|
|
|
|
|
เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการประชุม “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) หรือเอเปค ในการประชุมระดับผู้นำที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้ธีม “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open Connect Balance” ซึ่งนับเป็นการประชุมระดับผู้นำของสมาชิกเอเปคแบบพบหน้ากันเต็มรูปแบบ (Full On-site) ครั้งแรกในรอบ 3 ปี ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จึงถือเป็นจังหวะเหมาะที่จะมาลองพิจารณาถึงโอกาสที่คาดว่าไทยจะได้รับจากการประชุมในครั้งนี้
เอเปค...ลมใต้ปีกที่ช่วยหนุนการค้า-การลงทุนของกลุ่มสมาชิก
เอเปคเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 21 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อาทิ การส่งเสริมการเกษตร และการลดภัยพิบัติ หลายท่านอาจจะมองว่าเอเปคเป็นแค่การประชุมที่จัดขึ้นแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้ว ในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา เอเปคมีส่วนช่วยลดอุปสรรคด้านการค้าการลงทุน อาทิ ลดภาษีนำเข้า และเพิ่มความตกลงการค้าเสรีระหว่างสมาชิก ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มสมาชิก |
|
|
|
|
เอเปครายงานตัวอย่างผลสำเร็จในการลดอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนระหว่างสมาชิก ดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
APEC 2022…เวทีโชว์ความพร้อม ชูศักยภาพ และสร้างโอกาสไทยใน 3 มิติ
การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในครั้งนี้เปรียบเสมือนการจัด Roadshow ประเทศไทย โดยมีผู้สนใจจากทั่วโลกเป็นผู้ร่วมชมงาน แต่ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัด ประเด็นความร่วมมือที่ไทยจะนำเสนอในครั้งนี้จึงต้องถูกกลั่นกรองมาอย่างดีแล้วว่าจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศในระยะยาว ซึ่งประเด็นหลักที่ไทยนำเสนอแบ่งเป็น 3 มิติ ดังนี้
• มิติการค้า : Market Enlargement by FTA
สมาชิกเอเปคนับเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ด้วยสัดส่วนสูงถึงราว 70% ของมูลค่าส่งออกของไทย การประชุมเอเปคในครั้งนี้จึงเป็นจังหวะดีที่ไทยจะเร่งขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปิดเขตการค้าเสรี เพื่อขยายโอกาสทางการค้ากับสมาชิกเอเปคที่มีทั้งตลาดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และตลาดที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูง
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า หากการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ซึ่งจะทำให้สมาชิกเอเปคมีภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันเหลือ 0% เป็นผลสำเร็จ จะส่งผลให้การค้าระหว่างเอเปคขยายตัวได้ถึง 200-400% ในปี 2583 โดย FTAAP จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยตลาดขนาดใหญ่เกือบ 3 พันล้านคน ใหญ่กว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่มีขนาดตลาด 2.3 พันล้านคน อีกทั้ง FTAAP จะรวมประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีกำลังซื้อสูง อาทิ สหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งไม่ได้อยู่ใน RCEP อีกด้วย สำหรับสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปเอเปค และมีสหรัฐฯ ซึ่งไทยยังไม่มี FTA ด้วยเป็นตลาดส่งออกสำคัญ |
|
|
|
|
เปรียบเทียบ RCEP และ FTAAP |
|
|
|
|
|
|
แม้หลายฝ่ายมองว่าปลายทางความสำเร็จของ FTAAP ยังอาจไกลความเป็นจริงในขณะนี้ เนื่องจากประเทศสมาชิกมีระดับการพัฒนาประเทศแตกต่างกัน แต่ในระยะสั้นประเทศไทยก็สามารถใช้เวทีนี้ในการพบปะและเปิดทางเจรจา FTA กับสมาชิกเอเปคอื่น ๆ เพื่อเพิ่มจำนวน FTA ของไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เพียง 14 ฉบับ ครอบคลุม 18 ประเทศ ขณะที่เวียดนามมี 15 ฉบับ ครอบคลุม 53 ประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าของไทย
• มิติการลงทุน : Safe Zone & Sustainable Investment
ที่ผ่านมานักลงทุนจากเอเปคเป็นกลุ่มสำคัญที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเป็นแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาขอรับสิทธิประโยชน์การลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรกตลอดช่วงปี 2562-2564 และล่าสุดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2565 แหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาขอรับสิทธิประโยชน์การลงทุน 5 อันดับแรก ล้วนมาจากสมาชิกเอเปค ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนรวมกันสูงถึง 70% ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะใช้การประชุมเอเปคเป็นเวทีแสดงศักยภาพการเป็นฐานการลงทุน ด้วย 2 จุดดึงดูด คือ การเป็น Safe Zone และการสนับสนุน BCG (Bio-Circular-Green) Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นหนึ่งในการลงทุนอย่างยั่งยืนที่กำลังอยู่ในกระแส
- Safe Zone การที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ท่ามกลางความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นของหลายคู่กรณี อาทิ สหรัฐฯ-จีน
จีน-ไต้หวัน และสหรัฐฯ-รัสเซีย เป็นโอกาสสำคัญให้ไทย ซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางมาโดยตลอด ได้ใช้เวทีนี้ตอกย้ำ
จุดยืนว่าไทยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และพร้อมจะเป็น “Safe Zone” หรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเข้ามาลงทุนจากทุกฝ่ายที่กำลัง
ทบทวนการลงทุนเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ที่ช่วยหลบเลี่ยงผลกระทบจากความขัดแย้ง
- Sustainable Investment การที่ไทยชูประเด็น BCG Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติและเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับกระแสการลงทุนในธุรกิจสีเขียวของโลกในเวทีเอเปค จะเป็นการตอกย้ำให้นักลงทุนต่างชาติเห็นความมุ่งมั่นของไทยที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยที่ไทยมีความพร้อมด้านปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรม BCG อาทิ มีวัตถุดิบ (พืชเกษตร เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง) ในการเป็นฐานการผลิตไบโอพลาสติกหรือพลาสติกชีวภาพที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้ ไทยยังมีแนวทางเปิดรับการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดถึง 8 ปี แก่การลงทุนในกิจการด้าน BCG รวม 55 อุตสาหกรรม เช่น กิจการด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และกิจการด้านเคมีภัณฑ์หรือโพลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน สมาชิกเอเปคยังเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนโดยตรง (Thai Direct Investment : TDI) ที่สำคัญของไทยด้วยเช่นกัน โดยมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 50% ของยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ ณ ไตรมาส 2/2565 การประชุมเอเปคจึงเป็นอีกหนึ่งเวทีให้ไทยขยายโอกาสในการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการเปิดเสรีด้านการลงทุนหรือลดข้อจำกัดในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ ไทยมีหลายธุรกิจที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับกระแสความยั่งยืนของโลก อาทิ ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยทยอยเข้าไปปักหมุดลงทุนในสมาชิกเอเปคแล้ว
• มิติการท่องเที่ยว : Boosting Tourism Sector
ในช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 นักท่องเที่ยวจากเอเปคมีสัดส่วนกว่า 70% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทั้งหมดของไทย (ในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวจีนอยู่ 40%) แต่ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากเอเปคลดลงจากราว 28.1 ล้านคน (นักท่องเที่ยว
จีน 11 ล้านคน) เหลือเพียง 2.9 ล้านคน การเร่งดึงนักท่องเที่ยวจากเอเปคให้กลับมา จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ไทยพยายามจะผลักดัน
ให้สำเร็จในเวทีนี้ โดยการเสนอแผนสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคได้นำเสนอแผนอำนวยความ
สะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ อาทิ กำหนดมาตรฐานการรับรองการรับวัคซีน
ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนได้เร็วขึ้น และขยายขอบเขตธุรกิจและอาชีพที่สามารถจัดทำบัตร APEC
Business Travel Card (ABTC) ที่ใช้แทน Visa ในการเดินทางเข้าเขตเศรษฐกิจที่ร่วมโครงการได้ 60-90 วัน ซึ่งจะทำให้รายได้
จากภาคการท่องเที่ยวและจำนวนนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาในไทยและสมาชิกเอเปคกลับมาเทียบเท่าหรือมากกว่าช่วง Pre-Pandemic ได้เร็วขึ้น |
|
|
|
|
|
|
|
นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคยังเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงความพร้อมในการเปิดประเทศและการจัดประชุม
นานาชาติผ่านการรับรองผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 20,000 คนที่มาประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ มากกว่า 60 ครั้ง รวมถึง
สื่อมวลชนต่างชาติที่เข้ามาติดตามการประชุมที่จัดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต ซึ่งจะช่วยเป็นกระบอกเสียง
ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคสู่สายตาชาวโลกได้อีกทาง
การประชุมเอเปคครั้งนี้จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเสริมภาพลักษณ์ประเทศและมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต
อย่างยั่งยืน ในฐานะที่ EXIM BANK เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา จึงพร้อมจะช่วยผู้ประกอบการในการวิ่งไปคว้าโอกาสใหม่ ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประชุมเอเปคในครั้งนี้ ทั้งด้านการลงทุน การค้า และการท่องเที่ยว ก่อนจะแปรโอกาสเป็นความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวไปไกลกว่าและดีกว่าเดิม ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า เส้นชัยไม่ได้วิ่งเข้ามาหาเรา เราต่างหากต้องวิ่งเข้าหามัน |
|
|
|
|
|
Disclaimer : |
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดย EXIM BANK จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
|
|
|
|
|