วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง  
  EXIM BANK ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรกับผู้บริหารกระทรวงการคลัง
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2562
 
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรกับผู้บริหารกระทรวง
การคลังและหน่วยงานในสังกัด เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 87 พรรษา 12 สิงหาคม 2562 ณ กระทรวงการคลัง
เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK จัดพิธีลงนามถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2562
 
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นําคณะผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK
ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2562 ณ EXIM
BANK สํานักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2562
 
         นายสมควร สมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ EXIM BANK ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและ
ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 87 พรรษา 12 สิงหาคม 2562 ณ สำนักงานเขตพญาไท เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK ชี้สินค้าไทยบนนวัตกรรมเป็นความหวังขับเคลื่อนส่งออกโต
ผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ต้องบุกตลาดใหม่ขยายฐานลูกค้าและตอบโจทย์ความยั่งยืน
 
            EXIM BANK ชี้ส่งออกไทยครึ่งหลังปี 2562 มีความหวังอยู่ในกลุ่มสินค้าไทยที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่ยอมรับ
ในตลาดโลกประกอบกับกลยุทธ์กระจายตลาดไปยังตลาดใหม่และพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ยุคใหม่ ขณะที่ EXIM BANK เร่งสนับสนุนผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ให้เริ่มต้นและขยายธุรกิจได้มากขึ้น โดยเงินให้สินเชื่อ
คงค้างแก่ลูกค้า SMEs โตก้าวกระโดด 69% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งการ
บ่มเพาะผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่ได้มากขึ้น


          นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2562 มูลค่าส่งออกของไทยหดตัวถึง 2.9%
เป็นผลของสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อระหว่างสหรัฐฯ-จีน ทำให้สินค้าส่งออกของไทยในห่วงโซ่การผลิตและพึ่งพาตลาดจีนสูงหดตัว
ต่อเนื่อง อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก จากสถานการณ์ดังกล่าว หลายหน่วยงานรวมทั้ง EXIM BANK
ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของมูลค่าส่งออกของไทยในปี 2562 โดยคาดว่าจะขยายตัว 0.2%

          การส่งออกของไทยในครึ่งหลังปี 2562 มีความหวังอยู่ในกลุ่มสินค้าดาวรุ่ง ที่มีมูลค่าส่งออกขยายตัวสูงต่อเนื่องในช่วง
หลายปีที่ผ่านมาท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอาหารแปรรูป ผักและผลไม้
เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง ขณะเดียวกันหลายสินค้าก็ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่ช่วยประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์
ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อาทิ อาหาร สมุนไพร และของใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมี กลุ่มสินค้าที่ได้อานิสงส์จาก
สงครามการค้า
โดยสินค้าไทยที่ผลิตคล้ายกับสินค้าจีนสามารถแทรกตัวเข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ อาทิ ยางล้อ ของเล่น
เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

          ขณะเดียวกัน ยังมีกลุ่มสินค้าที่แข่งขันได้ในระยะสั้น เนื่องจากการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย เพื่อลดผลกระทบของสงคราม
การค้า อาทิ กลุ่มสินค้าที่หนีไปตลาดหลบภัย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของจีน ซึ่งผู้ประกอบการไทยปรับตัวได้
ค่อนข้างดีโดยการหาตลาดหลบภัยเพื่อทดแทนตลาดจีนที่หดตัว เช่น คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ขยายตัวสูงในตลาดอินเดีย
เม็กซิโก เวียดนาม แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวสูงในตลาดเม็กซิโก เบลเยียม รวมถึงไม้และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวสูงในตลาด CLMV
(กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อินเดีย ซึ่งแม้ว่าการส่งออกไปตลาดเหล่านี้จะไม่สามารถชดเชยตลาดจีนได้ทั้งหมด
แต่ก็สามารถบรรเทาผลกระทบและช่วยพยุงการส่งออกของไทยได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่ามีสินค้าบางกลุ่มที่
ตอบโจทย์ความต้องการเดิมในตลาดใหม่ๆ ได้
นับเป็นการชดเชยตลาดส่งออกเดิมที่ชะลอลง เช่น การส่งออกยางพาราที่หดตัว
จากความต้องการของจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของไทยชะลอลง แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดอื่น อาทิ ยุโรปตะวันออก
แคนาดา แต่ในอนาคตยางพาราไทยต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้แข่งขันได้ในระยะยาว รถยนต์และส่วนประกอบ
ไปออสเตรเลียซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยที่หดตัว แต่การส่งออกไปตลาด CLMV และอินเดียกลับขยายตัวสูงจากชนชั้นกลาง
ที่เพิ่มขึ้นและความต้องการรถยนต์ใช้น้ำมันที่ยังมีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวสินค้าไทยต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตหรือ
นวัตกรรมเข้ามาพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
อาทิ กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้
ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และเคมีภัณฑ์ชีวภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

          อีกหนึ่งเครื่องยนต์ที่จะเข้ามาประคับประคองการส่งออกสินค้าของไทยได้เป็นอย่างดี คือ การส่งออกบริการ ที่ไม่เพียง
ภาคการท่องเที่ยวที่ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกทั้งในแง่ของรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ไทยยังมีภาคบริการอื่นๆ
ที่มีศักยภาพและเติบโตได้ดีไม่แพ้กัน อาทิ การก่อสร้าง โลจิสติกส์ และธุรกิจนันทนาการ ที่ผู้ประกอบการไทยเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยต่อยอดการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องได้อีกช่องทางหนึ่ง

          นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อไปว่า EXIM BANK เร่งสนับสนุนผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ให้เริ่มต้นและขยายธุรกิจได้มากขึ้น โดยเงิน
ให้สินเชื่อคงค้างแก่ลูกค้า SMEs โตก้าวกระโดดจาก 22,930 ล้านบาทในปี 2557 เป็น 38,834 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562
เพิ่มขึ้น 69% ในรอบ 5 ปี และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 17.79% โดยจำนวนเงินให้สินเชื่อคงค้างของ EXIM BANK
ทั้งหมดในช่วงครึ่งแรกปี 2562 อยู่ที่ 107,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,706 ล้านบาท หรือ 11.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกิด
ปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 94,750 ล้านบาท โดยเป็นปริมาณธุรกิจ SMEs 52,953 ล้านบาท ทั้งนี้ มีผู้ส่งออก SMEs เข้าถึง
บริการของ EXIM BANK เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นสัดส่วน 12.48% ของผู้ส่งออก SMEs ทั้งประเทศ สอดคล้องกับจำนวนลูกค้า
SMEs ที่เพิ่มขึ้นโดยเป็นผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่ได้มากขึ้น

          ปัจจุบัน EXIM BANK มีวงเงินที่ให้การสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 86,024 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ
คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 41,330 ล้านบาท และมีเงินให้สินเชื่อคงค้างเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้า
และการลงทุนไป CLMV จำนวน 30,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,338 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          นอกเหนือจากเงินทุน EXIM BANK ได้ให้บริการประกันการส่งออก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมั่นใจที่จะบุกตลาดใหม่หรือ
ขยายการส่งออกมากขึ้น ในครึ่งแรกปี 2562 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุน
53,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,153 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs จำนวน 11,487
ล้านบาท หรือ 21.56% ของปริมาณธุรกิจสะสมรวม

          ผลการดำเนินงานโดยรวมของ EXIM BANK ในครึ่งแรกปี 2562 EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 523 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อ
ด้อยคุณภาพของธนาคาร (NPLs Ratio) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ 4.26% โดยมี NPLs จำนวน 4,566 ล้านบาท และมี
เงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 10,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,318 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสำรองหนี้
พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 6,167 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรองหนี้พึงกัน
162.58% ทำให้ EXIM BANK ยังคงดำรงฐานะการเงินที่มั่นคง

          “ปัจจุบันการส่งออกของไทยอาจหดตัวลง แต่ยังมีภูมิต้านทานที่ดีกว่าคู่แข่งหลายประเทศ เพราะอัตลักษณ์ความเป็นไทยมีชื่อเสียง
ในระดับโลก ทำให้สินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการอีกมากในต่างประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่
เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก ผู้ส่งออกไทยต้องทันข่าวสาร ปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบสนองหรือชี้นำผู้บริโภคได้ เพื่อการทำตลาด
อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน EXIM BANK พร้อมให้การสนับสนุนผู้ส่งออกสินค้าและบริการของไทย รวมทั้งผู้ส่งออกทางอ้อม
ในซัพพลายเชน ทั้งด้านคำปรึกษา เครื่องมือทางการเงินและเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่จะช่วยให้สินค้าไทยขยายตลาดไปยังผู้มี
กำลังซื้อทั้งในตลาดใหม่และตลาดเดิมได้ นำมาสู่การพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนแม้ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน” นายพิศิษฐ์กล่าว
  EXIM BANK ออกมาตรการ “EXIM เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออกไทย” ให้เงินกู้ระยะยาว 3 ปี
พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดในระบบธนาคารเหลือ 6.125% ต่อปี
 
            EXIM BANK ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องผู้ส่งออก พร้อมให้เงินกู้ระยะยาว 3 ปีแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก
เศรษฐกิจโลกมียอดขายหดตัว 15% ขึ้นไป ในอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ที่ปรับลดแล้วเหลือ 6.125% ต่อปี เพื่อช่วย
แบ่งเบาภาระต้นทุนลูกค้าทั่วไปและ SMEs หวังดันส่งออกไทยปี 2562 โตตามเป้าหมาย


          นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุน
การส่งออก การนำเข้า และการลงทุน EXIM BANK เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs
ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการในระบบ สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจได้ท่ามกลางภาวะค่าเงินบาทผันผวนและเศรษฐกิจโลก
ยังไม่มีความแน่นอน จึงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่ง EXIM BANKใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่า
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.125% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในระบบธนาคารขณะนี้
เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

          นอกจากนี้ EXIM BANK ได้ออกมาตรการ “EXIM เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออกไทย” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้า
ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของภาคการส่งออกไทยในครึ่งแรกของปี 2562 โดย EXIM BANK จะสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว 3 ปี
วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเท่ากับ 6.125% ต่อปี ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น 1 ปี ใช้หนังสือค้ำประกัน
ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันได้ สำหรับลูกค้าที่มียอดขายลดลง 15% ขึ้นไป เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยมีเป้าหมายวงเงิน 2,000 ล้านบาท

          “EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน
เป็นเครื่องมือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย มีสภาพคล่องและ
ศักยภาพที่แข่งขันได้อย่างไม่สะดุด ท่ามกลางความท้าทายและโอกาสที่มีอยู่อีกมากในตลาดโลก” นายพิศิษฐ์กล่าว
  EXIM BANK พัฒนาบริการใหม่ “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย”
ผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์และเชนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะ CLMV
 
 

          นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวในงานสัมมนา “พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยก้าวสู่สากล” จัดโดย
EXIM BANK ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบันแฟรนไชส์แบรนด์ไทย
ในต่างประเทศมีจำนวน 49 แบรนด์ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นการศึกษาและนวดสปา โดย 80%
ของแฟรนไชส์ไทยขยายเข้าสู่ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เป็นผลจากความได้เปรียบของไทยที่มี
ความคล้ายคลึงทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาธุรกิจบริการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
ในแถบนี้ได้ดี ประกอบกับ CLMV มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี ส่งผลให้ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่อปีและกำลังซื้อ
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 5 ปีนับจากนี้เศรษฐกิจ CLMV จะขยายตัวเฉลี่ยกว่า 6% ต่อปี สูงกว่าการขยายตัวของ
เศรษฐกิจโลกเกือบเท่าตัว กำลังซื้อของประชากรใน CLMV จะเพิ่มขึ้นอีก 30% ในปี 2566 ขณะที่การผลิตสินค้าและบริการภายใน
ประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า จากโอกาสทางธุรกิจของแฟรนไชส์ไทยที่ยังขยายตัวได้อีกมากในตลาดต่างประเทศ
EXIM BANK จึงได้พัฒนาบริการใหม่ “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย (Loan for Thai Franchise/Thai Chain
Buyers)” เป็นวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/เชน อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ
สกุลดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ LIBOR +3.50 % ต่อปี หรือสกุลบาทเท่ากับ Prime Rate ต่อปี (ปัจจุบันอยู่ที่ 6.125% ต่อปี) หลักประกัน
พิจารณาตามความเหมาะสม มีเป้าหมายวงเงินอนุมัติรวม 800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อ
แฟรนไชส์ไทยไปเปิดให้บริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ

          นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อไปว่า ในการขยายตลาดแฟรนไชส์ไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องพัฒนาธุรกิจและบริการภายใต้
แบรนด์ของไทยให้ตอบสนองความต้องการใหม่จากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดต่างๆ ได้ กล่าวคือ สามารถตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคและนักธุรกิจรุ่นใหม่ ทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่เข้าไปทำงานใน CLMV รวมถึงนักท่องเที่ยว
ต่างชาติซึ่งคาดหวังบริการที่ดีและได้มาตรฐาน ศึกษาโอกาสและกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ
ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถือและมี
ความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ ขณะเดียวกันต้องบริหารซัพพลายเชนของตนเองให้แข็งแกร่ง
สามารถบริหารจัดการต้นทุนด้านวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ การแปรรูปสินค้า และโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          “การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ใน CLMV เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยอาศัยความได้เปรียบจากความรู้จัก
คุ้นเคยสินค้าแบรนด์ไทยจากสื่อต่างๆ ที่ผู้บริโภคใน CLMV ติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำ และใช้ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง
บริหารจัดการธุรกิจอย่างใกล้ชิด สร้างชื่อเสียงของสินค้าและบริการของไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลในราคาที่ผู้ซื้อจับต้องได้
โดยมีสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ใน CLM (กัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมา) ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ภายใต้ทีมไทยแลนด์
สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจแฟรนไชส์ได้มากขึ้น จากปัจจุบันที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยจำนวนกว่า 584 กิจการ
และมีสาขากว่า 100,000 สาขาทั่วประเทศ” นายพิศิษฐ์กล่าว

  EXIM BANK เปิดบริการใหม่ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน”
เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
 
             BANK ร่วมกับ สปส. เสริมสภาพคล่องสถานประกอบการที่อยู่ในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะ
ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยสนับสนุน “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” เสริมสภาพคล่องให้ผู้มีศักยภาพที่จะรักษา
การจ้างงาน รวมทั้งเพิ่มค่าจ้างแรงงานได้มากขึ้น นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับสินค้าไทยตามมาตรฐาน
สากล โดยสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

          นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการ
จ้างงานในสถานประกอบการที่อยู่ในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม จึงดำเนิน “โครงการสินเชื่อ
เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยออกบริการใหม่ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน”
เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพที่จะรักษาการจ้างงาน รวมทั้งเพิ่มค่าจ้างแรงงานได้มากขึ้น ช่วยเสริมสภาพคล่องในธุรกิจ สามารถ
ผลิตหรือส่งออกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้กู้จะต้องเป็นสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับ สปส. ซึ่งจะได้รับการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้
ระยะกลางและระยะยาวสูงสุด 15 ล้านบาท แบ่งเป็น
          1. “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน Serie 1 (EXIM Loan for EmploymentCredit Serie 1)” เงินกู้ระยะเวลา
3 ปี อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ปีที่ 1-3 อยู่ที่ 3% ต่อปี
          2. “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน Serie 2 (EXIM Loan for Employment Credit Serie 2)” เงินกู้ระยะเวลา
7 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 3% ต่อปี ปีที่ 4-7 อยู่ที่ 5% ต่อปี
          ระยะเวลาอนุมัติบริการตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2562 เป้าหมายอนุมัติวงเงินรวม 2,500 ล้านบาท

          “EXIM BANK เดินหน้าขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้า
อันจะนำไปสู่มาตรฐานสินค้าไทยที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเป้าหมายของ EXIM BANK
ที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และการลงทุนระหว่างประเทศของไทยอย่างยั่งยืน” นายพิศิษฐ์กล่าว
  EXIM BANK จัดโครงการ CSR มอบทุนการศึกษา พร้อมเงินสนับสนุนการปรับปรุงอาคารเรียน
และอุปกรณ์การเรียนการสอน โรงเรียนบ้านวังขอนแดง จ. พะเยา
 
            นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม EXIM BANK นำผู้บริหารและ
พนักงาน EXIM BANK ร่วมกับจิตอาสาในพื้นที่จังหวัดพะเยา ปรับปรุงอาคารเรียน สนามกีฬาและสนามเด็กเล่น โดย EXIM BANK
มอบเงินสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน รวมทั้งทุนการศึกษา 20 ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น 271,090 บาท
ภายใต้ “กิจกรรม CSR เพื่อสังคมล้านนา” ของ EXIM BANK ให้แก่นายอุทัย ไชยวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังขอนแดง จังหวัดพะเยา
โดยมีนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร  ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจิตอาสาแต้มสีทำความดีเพื่อพ่อ ณ
โรงเรียนบ้านวังขอนแดง จังหวัดพะเยา เมื่อเร็วๆ นี้
  ร่วมยินดีโอกาสเข้ารับตำแหน่ง  
  EXIM BANK ร่วมยินดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับนายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์ ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้ง
หารือแนวทางขยายความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยภายใต้บทบาทของ EXIM BANK
ณ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK ร่วมยินดีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง  
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับนายสันติ
พร้อมพัฒน์ ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งขอรับนโยบาย
ในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยภายใต้บทบาทของ EXIM BANK ณ กระทรวงการคลัง เมื่อเร็วๆ นี้
 
  พบปะหารือ  
  EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน
และความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา
 
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะนายตอง ตุน รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา เพื่อแสดงความยินดีในโอกาส
ที่ได้รับตำแหน่งใหม่ รวมทั้งหารือความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการไทยภายใต้
แผนพัฒนาเมียนมาอย่างยั่งยืน (Myanmar Sustainable Development Plan : MSDP) รวมถึง
โครงการลงทุนต่างๆ ของรัฐบาลเมียนมา ณ กรุงเนปิดอว์ เมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการคลังเมียนมา  
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะนายซอ วิน รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวางแผนและการคลังเมียนมา เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือเพื่อสนับสนุนทางการเงินให้แก่
ผู้ประกอบการไทยเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เมียนมา โดยเฉพาะโครงการภายใต้แผนพัฒนา
เมียนมาอย่างยั่งยืน (Myanmar Sustainable Development Plan : MSDP) การสนับสนุนการใช้เงิน
สกุลท้องถิ่นในการทำการค้า รวมถึงความคืบหน้าโครงการออกพันธบัตรรัฐบาลเมียนมาในประเทศไทย
ณ กรุงเนปิดอว์ เมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK ต้อนรับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน  
         นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนายลีปะก้าว เจียลื่อ
รองหัวหน้าแผนกปฏิบัติการสินเชื่อธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน (Banque Pour Le Commerce
Exterieur Lao Public : BCEL) และคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมกิจการ EXIM BANK เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
และประสบการณ์การทำงานด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ณ EXIM BANK
สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK เยี่ยมชมกิจการผู้ผลิตและส่งออกยาและเวชภัณฑ์คุณภาพระดับสากล  
            นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหาร EXIM BANK พบปะหารือ ภก.สุรชัย เรืองสุขศิลป์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกยาและเวชภัณฑ์คุณภาพระดับสากล ซึ่งเป็นลูกค้า
EXIM BANK เพื่อเยี่ยมชมกิจการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้
  EXIM BANK ร่วมยินดีต้อนรับเรือ “ลลิตภูมิ” ของ บมจ. อาร์ ซี แอล
เสริมศักยภาพกองเรือไทยในการขนส่งทางทะเลที่ทันสมัยและควบคุมมลพิษ
 
            นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ในพิธีตั้งชื่อเรือ (Naming Ceremony) ณ ท่าเรือกรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเรือลำใหม่นี้ได้รับ
การตั้งชื่อว่า “ลลิตภูมิ” ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จาก EXIM BANK เป็นเรือคอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าสัญชาติไทย ขนาด 1,668 ทีอียู
ต่อใหม่จากอู่ต่อเรือประเทศจีน ซึ่งใช้เทคโนโลยีการต่อเรือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย อีกทั้งยังเป็นเรือสัญชาติไทยลำแรกที่ติดตั้งอุปกรณ์
Sulfur Dioxide Scrubber สามารถลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สู่บรรยากาศให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมมลพิษจาก
การเดินเรือขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ที่จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
  อบรมสัมมนา  
  EXIM BANK ร่วมสนับสนุนจัดสัมมนา Myanmar Insight 2019
ส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เมียนมา
 
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ถ่ายภาพร่วมกับนางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์
เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง และ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO)
และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในงานสัมมนา
Myanmar Insight 2019 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ร่วมกับสมาคมนักธุรกิจไทย
ในเมียนมา โดยการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง EXIM BANK เพื่อให้ข้อมูลด้าน
เศรษฐกิจ นโยบายส่งเสริมการลงทุน กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของเมียนมาในการส่งเสริมการค้า
การลงทุนจากต่างประเทศ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK จัดสัมมนา Libra Coin กับพัฒนาการทางการเงินในโลกยุคดิจิทัล  
         นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนางทิพยสุดา ถาวรามร
ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย และนายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) วิทยากรในงานสัมมนา “Libra Coin ประวัติศาสตร์หน้าใหม่
ของอนาคตการเงินโลก” จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence
Academy : EXAC) เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของ
การค้าโลกที่จะเกิดขึ้นจากสกุลเงินดิจิทัล ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK จับมือภาครัฐและเอกชนสนับสนุนผู้ประกอบการไทยบุกตลาดแอฟริกา  
 

       นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนางจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) ร่วมเปิดงานสัมมนา “เปิดประตูสู่ตลาดแอฟริกา
ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสและขยายตลาดอย่างมั่นใจ” จัดโดย  EXIM BANK ร่วมกับ TNSC เพื่อนำเสนอ
โอกาสการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในตลาดใหม่ (New Frontiers) โดยเฉพาะ
ตลาดแอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดย EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับ
ภาครัฐและเอกชนไทย ให้บริการทางการเงิน รวมทั้งประกันความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน
ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการไทย ณ เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท เมื่อเร็วๆ นี้

 
  EXIM BANK จัดสัมมนาเสริมความได้เปรียบด้านการส่งออกแก่ SMEs ไทย  
         นายยุทธพงษ์ มีแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า EXIM BANK ให้การต้อนรับ
นางสาวณัฐรุจา ไชยกองละ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
วิทยากรในงานสัมมนา “เสริมความได้เปรียบการส่งออก ด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้า” จัดโดย EXAC
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการสร้างความได้เปรียบด้านราคาโดยใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
 
  EXIM BANK ปล่อยกู้ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ CB Bank เมียนมา
สนับสนุนผู้ประกอบการเมียนมานำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น
 
            นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายเตน ซอ ตุน กรรมการผู้จัดการ (กลุ่มธุรกิจ)
ธนาคารโค โอเปอเรทีฟ (Co-operative Bank : CB Bank) เมียนมา ลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK จำนวน
2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ CB Bank นำไปใช้สนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการเมียนมาที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย
เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าไทย-เมียนมามากขึ้น ณ CB Bank สำนักงานใหญ่ กรุงย่างกุ้ง เมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้
  EXIM BANK เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมชมรมผู้สอบทานสินเชื่อสถาบันการเงินของรัฐ  
            นายชนะ บุณยะชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนางสาวนิลวรรณ เล็กเจริญสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ธนาคารออมสิน ในฐานะรองประธานชมรมผู้สอบทานสินเชื่อสถาบันการเงินของรัฐและนางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย วิทยากรพิเศษในการเสวนาเรื่อง “การสอบทานธุรกรรม
ด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ” ในการประชุมชมรมผู้สอบทานสินเชื่อสถาบันการเงินของรัฐ ครั้งที่ 3/2562 ซึ่ง EXIM BANK
เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างมาตรฐานงานสอบทานสินเชื่อ ณ EXIM BANK
สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
  หน้าหลัก   I   Share โลกเศรษฐกิจ   I   เปิดประตูสู่ตลาดใหม่   I   ส่องเทรนด์โลก
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ   I   แวดวงคู่ค้า   I   แนะนำบริการ   I   สรุปข่าว