|
ที่มา : รวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK |
|
|
|
|
|
|
|
|
ไฮโดรเจน…อีกแหล่งพลังงานแห่งอนาคตเพื่อลดโลกร้อน |
|
|
|
|
|
สำหรับความต้องการใช้ไฮโดรเจนในภาพรวม ทั่วโลกมีความต้องการใช้ไฮโดรเจน 94 ล้านตันในปี 2564 ซึ่งในปี 2563 การใช้ไฮโดรเจนกระจุกตัวอยู่ในการผลิตเคมีภัณฑ์อย่างแอมโมเนียและเมทานอลเกือบ 50% ขณะที่ราว 46% ใช้ในโรงกลั่นน้ำมันเพื่อกำจัดกำมะถันในน้ำมันและเพิ่มประสิทธิภาพการกลั่นเพื่อให้ได้น้ำมันที่มีราคาสูงเพิ่มขึ้น ส่วนที่เหลือไม่ถึง 5% ใช้ในกระบวนการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า สำหรับแนวโน้มในอนาคต ทั่วโลกจะมีความต้องการไฮโดรเจนเพิ่มเป็นเกือบ 6 เท่าจากปี 2564 เป็น 536 ล้านตันในปี 2593 โดยส่วนใหญ่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม การขนส่งทางถนน เคมีภัณฑ์ และการบินและการเดินเรือ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า การกลั่นน้ำมันเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ใช้ไฮโดรเจนลดลงมาก คือ เหลือเพียงไม่ถึง 3% ในปี 2593 จากที่เคยมีสัดส่วนเกือบครึ่งของการใช้ไฮโดรเจนทั่วโลกในปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
|
ที่มา : Mckinsey และ IRENA |
|
|
|
|
|
แม้ขณะนี้ทั่วโลกจะยังใช้ไฮโดรเจนสีเทามากที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าไฮโดรเจนสะอาด แต่ไฮโดรเจนสะอาด
มีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนสะอาดมีแนวโน้มลดลงตามการพัฒนาเทคโนโลยี ประกอบกับ
นโยบายของภาครัฐประเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดคาร์บอน โดย 17 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์พลังงานไฮโดรเจนแล้ว ส่วนอีก 20 ประเทศประกาศว่าอยู่ระหว่างพัฒนายุทธศาสตร์ดังกล่าว
รวมถึงการผลักดันแผนด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทขนาดใหญ่เพื่อเตรียมพร้อมรับมาตรฐานใหม่ของโลกและเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดี
ในมุมมองของผู้บริโภค คู่ค้า และนักลงทุน ทั้งนี้ ต้นทุนของไฮโดรเจนสีเขียว ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับไฮโดรเจนสีเทาและสีน้ำเงิน
มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่า ราคาไฮโดรเจนสีเขียวจะลดลงเหลือกิโลกรัมละ 2 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2570
และ 1 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2578 และจะเหลือเพียง 0.75 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2593 |
|
|
|
|
|
|
ที่มา : Hydrogen Council and McKinsey, World Bank, S&P Global และ IRENA |
|
|
|
|
|
ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรม…จุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาธุรกิจรับกระแสลดคาร์บอน |
|
|
|
|
ทั่วโลกเริ่มมีการพัฒนาใช้ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อผลักดันเป้าหมาย Net Zero Emission แม้พลังงานไฮโดรเจนจะมีข้อจำกัด อาทิ ราคาที่ยังสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น อีกทั้งขาดโครงสร้างพื้นฐานทั้งการผลิต จัดเก็บ และขนส่ง ปัจจุบันมีตัวอย่างการใช้ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ อาทิ |
|
|
|
|
|
ยานยนต์ไฟฟ้าและการขนส่งทางบก-น้ำ-อากาศ : บริษัทผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ทั่วโลก ทั้ง Toyota, BMW, Volkswagen, Audi, GM, Honda และ Hyundai ลงทุนพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงเปลี่ยนไฮโดรเจนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีวางจำหน่ายแล้วในท้องตลาด เช่น Honda FCX Clarity และ Toyota Mirai นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะนำไฮโดรเจนไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะที่มีน้ำหนักมาก หรือยานพาหนะที่ต้องเดินทางระยะไกล อย่างเรือขนส่งทางทะเล รถบรรทุก ตลอดจนเครื่องบิน เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงที่มีน้ำหนักเบา ทั้งนี้ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่อยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องบิน Airbus A380 พลังงานไฮโดรเจนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการทดสอบบินได้ภายในปี 2571 |
|
|
|
|
|
การผลิตเหล็ก : การผลิตเหล็กเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานสูง และปล่อยคาร์บอนถึง 7.2% ของกิจกรรมที่ปล่อยคาร์บอนทั้งหมด เพราะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงหลัก จึงมักเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่ต้องเผชิญกับมาตรการทางการค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการลดคาร์บอน ทั้งนี้ ในปี 2563 Ovako ผู้ผลิตเหล็กในสวีเดน ใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนในการหลอมเหล็กแทนก๊าซธรรมชาติเหลวได้สำเร็จ โดยเหล็กที่ผลิตได้มีคุณภาพดีไม่ต่างจากเหล็กที่ผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2565 Ovako เริ่มผลิตเหล็กแบบ Carbon Neutral ขณะที่ Arcelor Mittal บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตเหล็กและเหมืองแร่ของโลก ก็ตั้งเป้าผลิตเหล็กโดยไม่ปล่อยคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2568 เช่นกัน |
|
|
|
|
|
แม้ไฮโดรเจนจะยังอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการลงทุนและพัฒนา แต่ท่ามกลางเทรนด์ลดโลกร้อนทั่วโลก ไฮโดรเจนนับเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่มาแรงและมีโอกาสเติบโต อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับการสนับสนุนและพัฒนาอีกมาก ซึ่งหากเกิดการลงทุนและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ก็เป็นไปได้ว่าไฮโดรเจนสะอาดจะมีต้นทุนลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บและขนส่งที่ดีและครอบคลุม ทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เป็นวงกว้างมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรติดตามพัฒนาการของพลังงานไฮโดรเจนอย่างใกล้ชิด ควบคู่กับการเรียนรู้และศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์และปรับใช้ไฮโดรเจนให้เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้ท่านสามารถเป็น First Mover คว้าโอกาสจากพลังงานไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคตเพื่อลดโลกร้อน เพื่อต่อยอดธุรกิจรับเทรนด์ Net Zero Emission ได้ก่อนใคร
|
|
|
|