 |
 |
|
EXIM BANK พลิกโฉมสู่บทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย”
ช่วยผู้ประกอบการทุกระดับ พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ นำทัพธุรกิจไทยรุกตลาดโลกอย่างสมดุล |
|
|
 |
 |
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK แถลงแนวนโยบายและบทบาทของ EXIM BANK ภายหลังเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ หลังจากในปีที่ผ่านมาหดตัวสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่ความต้องการซื้อสินค้าภายในประเทศยังเปราะบางและการท่องเที่ยวยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัวได้ในเร็ววัน การฟื้นตัวของภาคการส่งออกจึงเป็นความหวังในระยะสั้น แต่การผลักดันให้เศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวยังติดขัดปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการ ทำให้ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา GDP ไทยโตเฉลี่ยเพียง 2% เทียบกับ GDP โลกที่โต 3% และประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามโตถึง 6% สอดคล้องกับการส่งออกของไทยโตเฉลี่ยเพียง 2% น้อยกว่าเฉลี่ยของโลกที่ 3% และการส่งออกเวียดนามที่โตถึง 15%
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเผชิญปัญหา “ความย้อนแย้ง” ในเชิงโครงสร้างของผู้ประกอบการ แม้มีจำนวน SMEs มากถึง 3.1 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของทั้งระบบ ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีเพียง 1.5 หมื่นรายหรือ 0.5% ของทั้งระบบ แต่กลับมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสูงเกือบ 60% ของ GDP รวม อีกทั้งเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย GDP ต่อกิจการ พบว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจสูงกว่า SMEs ถึง 350 เท่า ยิ่งตอกย้ำว่าแม้ SMEs มีจำนวนมาก แต่ยังสร้างแรงส่งต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ควร นอกจากนี้ SMEs ส่วนใหญ่ยังค้าขายอยู่ในประเทศ มีไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งหมดที่สามารถเป็นผู้ส่งออกได้และสัดส่วนนี้แทบไม่ขยับเลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ SMEs ส่วนใหญ่เผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและข้อจำกัดต่าง ๆ ภายในประเทศ ลดทอนโอกาสการเติบโตและการเป็นเครื่องยนต์สำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า เศรษฐกิจและการส่งออกของไทยเปรียบเสมือนรถยนต์ที่กำลัง “ติดหล่ม” และต้องการการผลักดันให้เคลื่อนไปข้างหน้าในหลายมิติ ได้แก่ 1. การลงทุน สัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชนต่อ GDP ในปี 2563 อยู่ที่ 16.6% ลดลงจาก 18.7% ในปี 2553 2. การพัฒนานวัตกรรม สัดส่วนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อ GDP ในปี 2561 ของไทยอยู่ที่ 1% เทียบกับเกาหลีใต้และไต้หวันซึ่งอยู่ที่ 4.5% และ 3.4% ตามลำดับ ทำให้การส่งออกของไทยยังเน้นสร้างมูลค่าผ่านปริมาณมากกว่าราคา 3. การเชื่อมโยง Supply Chain ของโลกยุคใหม่ ตามกระแส Megatrend 4. การสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ เพื่อให้เป็นนักรบเศรษฐกิจที่จิ๋วแต่แจ๋ว มีภูมิคุ้มกันในยามวิกฤตและแรงส่งใหม่ช่วยผลักดันประเทศให้เติบโต นอกจากนี้ เศรษฐกิจและการส่งออกของไทยยังถูกกดดันจากกระแส Disruption ในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี การเกิด COVID-19 สงครามการค้า ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไขหรือพัฒนาก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยหยุดอยู่กับที่หรือกลายเป็นรถยนต์ที่วิ่งได้ช้า
ดร.รักษ์ กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ EXIM BANK ต้องทำหน้าที่ “เครื่องยนต์รุ่นใหม่” ผลักดันให้ประเทศไทยหลุดจากภาวะติดหล่มข้างต้น โดยใช้นโยบาย Dual-track Policy ชูบทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)” ควบคู่กับการเป็น “ศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs)”
ภารกิจหลักของ EXIM BANK ในปี 2564 ได้แก่ การเร่ง “ซ่อม สร้าง เสริม” การพัฒนาประเทศไทย
1. การเร่ง “ซ่อม” และ “สร้าง” ภาคอุตสาหกรรมของไทยให้เติบโตไปสู่อนาคต
• ประคับประคองผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ประสบวิกฤต
• สร้างอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (เช่น เทคโนโลยีด้านสุขภาพ รถยนต์ไฟฟ้า) เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) โครงสร้างพื้นฐาน และการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมขนานใหญ่
2. การเร่ง “สร้าง” ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ตั้งแต่รายย่อยไปจนถึงรายกลางและรายใหญ่ ทำให้ Supply Chain ภาคส่งออกไทยแข็งแกร่งและเชื่อมโยงกับการลงทุนภายในประเทศและระหว่างประเทศ
• เป็นสะพานเชื่อมต่อโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน
• เติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ โดยเฉพาะการแชร์ความเสี่ยงในช่วงเริ่มต้นขอโครงการ
• สร้างผู้ส่งออก SMEs รายใหม่ให้ส่งออกได้และแข็งแรงขึ้น เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าในระยะถัดไป
• สนับสนุนซัพพลายเออร์และผู้ประกอบการทั้งหมดใน Supply Chain การส่งออก
• สร้างช่องทางในลักษณะ Thai Pavilion นำสินค้าไทยสู่ตลาดโลกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของโลก
3. การเร่ง “เสริม” ศักยภาพการแข่งขันของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในตลาดหลักและตลาดใหม่ (New Frontiers) อย่างสมดุล
• สนับสนุนให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้ โดยเฉพาะประเทศที่ธุรกิจไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นของโครงการลงทุน
• ป้องกันความเสี่ยง พร้อมเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการไทย
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า EXIM BANK วันนี้ต้องมีจุดยืนที่มีเสน่ห์ เพื่อทำให้องค์กรโตขึ้น ชัดเจนขึ้น และช่วยพัฒนาประเทศได้มากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการช่วยให้นักลงทุนไทยที่มีศักยภาพเข้าไปรับงานในต่างประเทศได้มากขึ้น ควบคู่กับการขยายโครงการลงทุนภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นการจ้างงาน ควบคู่กับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ โดยสร้างนวัตกรรมหรือกระบวนการผลิตที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน EXIM BANK จะเข้าไปดูแลผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถค้าขายหรือลงทุนระหว่างประเทศได้โดยสะดวกขึ้น สามารถบริหารความเสี่ยงและเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ นำไปสู่การพัฒนาภาคส่งออกและการลงทุนของไทยตลอดทั้ง Supply Chain ของไทยให้เชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลกในยุค New Normal ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจบนหลักการแห่งความยั่งยืน
“ผมตั้งใจเข้ามาทำหน้าที่นายธนาคารยุคใหม่เพื่อการพัฒนา เดินหน้าปรับเปลี่ยน EXIM BANK ขนานใหญ่ให้สามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น และเป็นกลไกให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ปรับตัว เปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุคใหม่ได้ เส้นทางใหม่ของ EXIM BANK ครั้งนี้มีเป้าหมายชัดเจนที่จะ ‘ฝันให้ใหญ่’ สู่การเป็น Thailand Development Bank แล้ว ‘ไปให้ไกล’ สู่ New Frontiers โดย ‘ไม่ทิ้งคนตัวเล็ก’ หรือ SMEs เพราะทุกภาคส่วนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงประเทศ” ดร.รักษ์ กล่าว |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK ออกมาตรการเยียวยาธุรกิจไทยใน CLMV
จากผลกระทบ COVID-19 และสถานการณ์ภายในเมียนมา |
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อ เยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ไทยใน CLMV จากผลกระทบของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี พร้อมมาตรการช่วยเหลือลูกค้า EXIM BANK ในตลาดเมียนมา พักชำระหนี้เงินต้นกรณีวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 12 เดือน
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ไต่อันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 CLMV เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ อาเซียนเดิม 5 ประเทศ และจีน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยไปตลาด CLMV มีเหตุสะดุดลงในปี 2563 โดยหดตัวกว่า 11% ขณะที่ในปี 2564 ยังต้องเผชิญกับปัญหารอบด้าน ทั้งวิกฤต COVID-19 ประกอบกับสถานการณ์ภายในเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินธุรกิจส่งออกและลงทุนในตลาดเมียนมา ขณะที่ในภาพรวมกลุ่มประเทศ CLMV ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตทางเศรษฐกิจและมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการของไทยอยู่มาก การเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SMEs มีแหล่งเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ท่ามกลางปัจจัยท้าทายต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ดังนั้น EXIM BANK จึงออกมาตรการช่วยเหลือดังต่อไปนี้
• มาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกันได้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2564 ทางเว็บไซต์ www.exim.go.th สอบถามได้ที่ EXIM BANK สำนักงานใหญ่และสาขาทุกแห่ง
• มาตรการเยียวยาธุรกิจไทยในเมียนมา สำหรับลูกค้าปัจจุบันของ EXIM BANK สามารถพักชำระหนี้เงินต้นกรณีวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 12 เดือน ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินรวมสูงสุดไม่เกิน 180 วัน โดยแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ EXIM BANK ภายใน 30 กันยายน 2564
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบภายในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและประเมิน
ผลกระทบต่อลูกค้า ผู้ประกอบการไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชำระเงินล่าช้าและการชะลอคำสั่งซื้อของคู่ค้าในเมียนมา EXIM BANK จึงได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านมาตรการต่าง ๆ ตามความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันมีลูกค้า EXIM BANK ที่เป็นผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในตลาดเมียนมาจำนวนกว่า 200 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อประมาณ 5,300 ล้านบาท การออกมาตรการ
ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในเมียนมาจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินและเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยได้
นอกจากมาตรการด้านการเงินข้างต้นแล้ว EXIM BANK พร้อมให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในเมียนมา ทาง Hotline โทร. 0 2271 3700 ต่อ 3009
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งไทยและ CLMV มาตั้งแต่ต้นปี 2563 ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ CLMV เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงในระยะยาว EXIM BANK จึงต้องเร่งออกมาตรการเยียวยาในระยะสั้น ทั้งด้านสินเชื่อและการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อประคับประคองสภาพคล่องทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย รอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาด CLMV ในระยะถัดไป” ดร.รักษ์ กล่าว |
|
|
 |
 |
|
|
EXIM BANK เดินหน้ามาตรการเชิงรุก ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 “ขั้นสูงสุด” |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
EXIM BANK เดินหน้ามาตรการเชิงรุก ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 “ขั้นสูงสุด”จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ซึ่งขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วและส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ตระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานและครอบครัว ตลอดจนลูกค้า ผู้ประกอบการ หน่วยงานพันธมิตรและสังคม จึงยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 สู่ระดับสูงสุดมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. ทุกฝ่ายงานต้องรายงานบันทึกการเดินทาง (Timeline) พร้อมรายงานสุขภาพ โดยจัดทำ Timeline ทุกวัน สำหรับพนักงาน/บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาภายในอาคารสำนักงาน/สาขา เพิ่มเติมจากการใช้งานแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” และ “ไทยชนะ” โดยบุคคลภายนอกจะสามารถเข้ามาภายในอาคารสำนักงานได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
2. พนักงานปฏิบัติงานจากที่บ้าน (Work from Home : WFH) ทั้งหมด ยกเว้นพนักงานที่ต้องให้บริการลูกค้าสามารถเข้ามาปฏิบัติงานที่สำนักงาน/สาขาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อรองรับการทำธุรกรรมสำคัญอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดชะงัก ทีมปฏิบัติงานสำหรับธุรกรรมสำคัญแบ่งเป็น 2 ทีม ปฏิบัติงานแยกจากกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดต่อสัมผัส
3. พนักงานทุกคนยกระดับการป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม และรักษาวินัยการรายงานสถานะสุขภาพประจำวันอย่างเคร่งครัดหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ และงดการจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการรวมตัวของคนจำนวนมาก เช่น การอบรม ประชุม งานเลี้ยง การเยี่ยมหรือพบลูกค้าโดยตรง (Face to Face Meeting) โดยใช้ช่องทางออนไลน์ทั้งหมดหรือช่องทางอื่น ๆ ทดแทนตามความเหมาะสม
4. ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการทำความสะอาดใหญ่ (Big Cleaning) จุดสัมผัสต่าง ๆ รวมทั้งการฉีดพ่นฆ่าเชื้ออาคารเอ็กซิม และทยอยฉีดพ่นทุกสาขาของ EXIM BANK ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ แม้ว่าจะยังไม่พบกรณีพนักงาน/บุคคลภายนอกติดเชื้อโควิด-19 จากการใช้พื้นที่ของ EXIM BANK
5. ดำเนินมาตรการความปลอดภัยของอาคารในด้านต่าง ๆ อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เช่น การสแกนอุณหภูมิวัดไข้ก่อนเข้าพื้นที่ การกำหนดจุดรับส่งเอกสาร การสแกน UV ฆ่าเชื้อเอกสารการทำความสะอาดจุดสัมผัสที่มีความเสี่ยงด้วยความถี่บ่อยครั้งขึ้น การจำกัดจำนวนผู้ใช้ลิฟต์ในแต่ละครั้ง การงดใช้บริการห้องออกกำลังกาย EXIM Club เป็นต้น
“EXIM BANK มุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อสังคม โดยดูแลสภาพแวดล้อมและกระบวนการทำงานเพื่อให้พนักงานและครอบครัว ตลอดจนลูกค้า ผู้ประกอบการ และบุคคลภายนอกที่มาติดต่อมีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ควบคู่กับการดูแลระบบและกระบวนการทำงานของธนาคารเพื่อให้บริการลูกค้าและผู้มาติดต่อใช้บริการได้ตามปกติ โดยสอดคล้องกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและมาตรการป้องกันของธนาคารที่ยกระดับสูงสุดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าว
|
|
|
|
 |
|
EXIM BANK จัดทำโครงการ CSR สนับสนุนโรงพยาบาลสนามดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่
ทำให้ภาครัฐต้องจัดให้มีโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
สู่สังคมขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลสนาม
ที่รองรับผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงเริ่มทยอยรับผู้ป่วยตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2564 ได้แก่ โรงพยาบาลสนามในสังกัด
กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ มีความต้องการอุปกรณ์เครื่องใช้จำเป็นจำนวนมากสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
และผู้ป่วย EXIM BANK จึงได้บริจาคของใช้จำเป็นให้แก่กรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อร่วม
สนับสนุนให้โรงพยาบาลสนามในสังกัดกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อดูแลรักษา
ผู้ป่วย COVID-19 ประกอบด้วย พัดลม ชุด PPE หน้ากากอนามัย เครื่องทำน้ำร้อน/เย็น และน้ำดื่ม เป็นมูลค่ารวม 200,000 บาท ภายใต้
โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน”
“การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนามในครั้งนี้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ EXIM BANK ที่จะร่วมเสริมความพร้อมให้ Superhero ที่แท้จริงของพวกเรา ซึ่งได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทและเสียสละ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนก้าวผ่านวิกฤตของประเทศไปได้ด้วยดีเหมือนทุกวิกฤตที่ผ่านมา” ดร.รักษ์ กล่าว |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK เปิดโครงการตู้ EXIM 1 ปันสุข เยียวยาความเดือดร้อนแก่ประชาชนพื้นที่เขตพญาไท |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดโครงการ “ตู้ EXIM 1 ปันสุข” ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” โดยจัดให้มีตู้อาหารแห้งที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารและเพื่อนพนักงาน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในชุมชนพญาไท ณ ด้านหน้าและด้านหลัง EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เยี่ยมคารวะนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ในการนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ EXIM BANK ณ กระทรวงการคลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เยี่ยมคารวะนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมรับฟังแนวนโยบายต่อการดำเนินงานของ EXIM BANK ณ กระทรวงการคลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK เยี่ยมคารวะผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เยี่ยมคารวะ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมหารือนโยบายการสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุนตามแนวทางการดำเนินงานของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาของประเทศไทย (Thailand Development Bank) ณ สศค. กระทรวงการคลัง เมื่อวันเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
|
|
ต้อนรับกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมประชุมและมอบนโยบายการดำเนินงานของ EXIM BANK ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารฝ่ายต่าง ๆ ของ EXIM BANK ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งวันแรก โดยมีผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ต้อนรับคณะผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ประกอบด้วย นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นายกมลภพ วีระพละ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และนายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย. ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบนโยบายแก่พนักงาน |
|
|
 |
 |
 |
|
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบนโยบายการดำเนินงานของ EXIM BANK แก่ผู้บริหารและพนักงานธนาคาร ในงานกรรมการผู้จัดการพบพนักงาน (Town Hall Meeting) ซึ่งจัดขึ้น ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ ควบคู่กับการประชุมทางออนไลน์กับผู้บริหารและพนักงานสาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
|
|
EXIM BANK มอบน้ำดื่มให้สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
เพื่อใช้บริการประชาชนในสถานกักกันตัวผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 |
|
|
 |
 |
 |
|
นายสมควร สมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรการ EXIM BANK มอบน้ำดื่มจำนวน 3,000 ขวด ให้แก่นายแพทย์ชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” เพื่อใช้บริการประชาชนที่สถานกักกันตัว (Local Quarantine) กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเพื่อคัดกรอง ดูแล และควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
|
|
EXIM BANK มอบน้ำดื่มให้สำนักงานเขตพญาไท
เพื่อใช้ในภารกิจป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 |
|
|
 |
 |
 |
|
นายสมควร สมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรการ EXIM BANK มอบน้ำดื่มจำนวน 1,200 ขวด ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ให้แก่นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตพญาไท สำหรับประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ สำนักงานเขตพญาไท เมื่อเร็ว ๆ นี้ |
|
|
 |
|
 |
|
|