 |
 |
 |
 |
|
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในอินเดียนับว่ามีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะนอกจากขนาดของตลาดที่ใหญ่มาก
ด้วยจำนวนประชากรมากถึง 1,300 ล้านคนแล้ว การนิยมสวมใส่เครื่องประดับของชาวอินเดียยังเป็นการผสมผสานระหว่างการสวมใส่
ตามแฟชั่นทั่วไปกับการสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์และความเชื่อ เช่น สตรีชาวอินเดียที่แต่งงานแล้วจะสวมกำไลแขนและ
แหวนนิ้วเท้าเพื่อบ่งบอกสถานภาพสมรส และจะใส่เครื่องประดับห่วงจมูกเพราะเชื่อว่าจะทำให้ลมหายใจบริสุทธิ์และช่วยให้สามีมีสุขภาพ
แข็งแรง ขณะที่มีสตรีที่ยังไม่แต่งงานบางคนใส่เครื่องประดับห่วงจมูกเป็นแฟชั่น นอกจากนี้ ชาวอินเดียยังใช้เครื่องประดับเพื่อสื่อถึง
สถานะทางสังคม ทำให้การลงทุนซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเก็บไว้เป็นทรัพย์สินยังเป็นที่นิยมในสังคมชาวอินเดีย สำหรับในปี 2561
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีมูลค่าสูงถึงราว 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2568 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเมืองและจำนวนผู้มีรายได้ปานกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ India Brand Equity
Foundation (IBEF) คาดว่ากลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางของอินเดียจะเพิ่มขึ้นจากราว 200-250 ล้านคนในปี 2560 เป็น 500 ล้านคน
ในปี 2568 |
|
 |
|
คาดการณ์มูลค่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในอินเดีย |
|
คาดการณ์จำนวนผู้มีรายได้ปานกลางในอินเดีย |
|
|
|
 |
|
หมายเหตุ : F หมายถึง ค่าคาดการณ์
ที่มา : India Brand Equity Foundation |
หมายเหตุ : F หมายถึง ค่าคาดการณ์
ที่มา : India Brand Equity Foundation |
|
 |
 |
|
นอกจากกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางที่เพิ่มขึ้นแล้ว คนรุ่นใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนมากถึง 353 ล้านคนในปี 2573 ก็มีอิทธิพลต่อ
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เปิดรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศ ทำให้พฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณี
และเครื่องประดับในอินเดียมีแนวโน้มเปลี่ยนไปจากเดิมและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดเครื่องประดับ
อินเดีย อาทิ
• ชาวอินเดียนิยมเลือกซื้อเครื่องประดับในโอกาสพิเศษต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบันชาวอินเดียโดยเฉพาะชาวอินเดียรุ่นใหม่
ที่เคยไปศึกษาในต่างประเทศหันมาเลือกซื้อเครื่องประดับเป็นของขวัญให้แก่กันในเทศกาลและวันสำคัญตามแบบตะวันตกอย่าง
วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ และวันคริสต์มาส เพิ่มเติมจากเดิมที่นิยมซื้อเครื่องประดับเฉพาะในโอกาสสำคัญอย่างงานแต่งงาน ซึ่งมัก
จัดในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป โดยนิยมใช้เครื่องประดับทองเป็นสินสอดและเป็นเครื่องประดับของ
เจ้าสาว ทั้งนี้ มีการประมาณการค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องประดับสำหรับงานแต่งงานว่าสูงถึง 35-45% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการ
จัดงานแต่งงาน คิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเทศกาลดิวาลี (Diwali) หรือเทศกาลแห่งแสง ซึ่งถือเป็น
การต้อนรับปีใหม่ของศาสนาฮินดู จัดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เทศกาลนี้ชาวอินเดียนิยมซื้อเครื่องประดับเพื่อ
มอบเป็นของขวัญแก่สมาชิกในครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งนี้ World Gold Council ประเมินว่าการซื้อเครื่องประดับทองในเทศกาล
ดิวาลีมักเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติถึง 10-15% จะสังเกตได้ว่าความถี่ในการซื้อเครื่องประดับของชาวอินเดียที่เพิ่มขึ้นเป็นโอกาสสำหรับ
ผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดเครื่องประดับในอินเดีย โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล
หรือวันสำคัญต่างๆ อาทิ จี้หัวใจสำหรับวันวาเลนไทน์ เพื่อให้ถูกใจผู้ซื้อมากขึ้น
|
|
 |
|
พิธีแต่งงาน |
|
เทศกาลดิวาลี (Diwali) |
|
|
 |
 |
 |
|
• เครื่องประดับอื่นๆ นอกจากเครื่องประดับทอง ได้รับความสนใจมากขึ้น แม้ชาวอินเดียโดยรวมยังคงชื่นชอบ
เครื่องประดับทอง โดยเฉพาะชาวอินเดียในรัฐทมิฬนาฑู รัฐเกรละ รัฐกรณาฏกะ ทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งมีการซื้อทองคำและ
เครื่องประดับทองสูงถึง 90% ของการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดของทั้งประเทศ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องประดับเงิน
เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะจากชาวอินเดียที่อยู่ในวัยเริ่มทำงานและยังมีรายได้ไม่สูงนัก เนื่องจากเครื่องประดับเงินมีราคา
เฉลี่ยราว 2,000 รูปี หรือราว 1,100 บาท ต่ำกว่าเครื่องประดับทองที่มีราคาเริ่มต้นที่ 20,000 รูปี หรือราว 11,000 บาท ประกอบกับ
ชาวอินเดียรุ่นใหม่เปิดรับกระแสแฟชั่นและรสนิยมจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้อินเดียมีความต้องการซื้อเครื่องประดับอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำ
จากทองคำแท้มากขึ้น ปัจจุบันแบรนด์เครื่องประดับชื่อดังหลายแบรนด์เริ่มนำเครื่องประดับเงินมาจำหน่ายในอินเดีย อาทิ Tiffany & Co.
และ Damas Jewelry อนึ่ง จากศักยภาพของไทยในการผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงินจนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก จึงเป็นโอกาส
ของไทยในการเข้าไปรุกตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียที่กำลังได้รับความนิยม สำหรับเครื่องประดับที่ทำด้วยเงินที่ชาวอินเดียนิยม
มากที่สุด คือ สร้อยข้อเท้า ซึ่งผู้ประกอบการอาจออกแบบให้ร่วมสมัย เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ มีน้ำหนักเบา โดยเน้น
เจาะตลาดตามหัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีคนรุ่นใหม่อาศัยอยู่จำนวนมาก เช่น เมืองมุมไบ รัฐมหาราษฎระ เมืองกัลกัตตา รัฐเบงกอลตะวันตก
และกรุงนิวเดลี มีข้อแนะนำว่าแม้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในอินเดียยังมีโอกาสอีกมาก แต่การจะประสบความสำเร็จในตลาดอินเดีย
ได้นั้น นอกจากต้องใส่ใจศึกษารสนิยม วัฒนธรรม และประเพณี ของชาวอินเดียอย่างลึกซึ้งแล้ว ผู้ประกอบการยังควรติดตาม
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวอินเดียอย่างสม่ำเสมอ พร้อมหาทางปรับการผลิตและการออกแบบ
ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อาทิ การขยายตลาดในพื้นที่ทางเหนือซึ่งนิยมเครื่องประดับที่มีลวดลายทางศาสนาอย่าง
สัญลักษณ์ ॐ หรือที่เรียกว่า “โอม” ซึ่งเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในภาษาฮินดีที่เชื่อว่าจะนำพาความสำเร็จ ความร่ำรวย และความโชคดีมาให้
นอกจากนี้ ควรพัฒนาการผลิตเพื่อทำให้เครื่องประดับมีน้ำหนักเบาลง พร้อมออกแบบชิ้นงานให้เล็กลง เพื่อให้สะดวกต่อการสวมใส่
ในชีวิตประจำวัน รวมถึงใช้วัตถุดิบอื่นๆ แทนทองคำหรือเพชรเพื่อให้มีราคาย่อมเยา เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในช่วงวัยและฐานะ
ทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายขึ้น |
|
 |
|
 |
|
|
 |
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
|
|
|