|
|
EU นับเป็นกลุ่มประเทศแรก ๆ ที่ดำเนินการลด-เลิกการใช้ SUP อย่างเป็นรูปธรรมด้วยการประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (EU Single-use Plastics Directive) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ |
|
|
|
|
|
• |
ห้ามใช้ SUP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก กระดาษที่เคลือบด้วยพลาสติก และพลาสติกชีวภาพ แต่ไม่ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ หน้ากากอนามัย และถุงมือทางการแพทย์ |
|
|
|
|
|
• |
ลดการใช้ SUP มีผลบังคับใช้ในปี 2566-2567 อาทิ การสร้างความตระหนักรู้ด้วยการกำหนดให้ติดฉลากหรือสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบปริมาณส่วนประกอบของพลาสติกในผลิตภัณฑ์ วิธีคัดแยก และกำจัดขยะที่ถูกต้อง ตลอดจนการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดการ SUP ซึ่งรวมถึงการเก็บรวบรวม ทำความสะอาด และรีไซเคิล SUP เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคลดการใช้ SUP |
|
|
|
|
|
• |
เพิ่มสัดส่วนการใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิต เช่น การผลิตขวดพลาสติก (Polyethylene Terephthalate : PET) ต้องมีส่วนประกอบของพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 25% ในปี 2568 และอย่างน้อย 30% ในปี 2573 |
|
|
|
|
|
ที่มา : ec.europa.eu, kvk.nl |
|
|
|
|
|
นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว สมาชิก EU บางประเทศยังเพิ่มความเข้มข้นในการลด-เลิกการใช้ SUP อาทิ อิตาลี และสเปน เรียกเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก SUP และฝรั่งเศสกำหนดให้ร้านค้าปลีกห้ามนำบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหรือมีส่วนประกอบของพลาสติกมาใช้ห่อผัก-ผลไม้สด 30 ชนิดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 และจะทยอยเพิ่มชนิดของผัก-ผลไม้สดที่ห้ามใช้พลาสติกห่อหุ้มจนครบทั้งหมดภายในปี 2569 |
|
|
|
|
|
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้ SUP สูงที่สุดในโลก (เฉลี่ย 60 กก./คน/ปี) แต่ละปีมีขยะพลาสติกประมาณ 3.4 ล้านตัน โดย 36% เป็น SUP รัฐบาลออสเตรเลียจึงตั้งเป้าลดปัญหาขยะ SUP ให้ได้ภายในปี 2568 ที่ผ่านมารัฐต่าง ๆ ในออสเตรเลียได้ทยอยยกเลิกการใช้ SUP อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มาตรการลด-เลิกการใช้ SUP ของออสเตรเลียที่น่าสนใจ อาทิ |
|
|
|
|
|
• |
รัฐนิวเซาท์เวลส์ประกาศห้ามใช้ SUP หลายประเภท อาทิ หลอดพลาสติก (ยกเว้นหลอดพลาสติกที่ใช้โดยกลุ่มผู้ทุพพลภาพและผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้) ชุดภาชนะพลาสติกสำหรับรับประทานอาหาร และเม็ดพลาสติก Microbeads ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ Personal Care เช่น แชมพู และยาสีฟัน กรณีผู้ผลิตฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,750-55,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขณะที่ผู้ค้าส่ง และผู้จำหน่ายมีโทษปรับ 110,000-275,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 |
|
|
|
|
|
• |
รัฐควีนส์แลนด์เตรียมขยายรายการพลาสติกที่ห้ามใช้เพิ่มเติม อาทิ เม็ดพลาสติก Microbeads ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ Personal Care หลังจากเริ่มใช้มาตรการนี้กับหลอด จาน ชาม ช้อนส้อมที่ทำจากพลาสติก
เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 |
|
|
|
|
นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการลดปัญหาขยะ SUP ของออสเตรเลียมีมาตรการที่ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่นนอกเหนือจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย อาทิ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียมีบทลงโทษผู้ให้ข้อมูลผิดพลาดหรือบิดเบือนเกี่ยวกับ SUP ที่ทางการห้ามใช้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 รวมถึงหลายเมืองที่อยู่ติดชายหาดในออสเตรเลียมีมาตรการห้ามปล่อยลูกโป่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเพิ่งประกาศใช้มาตรการนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เพราะลูกโป่งที่ตกลงมาจะกลายเป็นขยะในทะเลและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ โดยเฉพาะนกและสัตว์ทะเล ที่อาจคิดว่าลูกโป่งเป็นอาหาร และล่าสุดได้ออกบทลงโทษผู้เป็นต้นเหตุหรืออนุญาตให้ปล่อยลูกโป่งอัดก๊าซสู่ท้องฟ้า |
|
|
|
|
|
อินเดียแก้ไขกฎหมายการจัดการขยะพลาสติกปี 2564 เพิ่มเติม เพื่อเร่งลดปริมาณขยะ SUP ในอินเดียซึ่งมีมากถึงราวปีละ 4-5 ล้านตัน โดยห้ามผลิต จำหน่าย เก็บรักษา แจกจ่าย และนำเข้า SUP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก 19 ประเภท อาทิ จาน หลอด แก้วน้ำ ฟิล์มหุ้มบรรจุภัณฑ์ แท่งพลาสติกสำหรับเป็นด้ามจับลูกโป่ง และห่อลูกอม นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ห้ามใช้ถุงพลาสติกที่มีความหนาน้อยกว่า 120 ไมครอน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำกลับมาใช้ซ้ำ ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ประกอบการในอินเดียหลายรายเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับมาตรการดังกล่าวแล้ว อาทิ แบรนด์ Chuck ที่หันมาผลิตบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารจากชานอ้อย ขณะเดียวกัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุที่นำมาใช้ทดแทน SUP |
|
|
|
|
|
|
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารจากชานอ้อยของแบรนด์ Chuck ในอินเดีย |
|
|
|
|
|
|
|
|
รับเทรนด์การลด-เลิก SUP…โอกาสส่งออก-พลิกโฉมบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทย |
|
|
|