 |
 |
 |
 |
|
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในกัมพูชาระลอกใหม่ และการประกาศปิดเมือง (Lock down) ในกรุงพนมเปญ อำเภอตาเขมา ในจังหวัดกันดาล ซึ่งเป็นจังหวัดติดกับกรุงพนมเปญ และมีประกาศ Lock down เมืองอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะการประกาศปิดตลาดทุกแห่งในกรุงพนมเปญ 14 วัน จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 นั้น ทำให้ประชาชนต้องหันมาซื้อสินค้าผ่าน Modern Trade แทน โดยข้อดีคือ มีช่องทางการสั่งซื้อสินค้าแบบออนไลน์ พร้อมบริการจัดส่งแบบ Same Day Delivery ซึ่งการซื้อสินค้าผ่าน Modern Trade ในปัจจุบันนั้น มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20-25 ซึ่งมีแนวโน้มจะมีความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับรูปแบบสังคมเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ อย่างกรุงพนมเปญ จังหวัดพระสีหนุ จังหวัดเสียมราฐ เป็นต้น
ในครั้งนี้สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงพนมเปญ กัมพูชา ขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการขายสินค้าผ่าน Modern Trade ในประเทศกัมพูชามาฝากผู้ประกอบการทุกท่าน ดังนี้
ข้อดีของการค้าขายผ่าน Modern Trade ในประเทศกัมพูชา
• สินค้ามีภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจ
• ลูกค้าเป็นกลุ่มคนมีกำลังซื้อ สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าแบบ Traditional Trade
• สินค้าอยู่ในสถานที่จัดเก็บที่ปลอดภัย และมีระบบ Warehouse ที่ดี
• ในปัจจุบัน Modern Trade มีปรับเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์ อีกช่องทางหนึ่ง
• คนกัมพูชาหันมาเดินห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าไปวางขายใน Modern Trade ต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งแบบ Consignment (ขายฝาก) และแบบซื้อขาด ซึ่งล้วนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกัน โดยมีภาพรวมเบื้องต้นดังนี้ |
|
|
 |
 |
|
หมายเหตุ :
1. SKU (Stock Keeping Unit) เป็นหน่วยเล็กที่สุดที่ใช้ในการจำแนกสินค้าในระบบคลังสินค้า ช่วยแยกความแตกต่างของกลุ่มสินค้าในประเภทเดียวกันไม่ว่าจะด้วย สี ขนาด หรือลวดลายก็ตาม เช่น หากเสื้อหนึ่งตัวมีทั้งหมด 5 สี SKU ก็จะแบ่งย่อยไปตามไซส์และสีนั้น ๆ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คจำนวนสินค้าที่ยังคงมีอยู่ในคลังได้ง่าย
2. Rebate คือ ส่วนลดสินค้าเมื่อยอดขายถึงเป้า เป็นเทคนิคที่ผู้ขายกำหนดให้กับทางห้าง Modern Trade ว่าถ้ายอดขายจากทางห้างฯ ถึงจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ตกลงกันไว้ทางผู้ขายยินดีที่จะมีส่วนลดของค่าสินค้าให้
3. Gross Profit (GP) คิดเป็น % หรือ บางห้างฯ เรียกว่า Front Margin คือ ส่วนต่างราคาขายปลีกในร้าน ลบด้วย ราคาที่ทางบริษัทส่งให้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หารด้วยราคาขายปลีก (ไม่รวม VAT) จะเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าของแต่ละกลุ่มสินค้า
4. ค่ากระจายสินค้า (DC Allowance) คือ ค่ากระจายสินค้าจากคลังของห้างฯ ไปสาขาต่าง ๆ อาจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดส่ง (จำนวนเงิน) หรือคิดเป็นกล่อง คำนวณจากน้ำหนัก หรือขนาดของกล่องสินค้า (จำหน่วยหน่วย)
5. เงื่อนไขต่าง ๆ จะแตกต่างกันในแต่ละห้างฯ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกัน |
|
|
 |
 |
|
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องของการขอใบอนุญาตในแต่ละประเภทสินค้า ซึ่งมีตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนใบอนุญาตต่าง ๆ อาทิเช่น |
|
|
 |
 |
 |
|
|
ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นำเสนอนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการไทยนำไปใช้พิจารณาวางแผนเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงานในการขยายสินค้าผ่านช่องทาง Modern Trade ในกัมพูชา ซึ่งยังไม่รวมค่าขนส่งจากประเทศไทย, ภาษีนำเข้า, ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ฯลฯ เป็นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มทุนของธุรกิจก่อนตัดสินใจหาช่องทางที่เหมาะสมต่อไป
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ CLMV เพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงพนมเปญ : [email protected]
สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงเวียงจันทน์ : [email protected]
สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงย่างกุ้ง : [email protected]
สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในนครโฮจิมินห์ : [email protected]
|
|
|
 |
|
เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย
นายชูพล สุขแสนเจริญ
หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงพนมเปญ |
|
|
 |
|
แหล่งข้อมูล
• สำนักข่าว Khmer Times
• 9 Forwards Co., Ltd.; ผู้ให้บริการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศกัมพูชา
• สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ
• คำอธิบาย SKU
• คำอธิบาย Rebate
• คำอธิบาย Gross Profit (GP) และค่ากระจายสินค้า (DC Allowance) |
|
|
 |
 |
|
|