EXIM BANK ถวายพานพุ่มราชสักการะน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำผู้บริหาร EXIM BANK ร่วมพิธีถวายพานพุ่มราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK จัดพิธีถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ และสวดโพชฌังคปริตร เจริญจิตภาวนา ถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ในเร็ววัน ในโอกาสนี้ EXIM BANK ได้มอบเงินสมทบมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย โดยมีนางปาริชาติ ธีระศิลป์ รองผู้จัดการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบ เพื่อถวายเป็นราชกุศล ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ี้  
  EXIM BANK ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
 
            นางปาริสา ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมด้วยผู้บริหาร EXIM BANK ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK สานพลังทีมไทยแลนด์และพันธมิตรในญี่ปุ่นส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น
กระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในเอเชีย-แปซิฟิก
 
    ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK นำโดย ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM  
  BANK พร้อมด้วยกรรมการ EXIM BANK นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน (SubPAC) ผู้บริหารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (Institute of Research and Development for Public Enterprises : IRDP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจ EXIM BANK ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ได้พบปะหารือและขยายความสัมพันธ์กับหน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนในญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ภาคธุรกิจไทยในการขยายการค้าและการลงทุนกับญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วยธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC), องค์กรรับประกันการส่งออกและลงทุนแห่งประเทศญี่ปุ่น (Nippon Export and Investment Insurance : NEXI), TradeWaltz, MUFG Bank, Ltd. และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) เมื่อเร็ว ๆ นี้  
    ดร.รักษ์ กล่าวต่อไปว่า ญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของไทย ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก  
  (รองจากสหรัฐฯ และจีน) เป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับ 1 ในไทย โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต อาทิ เครื่องจักร ยานยนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ใน 10 อันดับแรกที่นักธุรกิจไทยสนใจไปลงทุน อาทิ โรงแรม อาหาร เสื้อผ้า สปา โทรคมนาคม ก่อสร้าง และพลังงานทดแทน เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 ของไทย (รองจากจีน) ซึ่ง 80% ของสินค้านำเข้าจากไทยเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนไทยนิยมนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบมูลค่าสูงจากญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 0.9% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในญี่ปุ่นอยู่ระหว่างค่อย ๆ ฟื้นตัว เป้าหมายภารกิจของ EXIM BANK ในครั้งนี้ จึงได้แก่ การสานพลังหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชนไทย ร่วมกับทีมประเทศไทย เพื่อเสริมและยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก โดยเล็งเห็นถึงศักยภาพของญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรมถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ตามนโยบายของรัฐบาลไทย  
  ในโอกาสนี้ EXIM BANK ได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการเงินของญี่ปุ่น ดังนี้  
    บันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศ
ญี่ปุ่น ระหว่าง EXIM BANK กับ JBIC
 
  ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายอามากาวะ คาซูฮิโกะ รองผู้ว่าการธนาคาร JBIC ได้ลงนาม  
  ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศญี่ปุ่น ทั้งด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน อาทิ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อต่อยอดไปสู่การขยายการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่นและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดภายใต้โมเดล BCG Economy โดยต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทางวัฒนธรรม สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีนายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ JBIC สำนักงานใหญ่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น  
  ภาคผนวกบันทึกความเข้าใจ (Addendum) ระหว่าง EXIM BANK กับ NEXI  
  ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายอัทซูโอะ คุโรดะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  
  EXI ลงนามในภาคผนวกบันทึกความเข้าใจ (Addendum) เพิ่มเติมจาก MOU ระหว่างทั้งสองหน่วยงานที่ลงนามไว้เมื่อปี 2563
โดยมี ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK และผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรร่วมเป็นสักขีพยาน ณ NEXI สำนักงานใหญ่
กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ EXIM BANK และ NEXI จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทย
และญี่ปุ่นมีความรู้ความเข้าใจด้านเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ
ระหว่างประเทศได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และพื้นที่
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย โดยปี 2566 EXIM BANK จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมองค์กรรับประกันการส่งออก
ของรัฐระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Regional Cooperation Group CEO Meeting) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการ
พัฒนาและขยายบริการประกันการส่งออกและลงทุนแก่ภาคธุรกิจในประเทศต่าง ๆ
 
  นอกจากนี้ยังได้พบปะหารือกับหน่วยงานพันธมิตรของ EXIM BANK จากภาครัฐและภาคเอกชนในญี่ปุ่น ดังนี้  
  เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว  
  ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK นำคณะ เข้าเยี่ยมคารวะและพบปะหารือกับนายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์  
  เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เพื่อแนะนำยุทธศาสตร์และบทบาทใหม่ของ EXIM BANK ในฐานะธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย และแนวทางส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และภายใต้กรอบข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวมทั้งยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว  
  TradeWaltz ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการค้าระหว่างประเทศ  
  ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK นำคณะ พบปะหารือกับนายซาโตรุ โซเมยะ กรรมการผู้จัดการ TradeWaltz  
  Inc. และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาและเชื่อมโยงข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยกับญี่ปุ่น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลสำหรับตัดสินใจและค้นหาคู่ค้า ลดต้นทุนและความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร โดย TradeWaltz อยู่ระหว่างต่อเชื่อมระบบกับแพลตฟอร์มกลางด้านการค้าของนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจเข้าถึงแหล่งสินค้าหรือวัตถุดิบได้รวดเร็ว  
  JICA  
  ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK นำคณะ พบปะหารือกับนายเคอิชิโระ นากาซาวา ผู้อำนวยการอาวุโส  
  ฝ่ายเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และแปซิฟิก และฝ่ายการเงินพันธมิตรภาคเอกชน ณ JICA เกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งการลงทุนภายใต้ ACMECS โดยเฉพาะโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและ BCG
 
  MUFG Bank, Ltd. และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  
  ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK พร้อมด้วยกรรมการ EXIM BANK และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการ  
  ผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะ พบปะหารือกับคณะผู้บริหาร MUFG Bank, Ltd. และนายประกอบ เพียรเจริญ กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารในเครือของ MUFG Group เพื่อหารือกรอบความร่วมมือและแลกเปลี่ยนมุมมองการดำเนินธุรกิจตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ MUFG Bank, Ltd. ถือเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตรและคู่ค้าที่สำคัญของ EXIM BANK ที่จะช่วยสนับสนุนบทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เชื่อมโยงการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ EXIM BANK  
 
  EXIM BANK ส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่น
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และสังคมคาร์บอนต่ำ
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK นำโดย ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK พร้อมด้วยกรรมการ EXIM BANK และนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน (SubPAC) ผู้บริหารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (Institute of Research and Development for Public Enterprises : IRDP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจ EXIM BANK ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ได้เยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ในกลุ่มบางจาก คอร์ปอเรชั่น กำลังการผลิตตามสัญญา 20 เมกะวัตต์ (MW) ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีนางเสาวภาพ สุเมฆศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ให้การต้อนรับและนำชมโครงการ ซึ่ง EXIM BANK ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2563 วงเงินกู้รวมกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยที่มีศักยภาพสามารถขยายการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประชาคมโลก ทั้งนี้ BCPG เป็นกลุ่มนักลงทุนไทยที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ กำลังการผลิตรวมกว่า 390 MW และมีโครงการอยู่ในแผนงานอีกกว่า 700 MW

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพและเข้าไปลงทุนจำนวน
ไม่น้อยในหลายประเทศ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สถาบัน
การเงินญี่ปุ่นมีนโยบายให้การสนับสนุนสินเชื่อโครงการลงทุนด้านพลังงานภายหลังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและดำเนินการเชิงพาณิชย์
แล้ว EXIM BANK จึงเข้าไปเติมเต็มด้วยการสนับสนุนเงินกู้ระยะสั้น 2-3 ปีในรูปแบบ Bridging Loan ให้แก่โครงการในระยะการก่อสร้าง
ผ่านบริษัทแม่ในไทย ภายหลังเมื่อโครงการก่อสร้างแล้ว นักธุรกิจไทยจึงจะได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินญี่ปุ่นหรือออก Project Bond
มาชำระคืนเงินกู้ให้แก่ EXIM BANK โดยที่ผ่านมา EXIM BANK ได้สนับสนุนโครงการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงาน
ความร้อนใต้พิภพในญี่ปุ่น รวม 25 โครงการ กำลังการผลิตรวมกว่า 200 MW วงเงินกู้รวมกว่า 12,000 ล้านบาท โดยสอดคล้องกับ
แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy)

          “ด้วยวิสัยทัศน์ของ EXIM BANK ที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยให้เติบโตในเวทีโลกอย่างยั่งยืน EXIM BANK จึงกล้าที่จะก้าวนำและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ทางการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะในธุรกิจ GDH (Green, Digital, Health) ตามเทรนด์โลกยุค Next Normal ปลดล็อกทุกข้อจำกัดเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ โอกาส และเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย ดังเช่นการพัฒนาโมเดลการสนับสนุนเงินทุนให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของคนไทยในญี่ปุ่น สร้างผลกระทบในเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกในเวลาเดียวกัน” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ยืนยันตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดในระบบให้นานที่สุด
ตอกย้ำจุดยืน “กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย”
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า จากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีจาก 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มี
ภารกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ยังตอกย้ำจุดยืน “EXIM BANK กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย” ด้วยการ
ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ให้นานที่สุดในอัตรา Prime Rate 5.75% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ
ควบคู่กับการจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือและโปรโมชันพิเศษอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการแบ่งเบาภาระลูกค้าและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะคนตัวเล็กในกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากและ
SMEs ให้สามารถอยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าการลงทุนใน
เวทีโลกได้อย่างมั่นใจและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทยอย่างยั่งยืนท่ามกลางปัจจัย
ท้าทายที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนและโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในโลกยุค Next Normal
 
  EXIM BANK มอบของขวัญปีใหม่ 2566 สินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออกเพื่อบุคคลทำธุรกิจและ SMEs
พร้อมมาตรการแก้หนี้รับปีกระต่าย
 
            EXIM BANK จัดเต็มแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ 2566 เพื่อผู้ส่งออก “สินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก” เพื่อบุคคลทำธุรกิจ
และ SMEs สนับสนุนคนตัวเล็กให้กล้าเริ่มต้นบุกตลาดส่งออกด้วยเงินทุนพร้อมความคุ้มครองกรณีไม่ได้รับการชำระเงิน
ค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ พร้อม “มาตรการแก้หนี้ รับปีกระต่าย” ตัดต้นก่อนดอก ยืดหนี้ เพื่อกระตุ้นการส่งออก
ของไทยในตลาดที่ยังมีศักยภาพและช่วยเตรียมความพร้อมผู้ส่งออกไทยรับโอกาสใหม่ทางธุรกิจปีหน้า


          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปี 2566 สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกเต็มไปด้วยความเสี่ยงและโอกาสที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ โดยความเสี่ยงหลัก ๆ มาจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจสําคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่อาจรุนแรงถึงขั้นถดถอย ขณะที่สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตและการเงินของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจและ SMEs อาจได้รับผลกระทบมากกว่า

          อย่างไรก็ตาม โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจในตลาดโลกยังมีอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในตลาดที่มีศักยภาพ อาทิ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตะวันออกกลาง อีกทั้งสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอยู่อีกมาก อาทิ อาหาร และสินค้าที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว EXIM BANK ร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง จึงจัดทํามาตรการของขวัญเพื่อส่งมอบความสุขต้อนรับปีกระต่ายให้แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยและ Rebate เงินคืน ดังนี้

          กล่องของขวัญที่ 1 สินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก เพื่อบุคคลทำธุรกิจ และ SMEs
          EXIM BANK ให้ “อัตราดอกเบี้ย” 4.34% ต่อปีถึงไม่เกิน 6.60% ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้ารายเดิมและรายใหม่ ด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้คนตัวเล็กกล้ามีความกล้าและความพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจ คือ

          สินเชื่อบุคคลทำธุรกิจ (EXIM Personal biz)
             ครั้งแรกของการปลดล็อกให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถกู้ EXIM BANK ได้ โดยได้รับเงินทุนเริ่มต้นธุรกิจสูงสุด 5 แสนบาท เมื่อมียอดขายและจ่ายดี EXIM เพิ่มทุนให้อีกสูงสุดรวม 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 6.60% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

          สินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกป้ายแดง
             ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการกลุ่ม Startup และ SMEs มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเริ่มต้นส่งออกได้ วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 4.34% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

          สินเชื่อ EXIM Shield Financing
             ผลิตภัณฑ์เพื่อ SMEs ที่ต้องการเริ่มต้นหรือขยายตลาดส่งออก เป็นเงินทุนหมุนเวียนพร้อมความคุ้มครองกรณีผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระเงินค่าสินค้า วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 5.09% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

          กล่องของขวัญที่ 2 มาตรการแก้หนี้รับปีกระต่าย ตัดต้นก่อนดอก ยืดหนี้
          สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนของ EXIM BANK ธนาคารขยายเวลาชำระหนี้ ร่วมกับการตัดเงินต้นก่อนดอกเบี้ย รวมทั้งคืนเงิน 2% ของดอกเบี้ยจ่ายสะสม หากชำระหนี้เป็นปกติ เพื่อช่วยลดภาระและต้นทุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้ และแก้ไขปัญหาหนี้ของลูกค้าอย่างยั่งยืน

          “EXIM BANK ขอส่งความสุขให้แก่ภาคธุรกิจ ด้วยแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ ประกอบด้วยสินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก อัตราดอกเบี้ยพิเศษ และพิเศษในปีนี้ ธนาคารมีสินเชื่อให้แก่บุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจให้พร้อมเริ่มต้นส่งออกได้ และมาตรการแก้หนี้ ตัดต้นก่อนดอก ยืดหนี้ พร้อมคืนเงิน 2% หากชำระเป็นปกติ เพื่อให้ภาคธุรกิจมีขวัญกำลังใจและสภาพคล่อง รับโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจในปีหน้าได้” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ชี้ทางรอดปีกระต่ายต้องรุกตลาด CLMV และตะวันออกกลาง
ควบคู่พัฒนาธุรกิจสู่อนาคต แก้เกมเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
 
            EXIM BANK ชี้ทางรอดของผู้ประกอบการไทยคือ การปรับตัวรุกตลาดที่มีศักยภาพและมีความต้องการสินค้าไทย ควบคู่กับ
การพัฒนาสินค้าตามเทรนด์โลกยุคใหม่ โดยใช้ EXIM BANK และกลไกของภาครัฐเป็นเครื่องมือพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดโลกยุค
Next Normal เนื่องจากเศรษฐกิจไทยปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัว 3.5% สวนทางเศรษฐกิจโลกที่น่าจะชะลอลงเหลือ 2.7% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยและการบริโภคของภาคเอกชน ขณะที่การส่งออกอาจชะลอตัวลง
ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

         ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว
3.5% สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าจะชะลอลงเหลือ 2.7% ต่ำสุดในรอบ 21 ปี (ไม่รวม
ปีที่เกิดวิกฤต) โดยไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ด้วยแรงขับเคลื่อนสำคัญ
จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาไทยมากกว่า 20 ล้านคน
เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อน รวมถึงแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีตามการเพิ่มขึ้น
ของรายได้เกษตรกรและการจ้างงานในภาคบริการที่ฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว

         ขณะที่ภาคการส่งออกซึ่งเคยเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีแนวโน้มชะลอลง
สะท้อนได้จากดัชนีชี้นำการส่งออกของไทย จัดทำโดย EXIM BANK (EXIM Index) ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบ 8 ไตรมาส คาดว่า การส่งออกของไทยทั้งปี 2566 จะขยายตัวเพียง 1-2% ชะลอลงจาก 7-8% ในปี 2565 โดยมีปัจจัยกดดัน
มาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยทั้งสหรัฐฯ และยุโรปที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ
เศรษฐกิจถดถอย (Recession) มากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน ปัญหา Global Supply Chain
Disruption แม้จะคลี่คลายลงบ้าง แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและความตึงเครียดทาง
ภูมิรัฐศาสตร์ที่มีต่อเนื่องยังคงจะกดดันการส่งออกไทยในระยะถัดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ทางรอดของผู้ประกอบการไทยในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เพื่อคว้าโอกาสในตลาด
ที่ยังมีพื้นที่สำหรับสินค้าไทย ได้แก่
          1. การรุกส่งออกไปยังตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่ง
ในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2565 การส่งออกของไทยไปตลาดดังกล่าวเติบโตกว่า 15% และ 26% ตามลำดับ
          2. การส่งออกสินค้าที่เติมเต็มช่องว่างทางการตลาด เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิ อาหาร ผลไม้ เครื่องสำอาง
เครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น และสินค้าไทยที่สามารถเจาะตลาดประเทศคู่ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ อาทิ การส่งออกเครื่องใช้
ไฟฟ้าของไทยไปทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ และการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเข้ามาในไทยมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม
อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยในการแทรกตัวเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตแห่งอนาคต
ได้อีกด้วย
          3. การส่งออกสินค้าที่เกาะกระแสเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น กระแสรักษ์สุขภาพและกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กลายมาเป็น
New World Order
          ดร.รักษ์ กล่าวว่า EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทย รวมถึงบุคคลธรรมดา
ที่ทำธุรกิจ ใช้โอกาสที่จะเข้ามาในปีหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจให้เชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลก พัฒนากลยุทธ์และไลน์
การผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการสนับสนุนธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจควบคู่กับสังคมและ
สิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค นำไปสู่การพัฒนาของทุกภาคส่วนอย่างสมดุลและยั่งยืน

          “ปี 2566 ยังมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้ามากมาย แต่โอกาสใหม่ ๆ ก็แทรกตัวอยู่ในตลาดและสินค้าที่ไทยมีศักยภาพจะแข่งขันได้
EXIM BANK จึงพร้อมทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและเครื่องมือทางการเงินครบวงจรที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจของไทยเข้มแข็งขึ้น
ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงวิสาหกิจชุมชนและกิจการทุกระดับที่มีความฝันจะขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้นบน
แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ต่าง ๆ หัวใจสำคัญคือ ความสามารถในการปรับตัวและก้าวทันโลกยุคใหม่โดยใช้กลไกและการสนับสนุน
ของภาครัฐ รวมถึง EXIM BANK ซึ่งมุ่งมั่นดำเนินบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทยที่ ‘กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย’ เพื่อ
เปลี่ยนประเทศไทยและโลกในวันพรุ่งนี้ให้ดีและน่าอยู่กว่าเดิม” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK โชว์สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง
คงอันดับเครดิตภายในประเทศระดับ AAA(tha) เป็นปีที่ 17 ติดต่อกัน
 
            ท่ามกลางความผันผวนของตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศ
คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ EXIM BANK ที่ 'AAA(tha)' เป็นปีที่ 17 ติดต่อกัน
โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต
มีเสถียรภาพ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในบทบาทของธนาคารที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
ภายหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ในมิติการค้าและการลงทุน เชื่อมโยงกับการเติบโตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนา
องค์กรอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะรายย่อยที่ยังเข้าไม่ถึงบริการจากธนาคารพาณิชย์
ให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ สู่เป้าหมายการสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยในตลาดโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เนื่องจากภาคการส่งออกคิดเป็น 58% ของ GDP ประเทศไทย โดย EXIM BANK มุ่งเน้นการ “เติมทุน เติมความรู้ และเติมโอกาส
ให้แก่ผู้ประกอบการ ตั้งแต่ระดับวิสาหกิจชุมชนไปจนถึงผู้ประกอบการทั่วไปตลอดทั้ง Supply Chain การส่งออก โดยสอดคล้องกับ
นโยบายของรัฐบาล อีกทั้ง EXIM BANK ยังเป็นธนาคารของรัฐเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการประกันการส่งออกและ
ประกันความเสี่ยงการลงทุน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยเริ่มต้นหรือขยายการค้าการลงทุนไปยังเวทีโลกอย่างมั่นใจและ
เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในโลกที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ยุค Next Normal

          ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ พลิกจากผลขาดทุนสุทธิ 1,340 ล้านบาทในปี 2563 เป็นกำไรสุทธิ 1,531 ล้านบาทในปี 2564 สูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงานในปี 2537 ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า คาดการณ์แนวโน้มรายได้จะยังคงเติบโตในระดับที่เหมาะสมตามเป้าหมายจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและปรับบทบาทใหม่ “กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย” ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการความเสี่ยงของคุณภาพสินทรัพย์อย่างเหมาะสม
 
  EXIM BANK คงอันดับความน่าเชื่อถือสูง ต่อเนื่อง 14 ปีซ้อน
ตอกย้ำสถานะการเงินแข็งแกร่ง มุ่งสู่จุดยืนใหม่ “กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย”
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า Moody’s Investors Service (Moody’s) ซึ่งเป็น
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ (International Credit
Rating) ของ EXIM BANK ที่ระดับ Baa1 มุมมองความน่าเชื่อถือที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่งเป็นอันดับสูง
เทียบเท่าอันดับเครดิตของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 14
ตอกย้ำความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานะทาง
การเงินของ EXIM BANK ที่มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก
ทั้งจากนโยบายการเงินตึงตัวในหลายประเทศและภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงทั่วโลก รวมถึงสะท้อนถึงบทบาทและภารกิจที่สำคัญของ EXIM BANK ในการเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดย EXIM BANK ยังคงมุ่งมั่น
ดำเนินภารกิจ “ซ่อม สร้าง เสริม และสานพลัง” การพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการสนับสนุนสินเชื่อและประกันการส่งออกและลงทุนให้แก่
ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว

          ทั้งนี้ EXIM BANK ตั้งเป้าหมายขยายสินเชื่อคงค้างเป็น 300,000 ล้านบาทภายในปี 2570 และมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและบทบาทใหม่ที่พร้อมเดินเกมรุกขยายบทบาทการเป็นผู้นำ (Lead Bank) ที่ “กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย (One Step Ahead for All Development)” สร้างนักรบเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในเวทีโลก ด้วย 3 เครื่องมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การสร้างตัวตนแบบครบวงจรให้ SMEs ไทยในเวทีโลก สร้างโอกาสการลงทุนในต่างแดน โดยเฉพาะตลาดใหม่ รวมถึง CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ต่อด้วยบริการยกระดับธุรกิจไทยสู่โมเดลธุรกิจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) มุ่งสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำตามนโยบายรัฐบาล เพื่อตอกย้ำบทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย” ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม
 
  EXIM BANK คว้ารางวัล International Innovation Award 2022 ประเภท Service & Solution
โครงการสินเชื่อ Solar Orchestra ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK รับรางวัลประเภทการบริการ (Service & Solution) ผลงานโครงการสินเชื่อ Solar Orchestra จาก ดร.ฟง ชาน ออน ประธานที่ปรึกษาอาวุโส เอ็นเตอร์ไพรส์เอเชีย และนายวิลเลียม อึ้ง รองประธาน เอ็นเตอร์ไพรส์เอเชีย ในงานประกาศรางวัล International Innovation Award (IIA) 2022 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 6 โดย Enterprise Asia ถือเป็นรางวัลระดับภูมิภาคอันทรงคุณค่าที่มอบให้แก่องค์กรที่มีนวัตกรรมโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในด้านต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ การบริการ องค์กรและวัฒนธรรม พร้อมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการส่งเสริมนวัตกรรมองค์กรร่วมกับองค์กรชั้นนำ ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          โครงการสินเชื่อ Solar Orchestra เป็นนวัตกรรมที่ EXIM BANK ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของ EXIM BANK และเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อออกแบบบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ นับเป็นการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) ที่ตอบสนองเป้าหมายของประเทศไทยในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 ร่วมกับประชาคมโลก เพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular Green Economy : BCG Economy) โครงการดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกปรับตัวทางธุรกิจโดยหันมาใช้พลังงานสะอาด ด้วยการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนสูง ช่วยลดผล
กระทบต่อภาคการส่งออกของไทยจากมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ของสหภาพยุโรป (EU) รวมทั้งมาตรการในลักษณะเดียวกันของประเทศอื่น ๆ และด้วยความร่วมมือของคู่ความร่วมมือพันธมิตร ทำให้ผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs สามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) ที่องค์กรก๊าซเรือนกระจกได้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดย EXIM BANK สนับสนุนเงินกู้ 100% ซึ่งผู้ประกอบการจะชำระเงินลงทุนเมื่อคู่ความร่วมมือพันธมิตรติดตั้ง Solar Rooftop แล้วเสร็จและเริ่มผลิตไฟฟ้า

          “EXIM BANK กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย เป็นจุดยืนใหม่ที่ธนาคารจะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อนำพาภาคธุรกิจไทยก้าวไปสู่โลกยุค Next Normal ได้อย่างมั่นคงในเวทีโลก โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความพร้อมของบุคลากรในการพัฒนาเครื่องมือและรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างสมดุล” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK สนับสนุนทางการเงิน 500 ล้านบาท บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และขยายตลาดสินค้าอาหารในไทยและต่างประเทศ
 
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) (TFMAMA) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK ในรูปแบบวงเงินหมุนเวียน จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องและศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหาร รองรับการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดใหม่ (New Frontiers) อาทิ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยมีนายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ TFMAMA และนายวสันต์ บุญสัมพันธ์กิจ ผู้จัดการฝ่ายการเงินและการลงทุน TFMAMA ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ TFMAMA สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า EXIM BANK สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ TFMAMA ในครั้งนี้ ด้วยเล็งเห็นถึง
ศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดใหม่
อย่างประเทศในแอฟริกาและ New Frontiers ซึ่ง TFMAMA มีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักและได้รับ
ความนิยมมายาวนานกว่า 50 ปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสนับสนุนสภาพคล่องและเสริมศักยภาพในการผลิตสินค้าของ
TFMAMA จะช่วยให้บริษัทมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นที่จะขยายกำลังการผลิตและพัฒนาสินค้ารองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเป็นการสนับสนุนการขยายตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปยังตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ
และความต้องการสินค้าอาหารของไทย

          “EXIM BANK พร้อมนำผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทย ก้าวไปสู่โลกยุค Next Normal ด้วยจุดยืน ‘กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย’ ผลักดันผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้บุกตลาดต่างแดนมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสของผู้ประกอบการไทยตลอดทั้ง Supply Chain สร้างนักรบเศรษฐกิจไทยในเวทีโลกได้เพิ่มมากขึ้น ผลักดันการเติบโตของภาคการส่งออกและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยและภูมิภาคอาเซียน” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK จับมือ BAM เดินหน้ายกระดับการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ลงนามกับนายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อยกระดับการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของทั้งสองหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดการค้าโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและก่อให้เกิดสินเชื่อด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินสูงขึ้น ณ BAM สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ร่วมแสดงพลังวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ปี 2565  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และพนักงาน EXIM BANK ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชัน ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ปี 2565 และนางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมผู้แทนพนักงานธนาคาร ร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ปี 2565 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” ณ สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดนนทบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ร่วมยินดีโอกาสก้าวสู่ปีที่ 21
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
 
            นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และนายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมแสดงความยินดีกับนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) พร้อมมอบเงินบริจาคสมทบทุนซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน (Emergency Ambulance) แก่สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา SME D Bank ก้าวสู่ปีที่ 21 ณ SME D Bank สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ปี 2565  
            นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award ในงานประกาศผลรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Award) ประจำปี 2565 จากนายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งพิจารณามอบให้แก่องค์กรสมาชิกเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sustainability Disclosure Community) ที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ครอบคลุมการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับการเปิดเผยข้อมูลและการพัฒนาองค์กรแห่งความยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงมีส่วนร่วมในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ส่งมอบขวดพลาสติกใช้แล้วแก่วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ
เพื่อนำไปรีไซเคิลและแปรรูปเป็นจีวร
 
            นางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ส่งมอบขวดพลาสติกใช้แล้วซึ่งบุคลากร EXIM BANK ร่วมกันแยกทิ้ง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผ้าจีวรสำหรับพระสงฆ์ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ หน้ากากอนามัย ผ้าห่ม ตุ๊กตา ฯลฯ เป็นการลดปริมาณขยะพลาสติก รักษาสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่ง EXIM BANK ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมี พระอาจารย์สุรัตน์ เมตติโก เป็นผู้รับมอบ ณ วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK ร่วมออกบูทให้คำปรึกษาและบริการทางการเงิน  
  งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 3 จ.เชียงใหม่  
            นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง นายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงการคลัง) นายวารุจ ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เยี่ยมชมบูท EXIM BANK ในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 โดยมีนายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          EXIM BANK ร่วมออกบูทให้บริการปลดล็อกหนี้เดิม ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางให้สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ตามความสามารถ พร้อมจัดแพ็กเกจเติมทุน เสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูธุรกิจหลังสถานการณ์ COVID-19 ให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงบุคคลธรรมดาที่เป็นคนตัวเล็กในโลกธุรกิจ ด้วยบริการใหม่สินเชื่อบุคคลทำธุรกิจ (EXIM Personal Biz) พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้สนใจเริ่มต้นส่งออกภายในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ครั้งที่ 3 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่
 
  งานมหกรรมการเงินกรุงเทพฯ ส่งท้ายปี ครั้งที่ 5  
            นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะประธานในพิธีเปิดงาน นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร และประธานการจัดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพฯ ส่งท้ายปี ครั้งที่ 5 ณ บูท EXIM BANK ซึ่งให้คำปรึกษาแนะนำและบริการทางการเงินแก่ SMEs ที่สนใจจะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก พร้อมโปรโมชันสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษแก่ผู้ลงทะเบียนในงาน อาทิ สินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกป้ายแดง สินเชื่อ EXIM Personal Biz และสินเชื่อ EXIM Logistics ตลอดงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2565  
  งาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ครั้งที่ 13  
            นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายรัฐกร อัสดรธีรยุทธ์ ประธานเครือหนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจและประธานจัดงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ครั้งที่ 13 ณ บูท EXIM BANK ซึ่งให้คำปรึกษาแนะนำและบริการทางการเงิน รวมทั้งโปรโมชันพิเศษแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจจะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก อาทิ สินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกป้ายแดง สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ Startup และ SMEs เริ่มต้นส่งออก และสินเชื่อ EXIM Personal Biz สำหรับบุคคลทำธุรกิจ เงินทุนเริ่มต้นธุรกิจสูงสุด 500,000 บาท ดอกเบี้ย 9.99% ต่อปี ในปีแรก และเพิ่มเงินทุนให้เมื่อมียอดขายและจ่ายดี สูงสุดรวม 2,000,000 บาท ดอกเบี้ย 5.75% ต่อปี ใน 6 เดือนแรก ระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2565 ณ BCC Hall ชั้น 5 เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว  
  หน้าหลัก  I  คอลัมน์พิเศษ  I  Share โลกเศรษฐกิจ  I  Data Digest  I  ส่องเทรนด์โลก
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ  I  CEO Talk  I  แนะนำบริการ  I  สรุปข่าว