการต่างๆ มายังกรุงโดโดมาจะเสร็จสมบูรณ์
  BUSINESS OPPORTUNITIES : กรุงโดโดมา “เมืองหลวงแห่งใหม่ของแทนซาเนีย”
          การย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกมาก ผ่านโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ตลอดจน
การพัฒนาระบบสาธารณูปโภครอบเมือง และคาดว่าโครงการสร้างเมืองหลวงใหม่จะกระตุ้นให้ภาคการก่อสร้างเพิ่มสัดส่วนเป็น 30%
ต่อ GDP จาก 24% ในปัจจุบัน
  ตัวอย่างโครงการสำคัญในการพัฒนากรุงโดโดมา  
  ระบบสายส่งไฟฟ้าจากเมือง Chalinz-กรุงโดโดมา 400 kV ความยาว 350 กม.
(62 Mil.USD)
  ท่าอากาศยานนานาชาติ Msalato (1,500 Mil.USD)
  ที่อยู่อาศัยของข้าราชการจำนวน 500 ยูนิต
  ระบบน้ำประปาในกรุงโดโดมาและพื้นที่โดยรอบ (229 Mil.USD)
  ถนนวงแหวนรอบเมือง (207 Mil.USD)  
  ที่มา : Tanzania National Development Plan 2016/17-2020/21, Centre for Aviation, Tanzania Procurement Journal
และรวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK
  หน่วยงานสำคัญที่ย้ายที่ทำการไปกรุงโดโดมาแล้ว  
  • รองประธานาธิบดี และข้าราชการบางส่วนกว่า 3,000 ราย
• กระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงเหมืองแร่ กระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลังและวางแผน
  ข้อสังเกต รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดสรรพื้นที่ในกรุงโดโดมารองรับการย้ายที่ทำการขององค์กรระหว่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ
ในแทนซาเนีย
  หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ คือ มูลค่านำเข้าของ
แทนซาเนียปี 2560
  BUSINESS OPPORTUNITIES : เมืองดาร์ เอส ซาลาม “ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแทนซาเนีย”
          แทนซาเนียมีแผนยกระดับเมืองดาร์ เอส ซาลาม ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งตั้งเป้าให้เป็นดูไบแห่ง
แอฟริกาตะวันออก
โดยขับเคลื่อนผ่านโครงการ Dar es Salaam Metropolitan Development Project ปี 2558-2563 อาทิ เส้นทาง
คมนาคมขนส่ง ระบบการระบายน้ำ และระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลแทนซาเนียยังมีแผนพัฒนาสนามบิน
และขยายท่าเรือในเมืองดาร์ เอส ซาลาม เป็นต้น
  ตัวอย่างโครงการสำคัญในการยกระดับเมืองดาร์ เอส ซาลาม สู่ดูไบแห่งแอฟริกาตะวันออก  
  การขยายท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม
(460 Mil.USD)
  ระบบน้ำประปา
(217 Mil.USD)
  โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน
(176 Mil.USD)
  การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง
(451 Mil.USD)
  การขยายท่าอากาศยานนานาชาติ Julius Nyerere International Airport
(300 Mil.USD)
  ที่มา : Tanzania National Development Plan 2016/17-2020/21, World Bank, Reuters
และรวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK
  ตัวอย่างบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในเมืองดาร์ เอส ซาลาม  
  ข้อสังเกต รัฐบาลแทนซาเนียเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพื่อยกระดับท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม หลังจากประเทศ
เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเคนยา โมซัมบิกต่างแข่งขันกันเป็นศูนย์กลางแห่งแอฟริกาตะวันออก ล่าสุดเคนยาที่นอกจาก
พัฒนาท่าเรือมอมบาซาแล้ว ยังมีโครงการท่าเรือลามูภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ด้วย
  ปริมาณขนส่งสินค้า เคนยา : ท่าเรือมอมบาซา 22 ล้านตัน (ม.ค.-ก.ย. 2560)
  แทนซาเนีย : ท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม 14 ล้านตัน (ปี 2560)
  โมซัมบิก : ท่าเรือมาปูโต 18 ล้านตัน (ปี 2560)
  หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ คือ มูลค่านำเข้าของแทนซาเนีย
ปี 2560
  ปัจจุบัน แทนซาเนียนำเข้าสินค้าจากไทยยังไม่สูงนักเพียง 107 Mil.USD หรือราว 1.2% ของมูลค่านำเข้ารวม อย่างไรก็ตาม
โครงการย้ายเมืองหลวงจะกระตุ้นความต้องการนำเข้าสินค้าอีกมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ส่งออกไทยในระยะถัดไป
  ที่มา : IMF, UN, International Trade Centre
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  หน้าหลัก   I   Share โลกเศรษฐกิจ   I   เปิดประตูสู่ตลาดใหม่   I   รู้ทันเกมการค้า
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ   I   CEO Talk   I   แวดวงคู่ค้า   I   แนะนำบริการ  I   สรุปข่าว