|
|
|
|
|
ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจากระดับ 19.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 เป็น 49.85
พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 (ข้อมูลจาก World Bank และ JICA) ขยายตัวเฉลี่ย 3.4% ต่อปี ทำให้กัมพูชาอาจเผชิญข้อจำกัด
จากความไม่พร้อมของระบบขนส่งในประเทศ โดยดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI)
ของธนาคารโลกในปี 2561 จัดให้กัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 98 จากการจัดอันดับทั้งหมด 160 ประเทศ เกือบรั้งท้ายในกลุ่มประเทศ CLMVT
และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อันดับของกัมพูชาลดลงเป็นลำดับบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่ลดลงและสะท้อนให้เห็นความจำเป็น
ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของกัมพูชาอย่างมีนัยสำคัญ |
|
|
|
เปรียบเทียบอันดับดัชนี LPI ของกลุ่มประเทศ CLMVT |
|
|
|
|
|
ที่มา : Japan International Cooperation Agency (JICA) และ Minister of the Ministry of Public Works and Transport |
|
|
|
|
|
นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ 3 ระเบียงเศรษฐกิจภายใต้ร่างแผนแม่บทโลจิสติกส์ ยังมีโครงการที่จะช่วยเสริม
ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ อาทิ
1. การจัดตั้ง Logistics Complex ในกรุงพนมเปญและ จ.พระสีหนุ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์
ในหลากหลายรูปแบบรองรับการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือสีหนุวิลล์ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ
ปรับปรุงท่าเรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายสินค้าอีกราว 450,000 TEUs ภายในปี 2566
2. การพัฒนาบริการศุลกากรรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยการนำเทคโนโลยีระบบ Electronic Data Interchange (EDI)
มาใช้กับท่าเรือสีหนุวิลล์และท่าเรือพนมเปญ เพื่อพัฒนาบริการศุลกากรจากระบบเอกสารที่ใช้กระดาษมาเป็นระบบเอกสารในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยจัดการข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกันและเป็นมาตรฐานสากล คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ภายในปี 2564
นอกจากนี้กัมพูชายังมีแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบสินค้าบริเวณด่านชายแดนสำคัญ คือ ด่านปอยเปตและด่านบาเว็ต
ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การค้าชายแดนบริเวณดังกล่าว
แผนแม่บทด้านโลจิสติกส์คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนการส่งออกของไทยและผู้ประกอบการไทยในกัมพูชา ดังนี้
1. ช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ปัจจุบันเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจกรุงพนมเปญ-ปอยเปต ผ่านเส้นทาง
หมายเลข 5 เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าหลักระหว่างกันของจังหวัดในภาคตะวันออกของไทยและกรุงพนมเปญ รวมถึงพื้นที่โดยรอบ
ทั้งนี้ แผนปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวทั้งการขยายถนนและการสร้างถนนเลี่ยงเมือง คาดว่าจะช่วยให้การขนส่งสินค้าทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ในอนาคตจากปัจจุบันที่ใช้ระยะเวลาในการขนส่งราว 12-15 ชั่วโมง ซึ่งสินค้าที่ได้รับประโยชน์จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสินค้าไทย
ที่ขนส่งมากัมพูชาผ่านเส้นทางดังกล่าว อาทิ เครื่องดื่มชูกำลัง ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลการเกษตร ปูนซีเมนต์และ
วัสดุก่อสร้าง และผ้าผืน จะได้รับประโยชน์จากการผ่อนคลายการจราจรที่หนาแน่นของเส้นทางดังกล่าวและความแออัดของการตรวจ
ปล่อยสินค้าบริเวณด่าน ขณะที่สินค้ากัมพูชาที่ขนส่งมาไทย ซึ่งเป็นของสดราว 1 ใน 3 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมด จะสามารถ
รักษาคุณภาพสินค้าไว้ได้ดีขึ้น
|
|
|
|
|
|
เส้นทางการขนส่งสินค้าทางบกจากไทยไปกัมพูชา |
|
|
|
|
ที่มา : ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ (AEC support business center in Phnom Penh) |
|
|
|
|
แผนที่เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกจากไทยไปกัมพูชา |
|
|
|
|
|
|
2. ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการไทยในกัมพูชา โดยการพัฒนาเส้นทางกรุงพนมเปญ-ท่าเรือสีหนุวิลล์
และการนำระบบ EDI มาใช้ที่ท่าเรือพนมเปญและท่าเรือสีหนุวิลล์ จะอำนวยความสะดวกให้การส่งออกสินค้าจากกัมพูชาไปต่างประเทศ
ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นจากปัจจุบันที่เส้นทางดังกล่าวเผชิญปัญหาการจราจรหนาแน่นเนื่องจากเป็นทั้งเส้นทางไปเมืองท่องเที่ยวและเป็น
เส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญ ทำให้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางราว 5-6 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างนานเมื่อเทียบกับระยะทางราว 230 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ปัจจุบันท่าเรือสีหนุวิลล์เป็นประตูการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชา
3. ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของกัมพูชาที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูงในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาของ World Bank พบว่า
สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายของกัมพูชาอยู่ที่ 20.5% สูงกว่าเวียดนาม (16.3%) และไทย (11.1%) ทั้งนี้ ต้นทุนโลจิสติกส์
ที่ลดลงจะมีส่วนช่วยในการกำหนดราคาขายสินค้าเพื่อแข่งขันในตลาดกัมพูชาได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การพัฒนาโลจิสติกส์ของกัมพูชาจะมีส่วนช่วยเพิ่มความขีดความสามารถในการแข่งขันของกัมพูชาและเพิ่มความน่าสนใจ
ในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ จึงนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะใช้ประโยชน์จากการพัฒนาดังกล่าว
โดยเฉพาะการขยายมูลค่าการค้ากับกัมพูชาผ่านช่องทางการค้าชายแดนบริเวณด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต ซึ่งเป็นประตูการค้าที่มี
ศักยภาพสูงระหว่างไทยและกัมพูชา โดยมีสัดส่วนมูลค่าการค้าราว 60% ของมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ไปจนถึง
การขยายการลงทุนไปยังกัมพูชามากขึ้น ทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของกัมพูชาเองหรือเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง
ต่างประเทศ |
|
|
|
|
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
|
|
|
|