ภาพรวม
2566
2565
2564
2560-2561
2551 - 2559
2541 - 2542
2536 - 2537
ภาพรวม
ธนาคารเพื่อการส่งออก
และนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ในการจัดตั้ง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (พ.ร.บ. ธสน.) พ.ศ. 2536 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้าและการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้วยการให้สินเชื่อ การค้ำประกัน การรับประกันความเสี่ยง หรือการให้บริการจำเป็นอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
นอกจากเงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากกระทรวงการคลังเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในแต่ละช่วงเวลาแล้ว (ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2564) ธสน. เป็นองค์กรที่พึ่งพาตนเองด้านการเงินด้วยการระดมทุนทั้งในรูปแบบการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทุกประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการออกตราสารทางการเงินระยะสั้นและระยะยาวจำหน่ายแก่สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาใช้ในการให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย
 
<span style="color:#f01d26;">ปี 2566</span>
ปี 2566

ได้รับเงินเพิ่มทุนงวดที่ 2


ได้รับเงินเพิ่มทุนงวดที่ 2 อีก 2,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 เพื่อขยายธุรกิจและบทบาทตามยุทธศาสตร์ใหม่ “7S”

<span style="color:#f01d26;">ปี 2565</span>
ปี 2565

พลิกโฉมองค์กร รองรับการเป็น Development Bank 


ปรับปรุงยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงาน ให้พร้อมรองรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งเสริมบทบาท ธสน. “เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยให้เติบโตในเวทีโลกอย่างยั่งยืน”
<span style="color:#f01d26;">ปี 2564</span>
ปี 2564

ได้รับอนุมัติเงินเพิ่มทุน 4,198 ล้านบาท 


ได้รับเงินเพิ่มทุนงวดแรก 2,198 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เพื่อขยายบทบาทเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank)
 
<span style="color:#f01d26;">ปี 2561</span>
ปี 2561

ประกาศใช้ พ.ร.บ. ธสน. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561


แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อขยายขอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับประกัน ความเสี่ยง เพื่อให้ ธสน. สามารถส่งเสริมและสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนได้อย่าง มีประสิทธิภาพและมีการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการ ธนาคารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
<span style="color:#f01d26;">ปี 2560</span>
ปี 2560

จุดเริ่มต้นของ ธสน. ในการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ใหม่


เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจชั้นนำระดับโลก ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย
<span style="color:#f01d26;">ปี 2559</span>
ปี 2559

ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation)


ธสน. เริ่มปรับเปลี่ยนองค์กรตามบทบาทและยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
<span style="color:#f01d26;">ปี 2552</span>
ปี 2552

ได้รับเงินเพิ่มทุน 5,000 ล้านบาท


ภายใต้ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง สำหรับการให้บริการประกัน การส่งออก เพื่อช่วยสนับสนุน นโยบายของรัฐบาลในการ ส่งเสริมการส่งออก
<span style="color:#f01d26;">ปี 2551</span>
ปี 2551

ได้รับเงินเพิ่มทุน 1,300 ล้านบาท

 
ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
<span style="color:#f01d26;">ปี 2542</span>
ปี 2542

ประกาศใช้ พ.ร.บ. ธสน. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542


แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และ อำนาจของ ธสน. ให้สามารถ สนับสนุนการลงทุนไทยใน ต่างประเทศและการลงทุนใน ประเทศที่ทำให้ประหยัดหรือ ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ ได้อย่างเต็มที่
<span style="color:#f01d26;">ปี 2541</span>
ปี 2541

ได้รับเงินเพิ่มทุน 4,000 ล้านบาท สำหรับ มาตรการเสริมสภาพคล่อง


ปี 2541 ประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่หยุดขยายสินเชื่อ ธสน. จึงออกมาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อช่วยพยุงภาคการส่งออกให้สามารถเติบโตไปได้อย่างไม่หยุดชะงัก
 
<span style="color:#f01d26;">ปี 2537</span>
ปี 2537

เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ


วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2537 ด้วยทุนประเดิมจากกระทรวงการคลัง 2,500 ล้านบาท
<span style="color:#f01d26;">ปี 2536</span>
ปี 2536

ก่อตั้ง ธสน.


ตาม พ.ร.บ. ธสน. พ.ศ. 2536 เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อดูแลการให้บริการทางการเงินสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ