 |
 |
 |
 |
|
กระแสความนิยมใส่ใจดูแลสัตว์เลี้ยงราวกับสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้ตลาดสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเงา
ตามตัว สอดคล้องกับรายงานของ Euromonitor หน่วยงานวิจัยตลาดชั้นนำของโลกที่ประเมินว่าในปี 2560 ตลาดสินค้าสำหรับ
สัตว์เลี้ยง (Pet Care) ทั่วโลกมีมูลค่า 109.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Food) มีมูลค่าตลาดมากที่สุดถึง 80.2
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (Pet Products) อาทิ ทรายแมว อาหารเสริมและยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์
ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงต่างๆ (กรง เบาะ ที่นอน ฯลฯ) มีมูลค่า 29.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
|
|
 |
|
มูลค่าตลาดสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงของโลกปี 2560 |
|
|
 |
|
 |
 |
|
ด้วยพฤติกรรมการใส่ใจดูแลสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น กอปรกับผู้บริโภคมีช่องทางการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายขึ้น และการมี
นวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการเฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ล้วนส่งผลให้ตลาดสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงปรับโฉม
ไปตลอดหลายปีที่ผ่านมา ส่องเทรนด์โลกฉบับนี้จึงได้รวบรวมแนวโน้มตลาดสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงของโลกที่น่าสนใจในปัจจุบัน ดังนี้
• อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงสูงอายุและสัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักเกินกำลังเป็นที่ต้องการ เช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น สัตว์เลี้ยงก็มีชีวิตยืนยาวขึ้น และจำนวนสัตว์เลี้ยงสูงอายุก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน มีการประมาณว่าในปี 2560 อาหารสุนัข
และแมวที่จำหน่ายในญี่ปุ่นถึง 42%-50% เป็นอาหารสำหรับสุนัขและแมวสูงอายุ ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมากเหล่านี้มีความต้องการ
อาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Functional Food) เพื่อเสริมการทำงานที่สำคัญในร่างกาย อาทิ การย่อยอาหาร การเคลื่อนไหว รวมถึง
การรับรู้และความจำ นอกจากนี้ ปัญหาน้ำหนักเกินในสัตว์เลี้ยงก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความสำคัญ อาหารสัตว์เลี้ยง
ที่มีแคลอรี่ต่ำสำหรับควบคุมน้ำหนัก หรืออาหารสัตว์เลี้ยงในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเหมาะกับแต่ละมื้อเพื่อควบคุมปริมาณอาหาร
จึงเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยเช่นกัน |
|
|
 |
|
สัดส่วนอาหารสัตว์เลี้ยงพรีเมียมต่อมูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงรวมในปี 2560 |
|
|
 |
|
 |
 |
|
• สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงเกรดพรีเมียมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แม้จำนวนการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงทั่วโลกจะขยายตัวไม่มากนัก แต่มูลค่าตลาดสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงกลับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงยินดีเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี
แม้มีราคาสูงให้แก่สัตว์เลี้ยงของตน ส่วนหนึ่งเนื่องจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงรักและปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงเสมือนเป็นสมาชิกของครอบครัว
จึงไม่ได้มองหาแค่เพียง “สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าทั่วไป” แต่มองหา “สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพดี
ในระดับเดียวกับที่มนุษย์ใช้” แนวคิดดังกล่าวปรากฏชัดในอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีการพัฒนาสูตรต่างๆ และเลือกใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย
และมีคุณภาพสูง อาทิ อาหารที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ (Natural) อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze-dried) ซึ่งจะช่วยคงคุณค่าทางอาหาร ทำให้อาหารแห้งที่ได้มีคุณภาพสูง มีการคืนตัว (Rehydration) ที่ดี รักษาสี กลิ่น รสชาติ และ
เนื้อสัมผัสของอาหารได้ดีเมื่อเทียบกับการทำให้แห้งโดยวิธีอื่น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ
ก่อให้เกิดอาการแพ้ในสัตว์เลี้ยง ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีส่วนผสมของสีหรือกลิ่นที่เป็นสารสังเคราะห์ (No artificial colors or flavors) ไม่มีส่วนผสมของธัญพืช (Grain-free) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพ้ ไม่ใช้วัตถุดิบที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (Non-GMOs) ซึ่งในระยะหลัง “ความพรีเมียม” เหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในอาหารมื้อหลักเท่านั้น แต่ยังส่งผ่านไปถึงอาหารกินเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง (Treats) ที่เลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงและมีการนำสารอาหารต่างๆ เข้ามาเพิ่มคุณสมบัติ เช่น การเสริม Omega 3 และ 6 หรือการเพิ่มสาร DHA ทั้งนี้ นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ข้างต้นแล้ว อาหารพรีเมียมของแมวยังมักจะเน้นที่ความหลากหลายของรสชาติ เนื้อสัมผัส และความ
อร่อยเป็นหลักอีกด้วย
นอกเหนือจากอาหารสัตว์เลี้ยงแล้ว แนวคิดการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงเสมือนเป็นมนุษย์ยังครอบคลุมไปถึงการดูแลสัตว์เลี้ยง
ในด้านต่างๆ ทั้งการทำความสะอาด ตัดแต่งขน การแต่งกาย การดูแลด้านความงาม และของเล่น ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะ
คนรุ่นใหม่ยินดีและเต็มใจจะจ่ายเพื่อสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของตน
• การค้าออนไลน์กลายเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่สำคัญมากขึ้น การที่ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าถึง
อินเทอร์เน็ตมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เปลี่ยนไป ไม่เว้นแม้กระทั่งการเลือกซื้อสินค้า
สำหรับสัตว์เลี้ยง จากเดิมที่การซื้อสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางออนไลน์ไม่เป็นที่นิยมนักในหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
ในสหรัฐฯ ที่ยอดจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพียง 2.8% ในปี 2555 แต่ความนิยมสั่งซื้อ
อาหารสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นช่องทางที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึงเฉลี่ย 20% ต่อปี ทำให้
สัดส่วนยอดจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 6.2% ในปี 2560 |
|
|
 |
 |
|
เดิมเจ้าของสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ ไม่นิยมซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านทาง
อินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก จึงมีค่าขนส่งค่อนข้างสูง
ประกอบกับประชากรในสหรัฐฯ มีอัตราครอบครองรถยนต์สูง
อีกทั้งสหรัฐฯ มีเครือข่ายค้าปลีกที่แข็งแกร่ง เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่
จึงนิยมไปซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงด้วยตนเองจากซูเปอร์มาร์เก็ตและ
ห้างจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Superstore) |
|
|
 |
 |
 |
|
ทั้งนี้ ความนิยมในการซื้อขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง ทางอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ทำให้สมรภูมิ
การค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงมักไปซื้ออาหารสัตว์เลี้ยง
แบรนด์ทั่วไป (Mass) จากซูเปอร์มาร์เก็ต และซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงแบรนด์พรีเมียมจากร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะสำหรับสัตว์เลี้ยง
(Pet Speciality Retailer) อย่างห้างจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Superstore) หรือร้านจำหน่ายสัตว์เลี้ยง (Pet Store)
ซึ่งมักมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ หรือมีบริการอื่นๆ เช่น บริการอาบน้ำและตัดแต่งขน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง
จากการไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปให้แก่ทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง แต่ปัจจุบันเว็บไซต์ E-commerce สำหรับสินค้าสัตว์เลี้ยง
ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น อาทิ Chewy.com ซึ่งมีบริการที่สะดวกสบายอย่างยิ่งสำหรับลูกค้าที่เป็นสมาชิก โดยจะตัดบัญชีและจัดส่ง
อาหารสัตว์เลี้ยงตามปริมาณที่ลูกค้ากำหนดไว้มาให้เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ เว็บไซต์ Chewy.com ยังสร้างความประทับใจ
แก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิก โดยการส่งการ์ดในวันสำคัญต่างๆ การ์ดแสดงความเสียใจเมื่อสัตว์เลี้ยงที่ลงทะเบียนไว้เสียชีวิต หรือแม้กระทั่ง
ส่งภาพวาดสีน้ำของสัตว์เลี้ยงที่ลงทะเบียนไว้ จึงยิ่งเป็นการสร้างความผูกพันกับลูกค้า
สำหรับในประเทศอื่น พบว่าช่องทางการค้าออนไลน์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน อาทิ จีน ที่ยอดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับ
สัตว์เลี้ยงทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก 5.8% ในปี 2555 เป็น 38% ในปี 2560 โดยแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงชั้นนำที่จำหน่ายในจีน
ต่างมีร้านค้าของตนในเว็บ Tmall ซึ่งเป็นเว็บไซต์ E-commerce ที่สำคัญเว็บไซต์หนึ่งของจีน |
|
|
 |
 |
|
การทวีความสำคัญขึ้นของช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ทำให้ในที่สุด
เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Pet Smart
ได้เข้าซื้อกิจการของ Chewy.com เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่าย
สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านอินเทอร์เน็ตของตนเอง |
|
|
 |
 |
 |
|
สำหรับประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 1,400
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 แม้ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยจะไม่ได้ผลิตสินค้าในแบรนด์ของตนเองทั้งหมด แต่การเข้าใจ
ทิศทางตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของโลก ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสินค้าของตนให้สอดรับกับความต้องการของ
แบรนด์ผู้ซื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งในการเป็น OEM รวมทั้งเปิดทางให้สามารถพัฒนาแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ
ในระดับโลกได้ในที่สุด |
|
|
 |
 |
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์
ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ
ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
|
|
|
|