 |
 |
 |
 |
|
ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกลายเป็นหนึ่งกระแสหลักที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และทำให้เครื่องมือในการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond) มีบทบาทมากขึ้นตามไปด้วย สะท้อนได้จากมูลค่าการออก Green Bond ทั่วโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและทั้งปี 2564 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังเป็นกลุ่มที่ครองตลาด Green Bond ของโลก แต่กลุ่มประเทศตลาดใหม่ซึ่งรวมถึงประเทศในอาเซียนก็เริ่มเกาะกระแสการเติบโตของตลาด Green Bond ซึ่งคาดว่าในอนาคตตลาด Green Bond ในอาเซียนจะเติบโตมากขึ้นเป็นลำดับ ตามการตื่นตัวรับกระแส Green Recovery หลังวิกฤต COVID-19 |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
ภาพรวมตลาด Green Bond โลก |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
|
• |
มูลค่าการออก Green Bond ทั่วโลกเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าสะสมในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 2.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงแซงหน้ามูลค่าสะสมของทั้งปี 2563 ที่ 2.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ |
|
|
 |
|
• |
มูลค่าการออก Green Bond สะสมของทั้งปี 2564 จะเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ราว 4-4.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกหลังวิกฤต COVID-19 ที่จะมุ่งไปสู่ Green Recovery |
|
|
 |
 |
|
ที่มา : Climate Bonds Initiative (ข้อมูลปี 2563) |
|
|
 |
 |
 |
|
ส่องทิศทางตลาด Green Bond ในอาเซียน |
|
|
 |
 |
|
ที่มา : AsianBondsOnline, ADB |
|
|
 |
|
ตลาด Green Bond ที่น่าสนใจในอาเซียน |
|
|
 |
 |
|
• |
ตลาด Green Bond ในอาเซียนมีสัดส่วนราว 2-3% ของมูลค่าการออก Green Bond ทั้งหมดของโลก ซึ่งถือว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนตลาด Green Bond ของประเทศพัฒนาแล้วที่ราว 80% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศในอาเซียนเพิ่งเริ่มออก Green Bond เป็นครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาตลาด Green Bond มายาวนานกว่า 10 ปี อย่างไรก็ตาม การออก Green Bond มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนตลาด Green Bond ในอาเซียน ทั้งผู้ออก Green Bond และนักลงทุนมีประสบการณ์และให้ความสนใจเพิ่มขึ้น อีกทั้งกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการออก Green Bond ยังมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น |
|
|
 |
|
• |
มูลค่าการออก Green Bond ในอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในปี 2563 จะขยายตัวเพียง 12.3% ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ขยายตัวสูงถึง 50% ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้การออก Green Bond บางส่วนต้องชะลอออกไป |
|
|
 |
 |
|
 |
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีมูลค่าการออก Green Bond สูงที่สุดในอาเซียน โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการนำร่องของรัฐบาลอินโดนีเซียในการออกตราสารหนี้อิสลามสีเขียว (Green Sukuk) ในปี 2561 มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนไปใช้ลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ โครงการพลังงานทดแทน โครงการระบบขนส่งด้วยพลังงานสะอาด และโครงการบริหารจัดการขยะ ขณะที่ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2563 บริษัท Star Energy Geothermal (Dajarat II) ได้ออก Green Bond มูลค่า 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนไปใช้ในโครงการพลังงานทดแทน |
|
|
 |
|
 |
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกที่ออก Green Bond ภายใต้มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standard โดยสถาบันการเงินเป็นผู้ออก Green Bond รายสำคัญเพื่อระดมทุน อาทิ Bank of Philippines Islands (BPI) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของฟิลิปปินส์ ออก Green Bond เพื่อระดมทุนในตลาดยุโรปเป็นสกุลเงินฟรังก์สวิสเมื่อปี 2562 เช่นเดียวกับสิงคโปร์ที่การออก Green Bond ส่วนใหญ่จะมาจากภาคธนาคาร เพื่อนำเงินที่ได้ไปปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจสีเขียว (Green Loan) |
|
|
 |
|
 |
สำหรับประเทศไทยตลาด Green Bond เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการออก Green Bond ในปี 2563 อยู่ที่ 1,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 20% จากปีก่อน ซึ่งเป็นการออก Green Bond จากภาคเอกชนเป็นหลัก อาทิ BTS Group Holding ที่ออก Green Bond เพื่อนำเงินไปสนับสนุนโครงการระบบขนส่งที่ลดการปล่อยคาร์บอน (Low Carbon Transportation) และ Ratch Group PCL ที่ออก Green Bond เป็นครั้งแรกเพื่อนำเงินไปพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนและโครงการรถไฟฟ้า ทั้งนี้ ประเทศไทยออก Green Bond ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากลเป็นครั้งแรกในปี 2561 ขณะที่ตลาด Green Bond ก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากแรงผลักดันทั้งจากด้าน Supply ที่ภาคเอกชนมีการออก Green Bond มากขึ้น ขณะที่ด้าน Demand ก็ได้การตอบรับที่ดีจากนักลงทุน สะท้อนได้จากยอดแสดงความจำนงลงทุนใน Green Bond ของนักลงทุนที่สูงกว่ามูลค่า Green Bond ที่เสนอขายหลายเท่าในช่วงที่ผ่านมา |
|
|
 |
 |
 |
|
ปัจจัยสนับสนุนการออก Green Bond…ตัวเร่งการลงทุนโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|
|
 |
 |
|
 |
นอกจาก Green Bond จะทำให้ผู้ออก Bond และนักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในตลาดแล้ว ตลาด Green Bond ในอาเซียนยังได้
รับแรงสนับสนุนสำคัญจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ไม่ว่าจะเป็นการเสนอมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการออก Green Bond ของประเทศในอาเซียน การสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้แก่องค์กรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินตราสารหนี้ และการจัดทำ Information Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลการออก Green Bond ทุกรุ่นในอาเซียน ผ่านเว็บไซต์ www.asianbondonline.org ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมและผลักดันตลาด Green Bond ในอาเซียนให้เติบโตต่อไป |
|
|
 |
 |
|
Disclaimer: |
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดย EXIM BANK จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
|
ที่มาของรูปภาพ : |
Icon made by Freepik, Catkuro, Flat Icons, Iconixar, from www.flaticon.com |
|
|
|
 |
 |
|
|