- ลูกค้าต้องมีวงเงิน Forward Contract กับธนาคาร
- ลูกค้าสามารถทยอยจอง Forward Contract กับธนาคารได้ ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากธนาคาร
- ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ซื้อ/ผู้ขายเงินต่างประเทศล่วงหน้าต้องมีธุรกรรมรองรับการซื้อขาย (Underlying) หรือมียอดประมาณการธุรกรรมรองรับการซื้อขาย และสามารถแสดงเอกสารต่อธนาคาร ณ วันที่ทำสัญญา หรือเมื่อธนาคารร้องขอ หรือเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลร้องขอ
- หลังจากออกสัญญาแล้วลูกค้าต้องลงนามและประทับตราที่ได้ให้ไว้กับธนาคารและส่งกลับมาธนาคารภายใน 5 วันทำการ โดยสามารถนำส่งตัวจริงหรือทำผ่านระบบ MY EXIM
- ไม่มีค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา Forward Contract
- ลูกค้าสามารถทยอยซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารได้ จนกระทั่งครบตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
- ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย การยกเลิก Forward Contract สามารถทำได้โดยความยินยอมของลูกค้าและธนาคาร โดยธนาคารจะคำนวณส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward rate) และอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ ขณะนั้น
ข้อจำกัด Forward Contract เป็นสัญญาที่เป็นภาระผูกพัน เมื่อถึงวันส่งมอบ หากอัตราแลกเปลี่ยนตลาดสูงหรือต่ำกว่าอัตราที่กำหนดในสัญญา จะไม่สามารถเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนตลาดได้
- Fixed Rate Forward Contract เป็นการจองซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ที่มีการกำหนดวันส่งมอบไว้แน่นอน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ทราบกำหนดวันที่จะได้รับหรือชำระเงินตราต่างประเทศที่แน่นอน
ตัวอย่าง : การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันส่งมอบ แบบ Fixed Rate
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 บริษัท A ตกลงทำธุรกรรม Forward Contract ด้าน Import กับธนาคารเป็นจำนวนเงิน USD 800,000 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อรองรับการชำระเงินค่าสินค้า ซึ่งมีกำหนดจะชำระเงินในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัท A ตกลงทำ Forward Contract ที่จะซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับ Spot Rate ด้าน Selling ที่ 34.09 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับราคา Swap Point ระยะเวลา 7 วันที่ -0.0120 บาท
ดังนั้น ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากสัญญาฉบับดังกล่าว บริษัทฯ จะซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้ที่อัตราแลกเปลี่ยน Selling ที่ 34.09 – 0.0120 = 34.078 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- Pro Rata Forward Contract เป็นสัญญาที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยที่ลูกค้าสามารถแบ่งการส่งมอบหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นหลายครั้งภายในอายุสัญญาที่ตกลงไว้ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้า โดยอัตราแลกเปลี่ยนจะถูกคำนวณด้วย Swap Point ที่กำหนดในแต่ละช่วงเวลาจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา
ตัวอย่าง : การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันส่งมอบ แบบ Pro Rata
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 บริษัท B ตกลงทำธุรกรรม Forward Contract ด้าน Export กับธนาคาร เป็นจำนวนเงิน USD 800,000 ระยะเวลา 6 เดือน เพื่อรองรับการรับชำระเงินค่าสินค้า โดยคาดว่าจะได้รับชำระเงินในวันที่ 10 เมษายน 2568 เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัท B ตกลงทำ Forward Contract ที่จะขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับ Spot Sight Bill Rate ที่ 33.79 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และ T/T Rate ที่ 33.89 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับราคา Swap Point ในแต่ละช่วงเป็นอัตราดังนี้
ช่วงที่ส่งมอบ |
ราคา Swap Point |
Sight Bill |
T/T |
11/02/68 – 13/02/68
14/02/68 – 13/03/68 (28วัน)
14/03/68 – 16/04/68 (34วัน)
17/04/68 – 13/05/68 (27วัน)
14/05/68 – 13/06/68 (31วัน)
14/06/68 – 14/07/68 (31วัน)
15/07/68 – 13/08/68 (30วัน) |
0.0000
-0.0690
-0.1350
-0.1980
-0.2610
-0.3240
-0.3860 |
33.79
33.721
33.655
33.592
33.529
33.466
33.404 |
33.89
33.821
33.755
33.692
33.629
33.466
33.404 |
ดังนั้น หากลูกค้าขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 10 เมษายน 2568 โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากสัญญาฉบับดังกล่าว ซึ่งจะเท่ากับ 56 วันของอายุสัญญา (14/02/68-10/4/68) บริษัทฯ จะขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้ที่อัตราแลกเปลี่ยน T/T ที่ 33.821–((-0.135-0.069)/34))*28) = 33.76665 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ