HIGHLIGHTS
         อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพสูง ทั้งในมิติของขนาดตลาดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมิติ
ของความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อผนวกกับทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากไทย อินโดนีเซียจึงนับเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ
ที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจเข้าไปลงทุน
         การเลือกพื้นที่ลงทุนเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
เกาะจำนวนมากกว่า 17,000 เกาะ อีกทั้งแต่ละพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน และสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน
         เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) นับเป็นหนึ่งในพื้นที่ลงทุนที่น่าสนใจ โดยรัฐบาลให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนและผ่อนปรน
กฎระเบียบต่างๆ มากกว่าการลงทุนนอกพื้นที่ SEZs นอกจากนี้ ยังเหมาะกับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เนื่องจาก SEZs ส่วนใหญ่ตั้งอยู่
ในแหล่งทรัพยากรสำคัญ
  อินโดนีเซีย (INDONESIA)  
 

         ที่ตั้ง : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         เมืองสำคัญ : กรุงจาการ์ตา (เมืองหลวง*) สุราบายา (เมืองท่า/เมืองเศรษฐกิจ)
         พื้นที่ทั้งหมด : 1,904,569 ตร.กม.
         ประชากร : 267 ล้านคน (ปี 2562)
         ภาษาราชการ : ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย, อังกฤษ
         สกุลเงิน : รูเปียห์ (IDR) 1 USD = 14,060 IDR (ณ 11 พ.ย. 2562)
         ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
         ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2561
            - GDP : 1,022.5 Bil.USD
            - มูลค่านำเข้ารวมของอินโดนีเซีย : 188,711 Mil.USD
            - มูลค่าส่งออกของไทยไปอินโดนีเซีย : 10,248 Mil.USD
            - สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินโดนีเซีย : รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์
              เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
         สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย : ตั้งอยู่ ณ กรุงจาการ์ตา

  *มีแผนย้ายเมืองหลวงไปจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกบนเกาะบอร์เนียวในปี 2567
  ความน่าสนใจของอินโดนีเซีย
  Potential SEZs
  SEZs สำคัญใน 4 เกาะหลักของอินโดนีเซีย (จาก 12 SEZs ทั้งประเทศ)
  * Maloy Batuta Trans Kalimantan (MBTK)  
  เปรียบเทียบ SEZs 4 แห่ง
  จังหวัดสุมาตราเหนือ
(เกาะสุมาตรา)
  จังหวัดบันเตน
(เกาะชวา)
  จังหวัด
กาลิมันตันตะวันออก

(เกาะบอร์เนียว)
  จังหวัดสุราเวสีกลาง (เกาะสุลาเวสี)  
    20 ตร.กม.   15 ตร.กม.   5 ตร.กม.   15 ตร.กม.  
   

ใกล้ท่าเรือ Kuala Tanjung
(1 ใน 5 ท่าเรือหลัก
ของประเทศ)*

  เชื่อมกับสนามบิน
Soekarno - Hatta
(สนามบินอันดับ 1)
และมีแผนสร้างสนามบิน
ของตนเอง
 

ใกล้ท่าเรือ Palaran Samarinda
(1 ใน 19 Feeder Port)*

  ใกล้ท่าเรือ Pantoloan
(1 ใน 19 Feeder Port)*
 
    • เกษตรแปรรูป
   (น้ำมันปาล์ม ยางพารา)
• เคมีภัณฑ์
• โลจิสติกส์
• ท่องเที่ยว (MICE
   สนามกอล์ฟ โรงแรม)
  • ท่องเที่ยว   • น้ำมันปาล์ม
• ถ่านหิน
• เหมืองแร่
• ก๊าซธรรมชาติ
• ผลิตภัณฑ์ไม้
  • เกษตรแปรรูป
   (โกโก้ ยางพารา
   สาหร่ายทะเล หวาย)
• เหมืองแร่
• โลจิสติกส์
 
    • คลัสเตอร์ของปิโตรเคมี
   น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์
   ยาง (แหล่งเพาะปลูก
   ยางพารา อันดับ 1)
• ใกล้กับ Medan
   (เมืองใหญ่อันดับ 3 ของ
   ประเทศ) และเชื่อมโยง
   กับกรุงจาการ์ตา ทั้งทาง
   เรือและถนน (หากมี
   สะพาน Sundra Strait)
  • ห่างจากกรุงจาการ์ตา
   170 กม.
• 1 ในโครงการ 10 New    Bali (โครงการพัฒนา
   แหล่งท่องเที่ยว
   ระดับโลกให้เหมือน
   Bali)
  • อยู่ในเส้นทาง ALK II**
• ใกล้กับเมืองหลวงใหม่
• แหล่งถ่านหินใหญ่ที่สุด
   ของอินโดนีเซีย
  • อยู่ในเส้นทาง ALK II**
• จุดยุทธศาสตร์สำคัญ
   เชื่อมกับมาเลเซีย
   ตะวันตก ฟิลิปปินส์
   ออสเตรเลีย
 
  * อินโดนีเซียมีท่าเรือหลัก 24 แห่ง แบ่งเป็น 5 Hub Ports และ 24 Feeder Ports)
  ** 1 ใน 3 เส้นทางขนส่งหลักทางทะเลของประเทศ และเชื่อมกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย มีเรือขนส่งที่ใช้เส้นทางนี้กว่า 6,400 ลำ/ปี
  ที่มา : รวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK จากข้อมูลของ Indonesia Investment Coordinating Board, National Council For Special Economic Zone,
Ernst & Young, PwC, BOI
  สรุป
         อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่และประกอบด้วยเกาะจำนวนมาก แต่ละพื้นที่มีความหลากหลายและความแตกต่างทั้งในด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น การเลือกพื้นที่ลงทุนจึงเป็นหัวใจสำคัญ
ในการดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซีย ซึ่งหนึ่งในพื้นที่ลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย คือ SEZs เนื่องจากมีความพร้อมด้าน
โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนช่วยลดปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการลงทุนในอินโดนีเซีย
ในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ SEZs ส่วนใหญ่ยังตั้งอยู่ในแหล่งทรัพยากร จึงเหมาะแก่การเข้าไปขยายธุรกิจด้าน
เกษตรแปรรูป เหมืองแร่ และถ่านหิน ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ประกอบการไทยอาจเลือก
พื้นที่ลงทุนบนเกาะชวาที่มีความพร้อมของคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมนั้นๆ
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  หน้าหลัก   I   บทความพิเศษ   I   Share โลกเศรษฐกิจ   I   เปิดประตูสู่ตลาดใหม่   I   รู้ทันเกมการค้า
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ   I   CEO Talk   I   แวดวงคู่ค้า   I   แนะนำบริการ   I   สรุปข่าว