ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปสู่วิสัยทัศน์และตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ธสน. ได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อให้สามารถตอบสนองสภาพแวดล้อมภายนอกและนโยบายภาครัฐมากขึ้น และรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้แข่งขันได้ในเวทีโลก อันเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกขนาดในห่วงโซ่มูลค่าให้เติบโตไปด้วยกัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยแผนยุทธศาสตร์ ธสน. ระยะ 5 ปี (ปี 2567-2571) ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยทธศาสตร-7S.jpg

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1

    1

    ยกระดับธุรกิจไทยสู่เศรษฐกิจที่เป็น ESG
    (Sustainable Growth Escalator)

    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (1.1) สนับสนุนสินเชื่อสำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในอุตสาหกรรมสีเขียวและสีน้ำเงิน (Green Economy & Blue Economy) (1.2) เป็นกลไกในการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร เช่น Carbon Credit Trade โดยมีแผนปฏิบัติการ 3 แผนงาน ได้แก่ (1.1-1) พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยครอบคลุมทั้งทางตรงและทางอ้อม (Scope 1, 2 และ 3) (1.2-1) ศึกษาแนวทางการใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนด้านสิ่งแวดล้อม และ (1.2-2) จัดทำกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวนโยบาย ธปท. สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 5 และ 10 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (ปี 2566-2570)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2

    2

    ผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้แข่งขันได้และเติบโตในตลาดโลก
    (S-curve Stimulator)

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (2.1) สนับสนุนการลงทุนและการส่งออกในอุตสาหกรรม S-curve เพื่อยกระดับภาคการผลิตของไทย โดยมีแผนปฏิบัติการ 2 แผนงาน ได้แก่ (2.1-1) ยกระดับห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของภาคอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และ (2.1-2) จัดตั้งหน่วยงานวาณิชธนกิจ (Investment Banking) สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 3, 4 และ 5 ของแผนพัฒนาฯ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3

    3

    สนับสนุนธุรกิจบริการไทยสู่ตลาดโลกเพื่อสร้างมูลค่าใหม่
    (Service Sector & Soft Power Promoter)

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (3.1) ผลักดันการพัฒนา การลงทุน และการส่งออกในธุรกิจบริการที่มีศักยภาพสูง เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สุขภาพ ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ โดยมีแผนปฏิบัติการ 1 แผนงาน ได้แก่ (3.1-1) ขยายการสนับสนุนธุรกิจบริการเป้าหมายทั้งในกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 4 และ 5 ของแผนพัฒนาฯ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4

    4

    เสริมสร้างขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ
    (Smart Agro-industry Value Creator)

    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (4.1) สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการตลอด Value Chain ให้สอดรับกับเวทีการค้าโลก และ (4.2) ส่งเสริมโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศในอุตสาหกรรมหลักของไทยผ่านกลไก เช่น Business Matching และ Value Chain Financing โดยมีแผนปฏิบัติการ 2 แผนงาน ได้แก่ (4.1-1) สนับสนุนสินค้าเกษตรเป้าหมายรองรับตลาดการส่งออก และ (4.2-1) ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปผ่านเครือข่ายพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศ สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 1และ 7 ของแผนพัฒนาฯ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5

    5

    บูรณาการกับพันธมิตรสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs
    (Synergy Arranger)
     

    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (5.1) เพิ่มการเข้าถึงทางการเงินของผู้ประกอบการไทย ผ่านการบูรณาการกับพันธมิตร และ (5.2) พัฒนาความรู้ความสามารถผู้ประกอบการครบวงจร โดยมีแผนปฏิบัติการ 2 แผนงาน ได้แก่
    (5.1-1) ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรสนับสนุนการส่งออกของผู้ประกอบการไทย และ (5.2-1) ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการครบวงจรสู่การส่งออกอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 5 และ 7 ของแผนพัฒนาฯ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6

    6

    ป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าการลงทุนไทยในต่างประเทศ
    (Safeguard for Entrepreneur)
     

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (6.1) ป้องกันความเสี่ยงการค้าการลงทุนแก่ผู้ประกอบการไทย โดยมีแผนปฏิบัติการ 3 แผนงาน ได้แก่ (6.1-1) สร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของบริการประกันให้กับผู้ประกอบการ (6.1-2) สื่อสารและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้ารับประกัน และ (6.1-3) พัฒนาระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับหมุดหมายที่ 7 ของแผนพัฒนาฯ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 7

    7

    ขับเคลื่อนการจัดการภายในองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
    (Sustainable Organization Driver)
     

    ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (7.1) เสริมสร้างฐานะการเงินที่มั่นคง เพิ่มเติมแหล่งระดมทุนใหม่ ๆ ควบคู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม (7.2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล (7.3) พัฒนาองค์ความรู้และผลิตภาพบุคลากรให้เท่าทันทักษะในยุคใหม่ และ (7.4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในองค์กร (Eco-efficiency) และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนปฏิบัติการ 13 แผนงาน ได้แก่ (7.1-1) ขยายฐานแหล่งระดมทุนใหม่ (7.1-2) ศึกษาแนวทางการนำวิธีการ Fund Transfer Pricing มาใช้ในองค์กร (7.1-3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ (Cash Management) (7.1-4) ขายหนี้จัดชั้นมีปัญหา (NPLs) (7.2-1) พัฒนาระบบ Core Banking เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (7.2-2) ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้สินเชื่อ SMEs ให้สามารถอนุมัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่าน Auto Approval (7.2-3) ยกระดับการใช้เครื่องมือสารสนเทศธุรกิจพร้อมจัดทำบัญชีและรายละเอียดข้อมูล (Data Catalogue/Data Description) (7.2-4) ย้ายศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) (7.2-5) นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของธนาคาร (7.3-1) จัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสุข ความผูกพัน และการทำงานเป็นทีม (Event of Engagement) (7.3-2) สร้างและพัฒนาศักยภาพ Talents และ Successors เพื่อฝังความผูกพันลงในกระบวนการทำงาน (Process of Engagement) (7.4-1) วัดและประเมิน Eco-efficiency ของ ธสน. และ (7.4-2) บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานของธนาคาร