การกำกับดูแลด้าน AML/CFT/WMD
ด้วยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเงินในภาคเศรษฐกิจและจำนวนอาชญากรรมที่ใช้ระบบการธนาคาร ในการปกปิดหรือแปรสภาพทรัพย์สินที่ได้รับมาโดยผิดกฎหมายให้ดูเสมือนได้รับมาจากแหล่งอันถูกต้องตามกฎหมายที่เพิ่มขึ้น ธสน. จึงยึดมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการปฏิบัติงานอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่พยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อีกทั้ง ได้พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานภายในให้สอดคล้องกับกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล (รวมถึงกระบวนการจัดให้ลูกค้าแสดงตนและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า) และจัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อแสดงถึงการมีตัวตนของธนาคาร
จากที่กล่าวข้างต้น หัวข้อนี้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงเอกสารการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยแก่ธนาคารคู่ค้า (Correspondent Bank)
เอกสารการจัดตั้ง
ลำดับ |
ชื่อเอกสาร |
เอกสาร |
1 |
พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย |
|
2 |
พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 |
|
3 |
พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 |
|
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้าน AML/CFT/WMD