ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ทยอยปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้สอดรับกับบริบททางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยหนึ่งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ที่มีการปรับปรุงและเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563
(แทนกฎหมายฉบับเดิมที่บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2559) คือ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ (New Income Tax Law
No.67/NA)
ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติที่มีรายได้ใน สปป.ลาว ผู้ประกอบการ
ที่กำลังจะเข้าไปลงทุนทำธุรกิจใน สปป.ลาว จึงควรทำความเข้าใจกฎหมายดังกล่าวซึ่งมีการปรับเปลี่ยนทั้งอัตราภาษีและข้อกำหนดต่างๆ
ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
  รู้หรือไม่?
        คำว่า “พาสี” (ภาษี) ในภาษาลาว จะใช้เฉพาะภาษีศุลกากรเท่านั้น อาทิ ภาษีขาเข้า และภาษีขาออก
ขณะที่ภาษีทั่วไปอื่นๆ ใช้คำว่า “อากอน” (อากร) อาทิ อากรรายได้ และอากรกำไร ซึ่งตรงกันข้ามกับ
ภาษาไทยที่ใช้คำว่าอากรขาเข้าและอากรขาออกกับภาษีศุลกากร ส่วนภาษีทั่วไปส่วนใหญ่ใช้คำว่าภาษี เช่น
ภาษีรายได้ และภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
 
 
 
                เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน สปป.ลาว โดยกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่มีการ
เปลี่ยนแปลงการเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประเภทธุรกิจ ดังนี้
  ที่มา : กระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว (https://laoofficialgazette.gov.la/)
          ทั้งนี้ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่กำหนดให้บริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติต้องแบ่งชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีออกเป็น
2 รอบ รอบแรกภายในวันที่ 20 กรกฎาคม และรอบที่สองภายในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป สำหรับกรณีที่บริษัทประสบภาวะขาดทุน
สามารถนำผลขาดทุนสุทธิไปหักออกจากผลประกอบการในปีถัดไปได้ แต่ไม่เกิน 5 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ บริษัทสามารถยื่นขอรับสิทธิ์
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรัฐบาล สปป.ลาว ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) หากเป็นการดำเนินธุรกิจ
ประเภทเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรแปรรูป การศึกษา การกีฬา และโรงพยาบาล โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
จะแตกต่างกันตามเขตพื้นที่การลงทุน ดังนี้
  ที่มา : กระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว (https://laoofficialgazette.gov.la/)
 
            หรือที่เรียกว่าภาษีเหมาจ่ายในกฎหมายภาษีฉบับเดิม เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดเล็ก (Micro Enterprise) ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 50 ล้านกีบขึ้นไป แต่ไม่เกิน 400 ล้านกีบ (ราว 1.8 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.4 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 283.5
กีบต่อบาท) โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านกีบ
จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว
  อัตราภาษีเงินได้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก  
  ที่มา : กระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว (https://laoofficialgazette.gov.la/)
  รู้หรือไม่?
ธุรกิจขนาดเล็กใน สปป.ลาว ต้องเข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งดังต่อไปนี้
• มีลูกจ้างไม่เกิน 5 คน
• มีมูลค่าสินทรัพย์รวมไม่เกิน 100 ล้านกีบสำหรับธุรกิจการผลิต ไม่เกิน 150 ล้านกีบสำหรับธุรกิจการค้า
   และไม่เกิน 200 ล้านกีบสำหรับธุรกิจบริการ
• มีรายได้ไม่เกิน 400 ล้านกีบ ต่อปี
 
 
            เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปชาวลาวและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานใน สปป.ลาว เกิน 183 วันต่อปี โดยกฎหมาย
ภาษีเงินได้ฉบับใหม่มีการแบ่งฐานรายได้ของผู้เสียภาษีเงินได้ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 1,300,000 กีบต่อเดือน ไม่ต้อง
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะที่ผู้มีรายได้มากกว่า 1,300,000 กีบต่อเดือน ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า
5-25% ซึ่งกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่กำหนดให้ผู้มีรายได้ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายเดือนภายในวันที่ 20 ของเดือน
ถัดไป จากเดิมที่ต้องชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในครั้งนี้
ส่งผลให้ผู้มีรายได้ส่วนหนึ่งเสียภาษีลดลง อาทิ ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 40 - 65 ล้านกีบจะเสียภาษีในอัตราใหม่ที่ 20% ลดลงจาก
อัตราเดิมที่ 24%
  อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่   อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเดิม  
  ที่มา : กระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว (https://laoofficialgazette.gov.la/)
          กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่โดยภาพรวมมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่ลดลงทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนใน สปป.ลาว มากขึ้น นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่ยังมีรายละเอียดในทางปฏิบัติที่
เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร อาทิ การปรับลดงวดชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีเหลือเพียง 2 รอบจากเดิม 4 รอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการ
ที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจใน สปป.ลาว จึงควรให้ความสำคัญและใช้เวลาทำความเข้าใจ เพื่อจะได้วางแผนจัดการด้านภาษีอย่างถูกต้องและ
มีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อป้องกันข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ
กระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว [คลิก] ทั้งนี้ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่มีการเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน อาทิ การแจ้งและชำระภาษี
ล่าช้ามีโทษปรับ 500,000 กีบ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คิดเฉพาะค่าธรรมเนียมการจ่ายล่าช้าในอัตรา 0.1% ของมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายเป็นรายวัน
  Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  หน้าหลัก   I   Share โลกเศรษฐกิจ   I   เปิดประตูสู่ตลาดใหม่   I   รู้ทันเกมการค้า
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ   I   CEO Talk   I   แวดวงคู่ค้า   I   แนะนำบริการ   I   สรุปข่าว