EXIM BANK ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นําคณะผู้บริหาร EXIM BANK ถวายพระพรชัยมงคลและลงนามถวายพระพรผ่านระบบออนไลน์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 89 พรรษา 12 สิงหาคม 2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหาร EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเพิ่มทุน EXIM BANK 4,198 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 12 ปี
ขยายการดำเนินงานขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาเห็นชอบให้กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มทุน EXIM BANK จำนวน 4,198 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่การเพิ่มทุนล่าสุดเมื่อปี 2552 ทำให้ EXIM BANK มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 12,800 ล้านบาท เป็น 16,998 ล้านบาท ส่งผลให้สามารถขยายธุรกิจสนับสนุนผู้ประกอบการไทยได้เพิ่มขึ้น

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า การเพิ่มทุนครั้งนี้เป็นการอัดฉีดเงินให้ EXIM BANK เร่งเครื่อง “ซ่อม สร้าง เสริม” สนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับให้กลับมาทำการค้าการลงทุนได้อย่างเข้มแข็งอีกครั้ง รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัว โดยคาดว่ายอดคงค้างสินเชื่อจะเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ไปแตะระดับ 212,730 ล้านบาทในปี 2568 จากจำนวนยอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 140,600 ล้านบาท โดย EXIM BANK มุ่งจะขยายบริการทางการเงินดังต่อไปนี้

          1) บริการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ เพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) ทั้งในโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve และ Bio-Circular-Green Economy) ที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐและแนวโน้มโลก อันเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถผลิตและส่งออกสินค้า/บริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นตลอด Supply Chain

          2) บริการสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาด CLMV และตลาดใหม่ (New Frontiers) ที่ EXIM BANK มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำ (Lead Bank) นำทัพนักลงทุนไทยไปรุกตลาดได้อย่างมั่นใจ ผ่านการสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบที่หลากหลายทั้งสินเชื่อ ประกันการส่งออก และบริการอื่น ๆ ซึ่งจะกระตุ้นการส่งออกสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องของ SMEs ในประเทศตามโมเดลการลงทุนนำการค้า (Investment-induced Trade) พร้อมกับการนำเข้าวัตถุดิบหรือเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการยกระดับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ

          3) บริการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการส่งออกของ SMEs เพื่อให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขยายการส่งออก มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย รวมทั้งให้บริการทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สามารถประคับประคองธุรกิจหรือขยายธุรกิจไปยังตลาดที่ยังมีศักยภาพได้

          “การเพิ่มทุนครั้งนี้ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ของ EXIM BANK อยู่ในระดับที่เหมาะสม สถานะทางการเงินของธนาคารมีความมั่นคงยิ่งขึ้น พร้อมรองรับการขยายสินเชื่อและช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากขึ้น ตามความมุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank) ที่จะ ‘ซ่อม’ ภาคอุตสาหกรรมที่ประสบวิกฤตและฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหา ‘สร้าง’ พื้นที่สำหรับผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยให้เติบโตตลอดทั้ง Supply Chain พร้อมสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และ ‘เสริม’ ศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลกอย่างมั่นคง เพื่อเป็นกลไกของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ประชุมคณะกรรมการธนาคาร รับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  
            นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และนายนรพรรษ เพ็ชรตระกูล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมหารือกับคณะกรรมการธนาคาร EXIM BANK นำโดย ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ EXIM BANK โดยย้ำบทบาทในการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาของไทย และกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้แม้ในภาวะวิกฤต COVID-19 และผู้อำนวยการ สคร. ได้ชี้แจงนโยบายสำคัญของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ  
  EXIM BANK ร่วมเป็นวิทยากรเสริมความรู้ผู้ประกอบการไทย
โอกาสการค้าการลงทุนในแอฟริกาตะวันออก
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ เรื่อง "เปิดโอกาสการค้า
สู่แอฟริกาตะวันออก" จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาส
และสิทธิประโยชน์ด้านการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐเคนยาและประเทศในแอฟริกาตะวันออกให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยมี
นายดามพ์ บุญธรรม อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และนายอาบาบู นัมวัมบา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ สาธารณรัฐเคนยา กล่าวเปิดการสัมมนา และนางสาวศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐ
เคนยา นายณัฐพงศ์ เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไนโรบี และ ดร.โมเซส เอ็ม อิคิอาร่า
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการลงทุนเคนยา ร่วมบรรยาย เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
  EXIM BANK แนะผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ใช้ประกันการส่งออกเป็นเครื่องมือขยายธุรกิจ
พิจารณาคู่ค้าและเสนอเทอมการชำระเงินอย่างมั่นใจในวิกฤต COVID-19
 
            ดร.กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ EXIM BANK กล่าวเปิดงาน “EXIM One Solution Forum” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “วัคซีนประกันการส่งออก (Export Credit Insurance : ECI) ส่งออกมั่นใจ ยังไงก็ไม่โดนเท” ทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการและสาธารณชน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ขณะที่ภาคการส่งออกไทยเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2564 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันส่งเสริมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีฐานทุนน้อยและเปราะบางต่อความเสี่ยงทางธุรกิจมากกว่า ประกอบกับวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบให้หลายกิจการทั่วโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งบางแห่งอาจไม่แสดงอาการ เพราะได้อานิสงส์จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ดังจะเห็นได้จากสถิติการล้มละลายในปี 2563 ของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี และญี่ปุ่น ลดลงสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ขณะเดียวกันหลายกิจการยังมีสภาพคล่องดี แต่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ หากผู้ส่งออกไทยค้าขายกับคู่ค้าเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า “ประกันการส่งออก” จึงเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้ส่งออกจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจนขาดสภาพคล่องธุรกิจ หรืออาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทั้งยังช่วยให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกของไทยเพิ่มมากขึ้น

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั่วโลกใน 3 มิติสำคัญ ได้แก่ 1. มาตรการจำกัดการเดินทางของรัฐบาลทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติได้ ทั้งภาคการผลิต การบริการ และการขนส่ง ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ 2. การชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต เนื่องจากการระบาดของโรคและมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบบางรายการที่ใช้ในการผลิตสินค้า และ 3. กำลังซื้อลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน ทำให้เกิดการเลิกจ้างงานหรือลดชั่วโมงการทำงาน ภาคธุรกิจทั่วโลกจึงต้องปรับตัวและได้รับการสนับสนุนด้านการอัดฉีดสภาพคล่องและการพักชำระหนี้ EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงพร้อมสนับสนุนใน 4 ด้าน ได้แก่ เงินทุน ช่องทางการค้าออนไลน์ ความรู้ และเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง เพื่อช่วยให้ภาคส่งออกเป็นพระเอกขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

          EXIM BANK เป็นองค์กรรับประกันแห่งเดียวของไทยที่มีบริการประกันการส่งออกคุ้มครองความเสี่ยงให้แก่ผู้ส่งออกไทยจากการ
ไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การปรับปรุงเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นและสะดวก อนุมัติเร็ว เพื่อ
ตอบสนองความต้องการของผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs นอกจากนี้ ประกันการส่งออกยังช่วยให้ผู้ส่งออกรู้จักผู้ซื้อดีขึ้น กล้าเสนอ
เทอมการชำระเงินที่ผ่อนปรน และขยายตลาดส่งออกได้อย่างมั่นใจ ทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดย EXIM BANK จะจ่ายค่าสินไหม
ทดแทนและติดตามหนี้ เมื่อเกิดความเสียหายจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า นับตั้งแต่เปิดดำเนินการในปี 2537 บริการประกัน
การส่งออกของ EXIM BANK ก่อให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกของไทยเป็นมูลค่ากว่า 1.55 ล้านล้านบาท ในช่วง 7 เดือนแรกของปี
2564 มีลูกค้าประกันการส่งออกของ EXIM BANK ยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย เป็นมูลค่ากว่า 22.6 ล้านบาท
โดยประมาณ 66% มีสาเหตุจากผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้า รองลงมาอีก 26% ผู้ซื้อล้มละลาย และ 8% ผู้ซื้อ
ปฏิเสธการรับมอบสินค้า

          ทั้งนี้ EXIM BANK มีบริการประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อ/ธนาคารผู้ซื้อ ตลอดจนบริการประกันการส่งออก คุ้มครองความเสี่ยงของผู้ซื้อหรือความเสี่ยงทางการค้า ได้แก่ ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้า และผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า และความเสี่ยงของประเทศผู้ซื้อหรือความเสี่ยงทางการเมือง ได้แก่ การควบคุมการโอนเงินจากประเทศผู้ซื้อมายังประเทศไทย การห้ามนำเข้าสินค้าหรือยกเลิกสิทธิการนำเข้า และการเกิดสงคราม จลาจล ปฏิวัติ รัฐประหาร บริการประกันการส่งออกเพื่อ SMEs ในปี 2564 ได้แก่ EXIM for Small Biz สำหรับ SMEs ที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 100 ล้านบาท ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 600 บาท คุ้มครองสูงถึง 1 แสนบาท ให้ความคุ้มครอง 80% ของมูลค่าความเสียหาย และ EXIM Smart SMEs สำหรับ SMEs ที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 500 ล้านบาท ให้ความคุ้มครองสูงถึง 90% ของมูลค่าความเสียหาย ผู้ส่งออกที่มีประวัติดี ไม่มีเคลม จะได้รับเงินคืนสูงสุด 10%

          “ในวิกฤต COVID-19 ความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศที่พบบ่อยที่สุดคือ ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระเงินค่าสินค้าหรือ
ชำระไม่ครบถ้วน ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะมีความยากลำบากและต้นทุนสูงมากในการติดตามหนี้ กลายเป็นหนี้สูญเพราะผู้ซื้อในต่างประเทศ
ขาดสภาพคล่องหรือล้มละลาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับการค้าขายล็อตใหญ่กับผู้ซื้อที่ดูน่าเชื่อถือหรือมีความเสี่ยงต่ำ EXIM BANK
ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนจึงเร่งขยายบริการประกันการส่งออกให้ผู้ส่งออกไทยใช้เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจ
ค้าขายกับใคร ตลาดใด จำนวนเท่าไร หรือแม้แต่ให้เครดิตเทอมนานขึ้นแก่ผู้ซื้อที่ EXIM BANK ให้การรับประกัน ทำให้ธุรกิจส่งออก
ของไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ” ดร.รักษ์ กล่าว

          ทั้งนี้ คุณจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการและจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ รวมถึงให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าทางสถานีโทรทัศน์ และคุณจิระพงษ์ สันติภิรมย์กุล กรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่ายทั้งในและต่างประเทศภายใต้ตราสินค้า “เถ้าแก่น้อย” รวมถึงขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งออก โดยใช้บริการประกันการส่งออกเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ
 
  EXIM BANK หารือหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สนับสนุนธุรกิจส่งออกและที่เกี่ยวเนื่อง และนักลงทุนไทยในวิกฤต COVID-19
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนายสนั่น อังอุบลกุล ในโอกาสรับตําแหน่งประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงนักลงทุนไทยในวิกฤต COVID-19 ตามแนวนโยบายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK หารือธนาคารกรุงไทย สนับสนุนผู้ประกอบการไทยในวิกฤต COVID-19  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และผู้บริหาร EXIM BANK ประชุมหารือกับนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และผู้บริหาร เกี่ยวกับแนวทางขยายความร่วมมือในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงนักลงทุนไทย ตลอดจนแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ชี้ภาคส่งออกรับบทพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 64
พร้อมช่วยผู้ส่งออกสู้ COVID-19 และตอบโจทย์วิถีใหม่ โดยพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
สร้างผู้ส่งออก SMEs ผุด Pavilion การค้าออนไลน์ และบริการครบวงจรเพื่อผู้ส่งออก
 
            EXIM BANK ชี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและเติบโตแบบกระจุกในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ขณะที่ภาคส่งออกของไทยเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2564 EXIM BANK จึงขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย พัฒนา 4 ปัจจัยสู้วิกฤต COVID-19 ควบคู่กับการตอบโจทย์โลกวิถีใหม่ ได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ สร้างผู้ส่งออก SMEs รายใหม่ สร้าง Pavilion การค้าออนไลน์ และบริการครบวงจรเพื่อผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ปัจจุบัน COVID-19 ยังแพร่ระบาดทั่วโลก แต่หลายประเทศเริ่มปรับตัวและรับมือเพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินต่อไปได้ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวได้สูงถึง 6% โดยได้อานิสงส์จากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาทิ สหรัฐฯ จีน และบางประเทศในยุโรป โตมากกว่า 6% ซึ่งประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนเกินกว่า 50% ของ GDP โลก เป็นผลจากความพร้อมในการผลิตวัคซีนเองและฉีดให้แก่ประชาชนของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความพร้อมของเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น เป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์ โรงงานในบางพื้นที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนต้องหยุดการผลิต ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่ยังมีความเปราะบาง จนหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญหลายแห่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวเพียงราว 1% ขณะที่การท่องเที่ยวยังรอวันฟื้น “การส่งออก” จะกลายเป็นพระเอกประคับประคองและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 2564 ต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวถึง 15.5% โดยได้อานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาดี สินค้าไทยบางส่วนตอบรับกระแส New Normal ได้ดี และเงินบาทอ่อนค่า โดยคาดว่าในปี 2564 ภาคส่งออกจะขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 10% ขณะที่ปัจจัยลบที่ยังต้องจับตามองได้แก่ การแพร่ระบาดของ COVID-19 และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย การขาดแคลนวัตถุดิบและตู้คอนเทนเนอร์สำหรับธุรกิจส่งออก เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดความชะงักงันของกิจการ Logistics ที่มีผู้ติดเชื้อและการตรวจสอบที่เข้มงวด จนทำให้จำนวนตู้คอนเทนเนอร์กลับเข้าสู่ภาวะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน

          ดร.รักษ์ กล่าวว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนระหว่างประเทศ ตลอดจนธุรกิจของผู้ประกอบการไทยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ จึงขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง เร่งขับเคลื่อนการฟื้นตัวของภาคส่งออกและเศรษฐกิจไทยอย่างรวดเร็วตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศ โดย “พัฒนา 4 ปัจจัยสู้วิกฤต COVID-19 ควบคู่กับการตอบโจทย์โลกวิถีใหม่” เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของภาคส่งออกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 2564 ดังนี้

          1. พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ตอบรับกระแส New Normal EXIM BANK จะเป็น Lead Bank สนับสนุนการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ พลังงานทดแทน พาณิชยนาวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมสีเขียว ดิจิทัล และสุขภาพ (Green, Digital, Health : GDH)
          2. พัฒนา SMEs ให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น จากจำนวนผู้ส่งออก SMEs ของไทยในปัจจุบันมีไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งประเทศซึ่งมีจำนวน 3.1 ล้านราย EXIM BANK พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำและอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ SMEs ในทุกระดับ ผ่านกิจกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) รวมทั้งให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะทำให้ SMEs เข้าสู่ธุรกิจส่งออกได้ทันที อาทิ สินเชื่อเครือข่ายครบวงจร (EXIM Supply Chain Financing Solution) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ SMEs ที่เป็น Suppliers ของผู้ประกอบการรายใหญ่โดยไม่ต้องใช้หลักประกันเพิ่ม
          3. พัฒนา Pavilion สำหรับการค้าออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “EXIM Thailand Pavilion” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยรายเล็กซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องทางดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นวิธีการค้าขาย การโพสต์สินค้า ตลอดจนขีดจำกัดด้านเงินทุน มีโอกาสค้าขายกับคู่ค้าในต่างประเทศทางออนไลน์ได้อย่างประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับการสนับสนุนทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินจาก EXIM BANK และหน่วยงานพันธมิตรควบคู่ไปด้วย
          4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ครบวงจรเพื่อเสริมสภาพคล่องและป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ไทย รวมทั้งมาตรการ “พักหนี้” และ “เติมทุน” เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและเกี่ยวเนื่อง ผู้นำเข้า และนักลงทุนจากผลกระทบของ COVID-19 ตามนโยบายของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับนโยบาย Dual-track Policy ของ EXIM BANK ในการทำหน้าที่เป็น “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)” ขับเคลื่อนการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยให้ก้าวผ่านภาวะวิกฤตและมีโมเมนตัมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และยั่งยืน มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในโลกยุคใหม่ ขณะเดียวกัน EXIM BANK ยังทำหน้าที่เป็น “ศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs)” ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของภาคธุรกิจสามารถผันตัวเป็นผู้ส่งออกและขยายธุรกิจส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน โดย EXIM BANK จะเร่ง ‘ซ่อม’ ด้วยการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่วิกฤตและกระตุ้นให้ตลาดกลับมาน่าสนใจ ‘สร้าง’ อุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจในโลกอนาคต ‘เสริม’ ความสมดุลของการค้าและการลงทุนในตลาดหลักควบคู่กับตลาด New Frontiers รวมทั้งบุกเบิกโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ขณะเดียวกัน จะเป็นผู้ให้บริการครบวงจรร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรในการเติมความรู้ ทุน และศักยภาพ เพื่อช่วยให้ SMEs ค้าขายระหว่างประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จและเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ของผู้ส่งออกที่แข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างมั่นใจ

          “EXIM BANK จะเร่งพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้ภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทยเติบโตได้แม้ในภาวะวิกฤตและยั่งยืนต่อไป
ในอนาคตซึ่ง EXIM BANK พร้อมเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและให้เครื่องมือทางการเงินสำหรับบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการไทย
โดยเฉพาะ SMEs ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการนำเข้าเครื่องจักร และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่ม
มูลค่าสินค้า แม้ว่าผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลงในระยะสั้น แต่ภูมิคุ้มกันของผู้ส่งออกคือ ความแตกต่างอย่างโดดเด่น
ของสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในโลกยุคใหม่ภายใต้วิถีใหม่ในระยะข้างหน้าได้” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564
ขยายสินเชื่อและช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกระดับในภาวะวิกฤตได้ 9,400 ราย
สร้างปริมาณธุรกิจกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นธุรกิจ SMEs 35%
 
            EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2564 ช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งด้านการให้คำปรึกษาและบริการทางการเงินในวิกฤต COVID-19 ได้ 9,400 ราย วงเงินรวมกว่า 67,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 137,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.62% จากปีก่อน ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ 87,888 ล้านบาท ในจำนวนนี้กว่า 35% เป็นธุรกิจ SMEs สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 17% และสินเชื่อสนับสนุนการส่งออกและลงทุนของไทยไป CLMV เพิ่มขึ้นกว่า 18% ขณะเดียวกันสามารถควบคุมดูแลคุณภาพสินเชื่อ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อเท่ากับ 3.96% ลดลง 2.41% ทำให้ EXIM BANK มีผลกำไรสุทธิ 712 ล้านบาท

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ EXIM BANK ได้ขยายบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินเพื่อประคับประคองและส่งเสริมธุรกิจส่งออก ลงทุน และที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย EXIM BANK มีสินเชื่อคงค้าง 137,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,908 ล้านบาท หรือ 8.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 33,772 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 103,637 ล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 14.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการให้สินเชื่อทั้งหมดของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 87,888 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่ากับ 31,516 ล้านบาท หรือคิดเป็น 35.86% สะท้อนความสำเร็จของ EXIM BANK ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย โดยใช้นโยบาย Dual-track Policy ชูบทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)” ควบคู่กับ “การเป็นศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs)”

          ด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 EXIM BANK มีวงเงินสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 96,381 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 62,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,165 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17.32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ EXIM BANK สนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายการส่งออกและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มมากขึ้น โดยครึ่งแรกของปี 2564 มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 45,032 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,903 ล้านบาทหรือคิดเป็น 18.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้รุกตลาด CLMV อาทิ เวียดนาม ที่มีเสถียรภาพและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง อีกทั้งยังมีความต้องการการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนจำนวนมากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว

          ด้านบริการประกันการส่งออกและการลงทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้นำเข้าในต่างประเทศมีโอกาสชำระเงินล่าช้าหรือปฏิเสธการชำระค่าสินค้า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 96,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 5,828 ล้านบาท หรือ 6.42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          นอกจากนี้ EXIM BANK ยังทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน ด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระเงิน รวมถึงการพักชำระหนี้ รวมทั้งยังให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ผ่านการให้คำปรึกษาและจัดอบรมหรือสัมมนาออนไลน์ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการประมาณ 9,400 ราย เป็นวงเงินรวมกว่า 67,000 ล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ EXIM BANK มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ที่ 3.96% โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 5,436 ล้านบาท มีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 12,333 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) 226.86% ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 EXIM BANK มีกำไรสุทธิเท่ากับ 712 ล้านบาท

          “ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง EXIM BANK ยังคงเดินหน้า ‘ซ่อม’ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ให้กลับมาแข็งแรงและเดินหน้าต่อได้ ‘สร้าง’ อุตสาหกรรมของประเทศที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ด้วยส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี และ ‘เสริม’ สมดุลการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดหลักและตลาดใหม่ (New Frontiers) รวมทั้งมุ่งสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยอย่างครบวงจรตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไม่ว่าในด้านข้อมูลความรู้และเครื่องมือทางการเงิน โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของผู้ประกอบการที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรอโอกาสที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอีกครั้งในระยะข้างหน้า” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK จับมือ อมตะ คอร์ปอเรชัน สนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย
เชื่อมโยงการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMV

 
            EXIM BANK ลงนามความร่วมมือกับอมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการในนิคมกลุ่ม AMATA เข้าถึงแหล่งเงินทุนและโอกาสขยายธุรกิจส่งออกและโครงการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เชื่อมโยงกับการลงทุนใน CLMV

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (AMATA) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง EXIM BANK และ AMATA โดยมีนายอาสา สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ ซิตี้ ระยอง จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์และแสดงความยินดีในความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA และพันธมิตรในเครือข่ายธุรกิจสามารถขยายการส่งออกและลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มมากขึ้น ผ่านการประชุมออนไลน์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ภายใต้ MOU นี้ EXIM BANK จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA และพันธมิตรในเครือข่ายธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนและโอกาสใหม่ ๆ ทางการค้าและการลงทุนภายในและระหว่างประเทศ โดยสอดคล้องกับภารกิจของ EXIM BANK ที่จะเร่ง “ซ่อม สร้าง เสริม” ผู้ประกอบการไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในภาวะวิกฤต COVID-19 ภายใต้บทบาทที่มุ่งจะเป็น “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย” กล่าวคือ EXIM BANK จะ ‘ซ่อม’ ภาคอุตสาหกรรมที่ประสบวิกฤต ‘สร้าง’ อุตสาหกรรมใหม่สู่อนาคต เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว ดิจิทัล และสุขภาพ (Green, digital, health : GDH) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และ ‘เสริม’ ความสมดุลของการส่งออกและการลงทุนของไทยในตลาดเดิมและตลาดใหม่ซึ่งรวมถึง CLMV เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เชื่อมโยงกับการส่งออกและการลงทุนของไทยทั้งในและต่างประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

          “ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ AMATA ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการทุกระดับในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA ตั้งแต่รายย่อยไปจนถึงรายกลางและรายใหญ่ตลอดทั้ง Supply Chain ให้มีความพร้อมที่จะยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาธุรกิจส่งออกและลงทุนให้มีความแข็งแกร่ง เชื่อมโยงการลงทุนภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ร่วมเป็นวิทยากรเสริมทัพนำ SMEs ไทยบุกตลาดส่งออก ฝ่าวิกฤตโควิด-19  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ถ่ายภาพร่วมกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ องค์ปาฐกกล่าวเปิดงานสัมมนาเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ประจำปี 2564 หัวข้อ “Move On ฝ่าวิกฤตโควิด เศรษฐกิจต้องเดินหน้า” โดยมีนางสาววิมล ตัน บรรณาธิการเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ นายพัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์ บรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ และนายวรศักดิ์ ประยูรศุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน ให้การต้อนรับ โดย EXIM BANK พร้อมร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ด้วยการบ่มเพาะความรู้ สร้างเครือข่ายธุรกิจ และเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้พร้อมเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออกได้อย่างประสบความสำเร็จ ท่ามกลางความท้าทายในวิกฤตโควิด-19 ณ อาคารข่าวสด เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK จับมือลูกค้าและพันธมิตร ส่งมอบอาหารจากโรงครัว CSR
บรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
 
            ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหาร พนักงาน และลูกค้า EXIM BANK พร้อมด้วยนางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตพญาไท ร่วมประกอบอาหารปรุงสุกใหม่โดยแม่ครัวร้านอาหารในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำนวน 800 กล่อง พร้อมขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ไปส่งมอบให้ผู้ติดเชื้อและกักตัวในชุมชนพระราม 4 คลองเตย ผ่านสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพญาไท และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานีฉีดวัคซีน COVID-19 SCG สำนักงานใหญ่ ในกิจกรรม “ครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM” ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า อาทิ บริษัท ฟู้ดสเป็คเชียลไลซ์ จำกัด บริษัท เม้งไต๋ไรซ์ จำกัด บริษัท เจินเฟรช จำกัด บริษัท ออร์แกนิค แอนด์ แนชเชอรัล จำกัด บริษัท ซันนิสแน็ค พลัส จำกัด บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) บริษัท เวิลด์ ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท เนเจอร์เบสท์ฟู้ด จำกัด และพันธมิตรตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
            ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร EXIM BANK และนางขวัญใจ เตชเสนสกุล
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหาร พนักงาน พร้อมด้วยนายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองอธิบดี
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการ
หอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต ร่วมประกอบ
อาหารปรุงสุกใหม่สมทบกับแม่ครัวร้านอาหารในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำนวน 800
กล่อง เพื่อส่งมอบพร้อมข้าวกล่องอีก 100 กล่องจากโครงการปัญญา ปันอิ่ม ของปัญญาอินทรา กอล์ฟ
คลับ รวมทั้งขนมและเครื่องดื่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK ลูกค้า
พันธมิตร ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ให้แก่ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 และกักตัวในชุมชน โดยสัปดาห์นี้
ส่งมอบให้แก่ชุมชนคนไร้เสียง ชุมชนบึงพระราม 9 พัฒนา ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตบางขุนเทียน
ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อสำหรับผู้ป่วย COVID-19 พิการทางสายตา ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ในกิจกรรม “ครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM” ภายใต้โครงการ
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่
เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
            นายคณิทธิ์ สว่างวโรรส กรรมการ EXIM BANK และนางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหารและพนักงาน พร้อมด้วยนางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตพญาไท ร่วมประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สมทบกับอาหารกล่องและขนมจากร้านอาหารในชุมชนและผู้ร่วมบริจาค อาทิ ร้านอาหารแม่ยุ้ย และโครงการปัญญา ปันอิ่ม ของปัญญาอินทรา กอล์ฟ คลับ รวมทั้งสิ้น 1,100 กล่อง มอบให้แก่ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 และกักตัวในชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดสระเกศ ชุมชนศุภมิตร 1 ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อสำหรับผู้ป่วย COVID-19 พิการทางสายตา ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพญาไท ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และผ่านกลุ่มเส้นด้าย ในกิจกรรม “ครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM” ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
            นางสาวเกตสุดา สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และกรรมการ EXIM BANK และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมกับนายเติมพงศ์ อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเพรสโซ่ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดกาแฟ และ นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Gracz ร่วมเปิดโรงครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM เป็นครั้งแรก ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า อาทิ บริษัท เอ็มเพรสโซ่ จำกัด บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) บริษัท เวิลด์ ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เนเจอร์เบสท์ฟู้ด จำกัด และผู้มีจิตศรัทธา เพื่อจัดทำอาหารปรุงสุกใหม่โดยแม่ครัวร้านอาหารในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ไปส่งมอบให้ผู้ติดเชื้อและกักตัวในชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งครั้งแรกได้นำส่งอาหารกล่อง 800 กล่อง พร้อมขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มไปยังกลุ่มเส้นด้าย โรงพยาบาลราชวิถี ชุมชนวัดมะกอกส่วนหน้า ชุมชนวัดมะกอกกลางสวน และชุมชนสุขสวัสดิ์ เขตพญาไททั้งนี้ โรงครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM จะเปิดทุกวันเสาร์ตลอดเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้  
  EXIM BANK สนับสนุนเงินบริจาคและน้ำดื่มช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19
ในศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพญาไท
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบเงินบริจาคและน้ำดื่มให้แก่นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตพญาไท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรค COVID-19 ณ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) สำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ก่อนส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่สถานพยาบาล ภายใต้โครงการ CSR “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ผ่านสำนักงานเขตพญาไท ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบนโยบายครึ่งหลังปี 2564 แก่พนักงาน
พร้อมช่วยภาคธุรกิจและสังคมสู้วิกฤต COVID-19
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบนโยบายการดำเนินงานครึ่งหลังปี 2564 ของ EXIM BANK แก่ผู้บริหารและพนักงานธนาคารในงานกรรมการผู้จัดการพบพนักงาน (Town Hall Meeting) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบการประชุมทางออนไลน์กับผู้บริหารและพนักงานสำนักงานใหญ่ สาขา และสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมอบนโยบายให้ EXIM BANK เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการควบคู่กับการดูแลประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการทุกระดับให้เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจ ต่อเนื่องจากการดำเนินงานในครึ่งแรก ปี 2564 ที่บรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ ยอดสินเชื่อคงค้างและปริมาณธุรกิจบรรลุเป้าหมายปีนี้ สามารถให้วงเงินอนุมัติใหม่และบริการประกันการส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินเป็นเม็ดเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิของ EXIM BANK ในเดือนกรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 920 ล้านบาท  
  EXIM BANK จับมือลูกค้าและพันธมิตร ส่งมอบอาหารจากโรงครัว CSR
บรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
 
            นางวรรธนา มงคลศรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหาร พนักงาน พร้อมด้วยนายเติมพงศ์ อยู่วิทยา กรรมการ
ผู้จัดการ บริษัท เอ็มเพรสโซ่ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดกาแฟ และนายอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการผู้จัดการ
อาวุโส บริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ซี แวลู จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่า ลูกค้า EXIM BANK ร่วมประกอบอาหารปรุงสุกใหม่กับแม่ครัวร้านอาหารในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำนวน 800 กล่อง เพื่อส่งมอบพร้อมข้าวกล่องอีก 200 กล่อง ขนมและเครื่องดื่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า พันธมิตร ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ให้แก่ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 และกักตัวในชุมชนซอยสีน้ำเงิน บางซื่อ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตจตุจักร ณ ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์และศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และผ่านกลุ่มเส้นด้าย ในกิจกรรม “ครัวกลางชุมชนคนอารีย์ by EXIM” ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
  หน้าหลัก  I  Share โลกเศรษฐกิจ  I  เปิดประตูสู่ตลาดใหม่  I  รู้ทันเกมการค้า  I  เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ
เรื่องเล่าจาก CLMV  I  CEO Talk  I แวดวงคู่ค้า  I  แนะนำบริการ  I  สรุปข่าว